ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #43 : กลอนสวด : วรรณคดีที่ถูกลืม

    • อัปเดตล่าสุด 28 ก.ค. 64


    กลอนสวดก็คือกลอนที่อ่านเป็นทำนองสวด แต่งเป็นกาพย์ยานี 11 กาพย์ฉบัง 16 และกาพย์สุรางคนางค์ 28 ข้อความที่แต่งมักเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนาโดยมีเนื้อเรื่องที่มุ่งสั่งสอนข้อธรรมะโดยตรงและโดยอ้อมซึ่งได้แก่ ชาดกและเรื่องที่แต่งเลียนแบบชาดก

    วัฒนธรรมทางการอ่านมีมาตั้งแต่โบราณแล้ว หากเป็นการอ่านที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นการ “อ่านด้วยหู” แน่! งงเด้งงเด้ 

    การอ่านด้วยหูก็คือการที่ผู้รู้หนังสืออ่านให้คนฟังจำนวนมา ก(อย่าลืมน่ะครับว่าคนสมัยก่อนรู้หนังสือกันน้อยมาก) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอ่านหนังสือในวัดซึ่งมีประเพณีการสวดอ่านหลากหลายประเภทในทุกภูมิภาคของไทย

    • ภาคกลาง :  การสวดพระมาลัย การสวดคฤหัสถ์ การสวดลำ จำอวดพระ
    • ภาคอีสาน :  ประเพณีการอ่านหนังสือผูก การสวดสรภัญญ์
    • ภาคใต้     :  การสวดหนังสือบุด การสวดด้านและการสวดพระมาลัย
    • ภาคเหนือ :  การเล่าคร่าว หรือค่าวซอ
       

    การนำกลอนสวดมาสวดอ่านเป็นท่วงทำนอง เป็นประเพณีนิยมของคนไทยที่มีมาแต่โบราณ และเพิ่งจะเริ่มคลายความนิยมลงในสมัยรัชกาลที่ 5  ซึ่งเป็นระยะที่วิทยาการความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีค่อยๆมีอิทธิพลต่อการเผยแพร่วรรณกรรมทำให้ประเพณีการอ่านหนังสือเปลี่ยนไปจากการ “อ่านด้วยหู” เป็นการ “อ่านด้วยตา” แทน

    กำเนิดของกลอนสวดอยู่ที่วัด เมื่อพุทธศาสนิกชนไปบำเพ็ญกุศลร่วมกันในวัด เมื่อว่างจากสวดมนต์หรือฟังเทศน์ก็ใช้เวลาว่างนั้นสนทนาธรรม เล่าเรื่องทางศาสนาหรือนำหนังสือเกี่ยวกับพุทธศาสนามาอ่านสู่กันฟัง 

    แต่เดิมอ่านเป็นร้อยแก้วอย่างทำนองธรรมวัตร ต่อมาจึงมีการนำชาดก หรือเรื่องราวต่างๆมาแต่งเป็นกลอนสวด เมื่อศาสนิกชนได้ฟังเสียงสวดที่ไพเราะรื่นหู ก็จะเกิดเลื่อมในศรัทธา

    แม้ว่าปัจจุบันวัฒนธรรมการสวดอ่านหนังสือแทบจะสูญหายไปแล้วจากสังคมไทยเพราะการอ่านได้เปลี่ยนเป็นการอ่านด้วยตาตามแบบตะวันตก วรรณกรรมซึ่งแต่งสำหรับสวดก็ยังคงมีหลงเหลืออยู่เป็นจำนวนมากในรูปของต้นฉบับตัวเขียนหรือสมุดไทย เฉพาะที่แผนกเอกสารโบราณ 

    หอสมุดแห่งชาติก็มีจำวนถึง 141 เรื่องนับเป็นจำนวนเล่ม 707 เล่ม เป็นสมุดไทย 667 เล่ม สมุดฝรั่ง 40 เล่ม  มรดกทางวัฒนธรรมเหล่านี้เป็นประจักษ์พยานที่จะทำให้อนุชนรุ่นหลังเข้าใจวัฒนธรรมอันเป็นรากเหง้าของสังคมไทย

    อย่างไรก็ตาม การจะหยิบยืมกลอนสวดไปสวดอ่านนั้น เจ้าของหนังสือหรือผู้คัดลอกมักมีหมายเหตุให้ระมัดระวังในการใช้หนังสือของตน ดังนี้

    ๏  หนังสือพระแก่นจันทร์นี้ถ้าผู้ใดจะยืมไปอ่านแล้วขอท่านทั้งหลายอย่าได้นอนอ่าน เป็นอันขาดทีเดียวแล้วอีกประการหนึ่งถ้าจะอ่านก็อย่าให้น้ำหมากน้ำพลูหยดย้อยลงไปที่หนังสือเลยท่านเอย ถึงจะมีลูกมีหลานก็อย่าควรเอาให้เล่น ไม่ดีเลยจริงนะท่าน

    (แก่นจันทร์  เลขที่ 12)

    การหยิบยืมกลอนสวดประเภทเรื่องประโลมโลกและหมายเหตุเตือนผู้ยืมให้รักษาหนังสือ แสดงถึงความแพร่หลายของการสวดอ่านกลอนสวดว่าเป็นไปอย่างกว้างขวาง และยังชี้ให้เห็นความสำคัญของต้นฉบับตัวเขียนซึ่งมีคุณค่าเพราะคัดลอกมาด้วยความยากลำบาก

    การสวดคฤหัสถ์ -- เรื่องนี้มีตำนาน (22 ส.ค. 60)

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×