คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #47 : นายทองอิน ตำนานเชอร์ล็อก โฮมส์เมืองไทย
นิทานทองอิน เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ตั้งแต่ยังเป็นมกุฏราชกุมาร โดยได้ลงพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในทวีปัญญารายเดือน ตั้งแต่เดือนเมษายน ร.ศ. 123 (พ.ศ. 2447)
จัดเป็นนิยายสืบสวนสอบสวนเรื่องแรกของไทย เค้าโคลงได้มาจากเรื่องนักสืบเชอร์ล็อก โฮมส์ (Sherlock Holmes) ของเซอร์ อาร์เธอร์ โคแนน ดอยล์ (Sir Arthur Conan Doyle)
นิทานทองอิน มีตัวละครเอกเป็นนักสืบชื่อ "ทองอิน" และมีผู้ช่วย "นายวัด" ทำนองโฮล์มกับหมอวัสสันนี่เอง
โดยนายวัดนั้นเป็นผู้เล่าเรื่องเนื้อหาในการสืบสวนคดีต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยโดยนักสืบทองอินจะใช้ความสังเกต ไหวพริบ และสติปัญญา ขบคิดปัญหาต่างๆจนในที่สุดก็สามารถคลี่คลายคดีได้ ในการคิดค่าจ้างนั้นนาย ทองอินจะคิดเงินค่าจ้างตามความพอใจ
เนื้อหาในนิทานทองอิน แย่งเป็นตอนๆ แต่ละตอนไม่ต่อเนื่องกัน ต่างก็มีชื่อเฉพาะตอน พระราชนิพนธ์เรื่องนิทานทองอิน มี 2 ชุด 11 ตอน ได้แก่พระราชนิพนธ์รหัสคดีชุด "นิทานทองอิน" เป็นเรื่องสั้นจำนวน 15 เรื่อง ลงพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร 'ทวีปัญญา' ระหว่าง ปี 2447-2448 โดยใช้นามแฝงว่า “นายแก้วนายขวัญ”
อีก 16 ปีต่อมา จากชุด "นิทานทองอิน" พระองค์ได้นำมาแก้ไขปรับปรุงใหม่และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "ประพฤติการณ์ของนายทองอิน รัตนะเนตร์" ลงพิมพ์ในนิตยสาร 'ดุสิตสมิต' ระหว่างเดือนเมษายน - ธันวาคม 2464 และเปลี่ยนพระนามแฝงเป็น “รามจิตติ” ที่มักจะทรงใช้กับงานพระราชนิพนธ์แปล โดยมีทั้งหมด 11 ตอนด้วยกันดังนี้
- นากพระโขนงที่สอง
- นายสุวรรณถูกขโมย
- ความลับแผ่นดิน
- นายสวัสดิ์"บิตุฆาต"
- ยาม้าบังกะโล
- เข็มร้อยดอกไม้
- กำนันคงบ้านโยคี
- ผู้ร้ายฆ่าคนที่บางขุนพรหม
- นายจรูญเศรษฐี
- ระเด่นลันได
- สร้อยคอร้อยชั่ง
เรื่องสั้นชุดนี้มีภาพวาดประกอบ ตามแบบวารสารอังกฤษ เพื่อช่วยเติมจินตนาการและเพิ่มอรรถรสในการอ่าน แต่ไม่อาจสืบสาวได้ ว่าเป็นลายเส้นของใคร
คดีที่นายทองอินสืบในยุคร้อยกว่าปีที่แล้ว มีทั้งเรื่องแบบไทยที่อิงผีปีศาจ เช่นนากพระโขนงที่สองเรื่องล้อวรรณกรรมอย่างระเด่นลันได และเรื่องที่มีมุมมองการแพทย์ และวัฒนธรรมสากลอย่างน่าทึ่ง เช่นการฆาตกรรมด้วยเข็ม หรือกลเม็ดการสื่อสารด้วยกลการเขียนจดหมายซ่อนคำ
ความคิดเห็น