ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #95 : ครูแจ้ง ครูเสภาติดเรท

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.87K
      12
      2 ก.ค. 62

    ในบรรดากวียุคต้นกรุงเทพฯ ผู้แต่งเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนมีอยู่ด้วยกันหลายท่าน ดูเหมือนชื่อของ ครูแจ้ง จะเป็นที่กล่าวขวัญถึงมากที่สุดว่ามีกวีโวหารโลดโผนและหยาบคาย


    แล้วครูแจ้งคือผู้ใดกันล่ะ? ครูแจ้ง เป็นครูเสภาผู้โด่งดังแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีอายุอยู่มาจนถึงรัชกาลที่ 5 บ้านอยู่หลังวัดระฆัง เป็นนักเลงกลอนสุดฮอตในสมัยรัชกาลที่ 3 


    ครูแจ้งแต่งเสภาขุนช้างขุนแผนไว้หลายตอน ซึ่งในปี 2461 กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ชำระขุนช้างขุนแผน โดยรวบรวมฝีปากที่คมคายของกวีแต่ล่ะท่านเอาไว้จนกลายมาเป็น บทเสภาขุนช้าง-ขุนแผน ฉบับหอสมุดวชิรญาณ


    ซึ่งรวมของครูแจ้งเอาไว้อยู่ด้วยกัน 5 ตอน คือ 

    1. ตอนที่ 16 : กำเนิดกุมารทอง
    2. ตอนที่ 29 : ขุนแผนแก้พระท้ายน้ำ
    3. ตอนที่ 33 : แต่งงานพระไวย 
    4. ตอนที่ 38 : พระไวยต้องเสน่ห์ 
    5. ตอนที่ 43 : จระเข้เถรขวาด

    .

    .

    .

    เสภาตอนกำเนิดกุมารทองที่เป็นสำนวนครูแจ้งนี้ พวกเสภาชอบขับกันแพร่หลาย เพราะลีลาโลดโผน กรมดำรงราชานุภาพทรงอธิบายไว้ว่า


    "เนื้อเรื่องเสภาตอนนี้ตามหนังสือบทเดิมว่าขุนแผนไปเที่ยวหาโหงพรายตามป่าช้า ไปพบผีตายทั้งกลมชื่ออีมากับอีเพชรคง ขุนแผนจึงขอลูกในท้องมาเลี้ยงเป็นกุมารทอง ความเดิมสั้นเพียง 4 หน้ากระดาษ ครูแจ้งเอามาขยายความ..."


    สมเด็จฯทรงเห็นว่าเรื่องกุมารทอง สำนวนครูแจ้งดีกว่าของเดิม จึงเอาสำนวนครูแจ้งลงพิมพ์ในหนังสือเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ฉบับที่อ่านกันอยู่ทุกวันนี้ มีฉากผ่าท้องนางบัวคลี่เอากุมารทอง ถ้าได้ฟังคนเสภาตีกรับขับเสภาเต็มกระบวนจะถึงใจพระเดชพระคุณยิ่งนัก (แสดงว่าคนสมัยก่อนชอบอะไรที่มันซาดิสม์ๆซินะ =_=))


    สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงมีรับสั่งไว้ในคำอธิบายอีกว่า ครูแจ้งแต่งเสภาดีเมื่อถึงตอนสะท้อนชีวิตนิสัยใจคอคนสามัญ แต่ "ถ้ามีโอกาสมักจะหยาบ ถึงจะหยาบก็ช่างว่า" แล้วมีรับสั่งว่าเสภาตอนนี้ครูแจ้งแต่งหยาบจนต้องตัดออก 2 แห่ง คือตรงนางศรีจันทร์สอนนางบัวคลี่ กับตรงบทอัศจรรย์ขุนแผนเข้าห้องนางบัวคลี่   

    .

    .

    .         

    แต่ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช บรรยายไว้ในหนังสือ "ขุนช้างขุนแผนฉบับอ่านใหม่" (สำนักพิมพ์สยามรัฐ จัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม 2532 ) ซึ่งสำนวนฉบับวชิรญาณนั้น หม่อมบอกว่ามัน "ไม่อร่อย" จึงยกสำนวนของครูแจ้งมา


    สู้ถ่อมตัวปรนนิบัติคอยจัดแจง
    เมื่อเขาแข็งแล้วอย่าขัดอัชฌาสัย
    รู้จิตผัวว่าสมัครรักเท่าไร
    ก็ยักย้ายส่ายให้ถูกใจกัน


    ครั้นมาถึงบทสอนให้ทำกับข้าว นอกจากจะบอกการทำกับข้าวแล้ว ยังได้บอกสรรพคุณของกับข้าวเหล่านี้ด้วย


    ทำให้กินทุกวันหมั่นสำเหนียก
    แม้อ่อนเปียกก็จะแข็งเป็นไม้ท่อน
    พอตกค่ำขึ้นท้ายไม่หลับนอน
    พายเรือคอนเหยาะเหยาะจนเคาะระฆัง


    หรือแม้แต่ บทอัศจรรย์ขุนแผนเข้าห้องนางบัวคลี่ ครูแจ้งก็บรรยายซะโครมๆแบบนี้  


    ถึงปากน้ำแล่นส่งเข้าตรงร่อง
    ให้ขัดข้องแข็งขืนไม่ใคร่เข้า
    ด้วยร่องน้อยน้ำอับคับสำเภา
    ขึ้นติดตั้งหลังเต่าอยู่โตงเตง


    ครูแจ้งเป็นนักเลงกลอนฝีมือฉกาจกลับต้องมาอำลาวงการอย่างเด็ดขาด เพราะยายมา ยายมาเป็นนักเลงเพลงสุดแซบ งานไหนงานไหนก็จะต้องหาครูแจ้งกับยายมามาเป็นคู่ดูโอ้กันถึงจะอร่อย มีครั้นหนึ่งครูแจ้งถูกยายมาว่าเอาแล้วแก้ไม่ตกจึงได้ลาออกจากวงการไปในบัดดล


    นายแจ้งก็มาเล่นเต้นปรบไก่
    ยกไหล่ใส่ทำนองร้องฉ่าฉ่า
    รำแต้แก้ไขกับยายมา
    เฮฮาครื้นครั่นสนั่นไป


    ครูแจ้งหันจากนักเลงเพลงมาเป็นนักสวดเสียงเพราะและเป็นนักขับเสภาฝีมือฉกาจ ดังที่ปรากฏในบทไหว้ครูว่า  ....ครูแจ้งแต่งแกษรขจรฦา....

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×