คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #52 : เขาคันธมาทน์ ภูเขาสรรพยา
คันธมาทน์ (Gundhamadanakuta) เป็นภูเขาลูกหนึ่งในห้ายอดที่ล้อมรอบสระอโนดาต (Anotatta / Anodard Pond) ในหิมพานต์ สูง 200 โยชน์ (3200 กม.) ซึ่งเขาทั้งห้าได้แก่
- สุทัสนกูฎ (Sudassanakuta - ผาทอง)
- จิตรกูฎ (Chitrakuta - ผาลาย)
- กาฬกูฎ (Kalakuta - ผาดำ)
- คันธมาทน์ (Gundhamadanakuta - ผาหอมหวาน)
- ไกรลาส (Krilasa - ผาเผือก)
คำว่าคันธมาทน์นี้มาจากคำว่า คันธ (กลิ่นหอม) + มาทน (ยินดี) คือ ภูเขาที่ให้ชาวโลกยินดีด้วยกลิ่นหอม ความหมายดังกล่าวนี้เป็นคุณลักษณะประการสำคัญของเขาคันธมาทน์ คือเป็นขุนเขาที่พร้อมพรั่งไปด้วยพรรณไม้ที่ส่งกลิ่นหอม
ดังในคัมภีร์โลกทีปกสาร (Lokappadipakasara) และ ไตรภูมิกถา (Traibhumikatha) พรรณนาลักษณะเขาคันธมาทน์ไว้ว่าบนยอดคันธมาทน์เป็นที่ราบอุดมไปด้วยต้นยารักษาโรคและพรรณไม้หอมอยู่ 10 หมู่ได้แก่
- รากหอม
- แก่นหอม
- ยอดหอม
- เปลือกหอม
- ลำต้นหอม
- ดอกหอม
- ผลหอม
- ใบหอม
- ยางหอม
- ต้นที่หอมทุกอย่าง
ในไตรภูมิพระร่วงบรรยายถึงเขาคันธมาทน์อาไว้ว่า
เขาเป็นแก้วแวววับ เมื่อเดือนดับ เขาคันธมาทน์จะส่องสว่างเรืองรองดังถ่านเพลิง ถ้าเดือนเพ็ญจะรุ่งเรืองเหมือนไฟไหม้ป่า ที่เชิงเขามีผาชะโงกเรียกว่านันทมูล มีถ้ำอยู่ 3 ถ้ำ คือ สุวรรณคูหา (ถ้ำทอง) มณีคูหา (ถ้ำแก้ว) และ รัชฎาคูหา (ถ้ำเงิน) ซึ่งเป็นที่ประทับของพระปัจเจกพุทธเจ้า (ผู้ตรัสรู้แต่ไม่ไปโปรดวไนยสัตว์)ทั้งหลาย
ที่ประตูถ้ำแก้วมีต้นไม้อยู่ต้นหนึ่งชื่อ บัญชุกะ สูงหนึ่งโยชน์ (16 กม.) ลำต้นกว้างหนึ่งโยชน์ มีดอกบานสะพรั่ง และมีลมชื่อสมาหรวาตะ พัดเอาดอกไม้เข้ามาไว้รอบเหนือแท่นแก้วเป็นเครื่องบูชาพระปัจเจกพุทธเจ้า ส่วนที่เชิงเขานั้นเป็นที่อยู่ของพวกนาคและกินนร
.
.
.
ในลิลิตโองการแช่งน้ำ วรรณคดีไทยสมัยอยุธยาตอนต้น พรรณากำเนิดของภูเขาคันธมาทน์ในนาม “ผาหอมหวาน” หลังยุคไฟ น้ำ และลมบรรลัยกัลป์ล้างโลกว่า
.
- จึ่งเจ้าตั้งผาเผือกผาเยอ………ผาหอมหวานจึ่งขึ้น
- หอมอายดินเลอก่อน…………..สรดึ้นหมู่แมนมาฯ
.
ส่วนในเรื่องรามเกียรติ์ ตอนพระรามมาขีดขินก็ได้มารวมพลกันที่นี้ ส่วนในเรื่องมหาเวสสันดรชาดกได้กล่าวว่า พระเวสสันดรพร้อมทั้งพระมเหสีและพระโอรสพระธิดา ได้เสด็จผนวชในป่าเชิงเขานี้
ความคิดเห็น