ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #57 : มหาชาติคำหลวง VS เทศน์มหาชาติ

    • อัปเดตล่าสุด 29 ก.ค. 64


    มหาชาติ (Mahachat) แปลว่า การเกิดที่ยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ โดยจะกล่าวถึงเรื่องราวการทำทานบารมีของพระเวสสันดร (Vessantara Jataka) พระชาติสุดท้ายก่อนจะมาตรัสรู้เป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า 

    .
    .
    .

    ส่วน คำหลวง นั้นเป็นหนังสือที่กษัตริย์ หรือ เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ทรงพระราชนิพนธ์ หรือ โปรดให้ประชุมนักปราชญ์ช่วยกันแต่งขึ้น โดยแต่งด้วยคำประพันธ์หลายชนิดมีทั้งร่าย โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน มีอยู่แค่ 4 เรื่องเท่านั้น ได้แก่ 

    1. มหาชาติคำหลวง
    2. นันโทปนันทสูตรคำหลวง
    3. พระมาลัยคำหลวง 
    4. พระนลคำหลวง

    .
    .
    .

    ในเรื่อง มหาชาติคำหลวง นั้น พระบรมไตรโลกนาถโปรดให้ประชุมนักปราชญ์เพื่อแต่งที่พิษณุโลก เมื่อปีพ.ศ. 2025 ดังปรากฏใน พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ว่า

    .

    " ศักราช 844 ขานศก ท่านให้เล่นการมหรสพ 15 วัน ฉลองพระศรีรัตนมหาธาตุ แล้วจึงพระราชนิพนธ์พระมหาชาติคำหลวงจบบริบูรณ์ "

    .

    แต่ละกัณฑ์ กวีจะแต่งด้วยฉันทลักษณ์ที่ต่างกัน เช่น ร่าย โคลง ฉันท์ และ กาพย์  (สมัยนั้นไม่มีกลอน) และมีการขึ้นต้นวรรคด้วยบาลีแล้วแปลเป็นไทยสลับกันไปทุกวรรค เมื่อแต่งเสร็จแล้วก็โปรดให้นำมาอ่านตรวจทานแก้ไข และคิดทำนองสวดอย่างวิจิตรพิสดาร 

    มหาชาติคำหลวงนี้ไม่ใช่สำหรับพระเทศน์แต่ให้เจ้าหน้าที่กรมธรรมการ คือ ขุนทินบรรณาการและขุนธารกำนัล พร้อมกับผู้ช่วยอีก 2 คนใช้สวดถวายให้พระมหากษัตริย์ทรงฟังทุกวันพระในระหว่างเข้าพรรษาในวิหารหลวงวัดพระศรีสรรเพชญ์ ทำนองสวดของแต่ละกัณฑ์ มีเม็ดพรายในการสวดก็แตกต่างกันไป

    หลังจากเสียกรุงฯ ต้นฉบับมหาชาติคำหลวงหายไป 6 กัณฑ์ คือ หิมพานต์ ทานกัณฑ์ จุลพน มัทรี สักกบรรพ และฉกษัตริย์ รัชกาลที่ 2 จึงโปรดเกล้าฯ ให้ประชุมกวีร่วมกัน แต่งซ่อมกัณฑ์ที่ยังขาดจนครบทั้ง 13 กัณฑ์

    ธรรมเนียมการสวดมหาชาติคำหลวงยังคงสืบมาจนถึงปัจจุบันทุกวันพระในระหว่างเข้าพรรษาแต่เหลือสวด เพียงกัณฑ์มหาพนเท่านั้น ข้าราชการกรมการศาสนาจะแต่งชุดขาวสวดที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม [รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่ตอนที่ 39 : การสวดโอ้เอ้วิหารราย]

    .
    .
    .

    ส่วนการเทศน์มหาชาตินั้นเป็นประเพณีไทยมาแต่โบราณกาล ปัจจุบันนิยมทำกันหลังออกพรรษา ซึ่งในช่วงนี้น้ำเริ่มลดและข้าวปลาอาหารกำลังอุดมสมบูรณ์ จึงพร้อมใจกันทำบุญทำทานและเล่นสนุกสนานรื่นเริง ภาคอีสานนั้นนิยมทำกันในเดือน 4 เรียกว่า "งานบุญผะเหวด" 

    ในการเทศน์มหาชาตินั้น ประกอบด้วยพระคาถาภาษาบาลี จำนวน 1,000 พระคาถา มหาชาติทั้ง 13 กัณฑ์ ได้มีการแต่งเป็นร่ายยาวด้วยท่วงทำนองอันเพราะพริ้ง และการเทศน์แต่ละกัณฑ์ ก็จะมีท่วงทำนองที่แตกต่างกันออกไป 

    ว่ากันว่าครั้นหนึ่งพระมาลัยไปเที่ยวจุฬามณีเจดีย์ที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์แล้วพบกับพระศรีอาริยเมตไตรยเข้า พระศรีได้บอกว่ายุคของพระโคดมจะคงอยู่ได้แค่ห้าพันเท่านั้น เมื่อถึงเวลานั้นพระคัมภีร์ต่างๆจะเริ่มเสื่อมลงไล่มาจากเวสสันดรชาดกก่อนใครเข้า วิธีการแก้ไขก็คือการเทศน์มหาชาติเพื่อต่อ ยอดพระศาสนาให้คงอยู่ทันยุคพระศรีอาริยเมตไตร

    .
    .
    .

    สรุป มหาชาติคำหลวง นั้นเป็นของหลวง

    ส่วน การเทศน์มหาชาติ เป็นของราษฎร์ ซึ่งจะเล่นเรื่องมหาเวสสันดรชาดกเหมือนกันดังนี้แล

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×