ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #139 : ถึงโรงเหล้าเตากลั่น @บางยี่ขัน

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.07K
      14
      2 ก.ค. 62

    “ถึงโรงเหล้าเตากลั่นควันโขมง
    มีคันโพงผูกสายไว้ปลายเสา
    โอ้บาปกรรมน้ำนรกเจียวอกเรา
    ให้มัวเมาเหมือนหนึ่งบ้าเป็นน่าอาย”
    .
    .
    .
    .
    .
    เรื่องนิราศภูเขาทองนั้น เราร่ำเรียนกันมาแต่อ่อนแต่ออก ก็ทราบดีว่าท่านสุนทรภู่เคยผ่านสถานที่แห่งหนึ่ง ซึ่งต่อมาก็ได้กลายเป็นกลอนบทที่พวกเราท่องกันจนติดปาก "โรงเหล้า"...


    หลายคนอาจจะสงสัย อ้าว! แล้วโรงเหล้าที่ว่ามานี้ ตั้งที่อยู่แห่งไหนกันล่ะ ก่อนอื่นเรามาย้อนดูว่าก่อนที่ท่านสุนทรภู่จะผ่านโรงเหล้านั้น ท่านผ่านที่ใดบ้าง
    .
    .
    ถึงอารามนามวัดประโคนปัก
    ไม่เห็นหลักลือเล่าว่าเสาหิน
    เป็นสำคัญปันแดนในแผ่นดิน
    มิรู้สิ้นสุดชื่อที่ลือชา
    .
    .
    วัดประโคนปัก ปัจจุบันก็คือ วัดดุสิดารามวรวิหาร นี้เอง...



    ซึ่งพื้นที่ที่อยู่ถัดไปจากวัดประโคนปัก (วัดดุสิต) นั้นก็บริเวณบางยี่ขันนี้เอง


    ในย่านบางยี่ขันนั้นนี้มีโรงสุราตั้งอยู่มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 และที่ตั้งของนิวาสสถานเดิมของพระยาราชมนตรีบริรักษ์ (ภู่) ต้นสกุลภมรมนตรี บิดาของคุณพุ่ม ขุนนางผู้ได้กำกับดูแลอากรสุราสมัยรัชกาลที่ 3 จึงได้มีการตั้งเตากลั่นสุราขึ้นใกล้บ้าน เพื่อความสะดวกในการควบคุมดูแล 


    การตั้งโรงงานสุราในพื้นที่บางยี่ขัน ทำให้กลุ่มแรงงานชาวจีนเข้ามาเป็นคนงานในโรงงาน และมาตั้งถิ่นฐานในย่านบางยี่ขันมากขึ้น


    ต่อมาเมื่อรัฐบาลสั่งยกเลิกการผูกขาดการต้มกลั่นและจำหน่ายสุรา ก็ได้มอบการควบคุมดูแลให้กับกรมสรรพสามิตในปี 2475 ชาวจีนที่เคยทำงานในโรงงานสุราก็เปลี่ยนไปสังกัดกรมสรรพสามิต ก่อนที่จะโอนโรงงานสุราให้ไปขึ้นตรงกับกรมโรงงานอุตสาหกรรมในปี 2485 


    ในช่วงหลังปี 2503 เป็นต้นมา รัฐได้มีการเปิดให้บริษัทสุรามหาราษฎรเข้ามารับสัมปทานโรงงานสุราบางยี่ขัน และดำเนินกิจการจนกระทั่งโรงงานแห่งนี้ปิดตัวลงในปี 2538


    หลังจากโรงงานปิดตัวลง คนงานบางส่วนได้ลาออกจากงาน แต่ยังคงปักหลักปักฐานประกอบอาชีพค้าขายอยู่ในย่านบางยี่ขัน บางส่วนได้ย้ายไปทำงาน ณ โรงงานแห่งใหม่ในจังหวัดปทุมธานี  


    ปัจจุบันโรงสุราเดิมได้เปลี่ยนเป็นสถานที่ทำการของสำนักงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร. มูลนิธิชัยพัฒนา) สถาบันอาหารและสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×