ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #41 : ละครนอก VS ละครใน

    • อัปเดตล่าสุด 28 ก.ค. 64


    ละครนอก เป็นละครของภาคกลาง นัยว่าวิวัฒนาการมาจากโนราเพราะมีความมุ่งหมายเช่นเดียวกันคือ ดำเนินเรื่องรวดเร็ว และตลกขบขัน

    .

    .

    สมัยโบราณผู้แสดงผู้ชายล้วน จึงมีการเล่นเป็นผู้หญิงด้วยนะฮ้า! เพิ่งเพิ่มผู้หญิงเข้ามาแสดงในปลายสมัยรัชกาลที่ ๔  

    ดนตรี : ไม่จำกัดจำนวนดนตรี ใช้วงปี่พาทย์ 

    โรง : มีฉากเป็นผ้าม่าน มีประตูเข้าออก 2 ประตู หลังฉากเป็นที่แต่งตัวและสำหรับให้ตัวละครพัก หน้าฉากเป็นที่แสดงตั้งเตียงตรงกลางหน้าฉาก 

    การแต่งกาย : เลียนแบบเครื่องต้นของกษัตริย์ ตัวพระสวมชฎา ตัวนางสวมเครื่องประดับศีรษะตามฐานะเช่น มงกุฎกษัตรี รัดเกล้ายอด รัดเกล้าเปลว และกระบังหน้าเสื้อผ้าปักดิ้นเลื่อมแพรวพราว

    การแสดง : มีคนบอกบท มีต้นเสียงและลูกคู่สำหรับร้อง บางตัวละครอาจร้องเอง การรำเป็นแบบแคล่วคล่อง

    จังหวะของการร้องและการบรรเลงดนตรี : ค่อนข้างเร็ว เวลาเล่นตลกมักเล่นนานๆ ไม่คำนึงถึงการดำเนินเรื่อง และไม่ถือขนบธรรมเนียมประเพณี เริ่มต้นแสดงก็จับเรื่องที่เดียวไม่มีการไหว้ครู 

     

    เรื่องที่แสดงและเป็นที่นิยมแพร่หลายได้แก่ เรื่องแก้วหน้าม้า ลักษณวงศ์ และจันทโครพ 

    บทที่เป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 ได้แก่ เรื่องสังข์ทอง ไชยเชษฐ์ คาวี มณีพิชัย และไกรทอง

    บทละครนอกครั้งกรุงศรีอยุธยามีอยู่ 14 เรื่อง คือ 

    1. การะเกด
    2. คาวี                 
    3. ไชยทัต           
    4. พิกุลทอง 
    5. พิมพ์สวรรค์     
    6. พิณสุริยวงศ์      
    7. มโนห์รา          
    8. มณีพิชัย 
    9. สังข์ทอง           
    10. สังข์ศิลป์ชัย    
    11. สุวรรณศรี      
    12. สุวรรณหงส์ 
    13. โสวัต               
    14. โม่งป่า

    ต่อมาสมัยรัตนโกสินทร์ได้เพิ่มขึ้นมาอีกหลายเรื่อง

    .
    .
    .

    ละครใน เป็นละครที่เกิดขึ้นในพระราชฐานจึงเป็นละครที่มีระเบียบแบบแผน มีความมุ่งหมายสำคัญอยู่ 3 ประการ คือ 

    1. รักษาศิลปของการรำอันสวยงาม 
    2. รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีเคร่งครัด 
    3. รักษาความสุภาพทั้งบทร้อง และเจรจา 

    เพราะฉะนั้นเพลงร้อง เพลงดนตรี จึงต้องดำเนินจังหวะค่อนข้างช้าเพื่อให้รำได้อ่อนช้อยสวยงาม

    เป็นหญิงฝ่ายใน เดิมห้ามบุคคลภายนอกหัดละครใน จนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงเลิกข้อห้ามนั้น ต่อมาภายหลังอนุญาตให้ผู้ชายแสดงได้ด้วย ผู้แสดงละครในต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถตีบทให้แตก และมีลักษณะทีท้าวทีพญา 

     

    ดนตรี : ใช้วงปี่พาทย์ 

    โรง : มีลักษณะเดียวกับโรงละครนอกแต่มักเรียบร้อยสวยงามกว่าละครนอก เพราะใช้วัสดุที่มีค่ากว่าเนื่องจากมักจะเป็นละครของเจ้านาย หรือผู้ดีมีฐานะ

    เครื่องแต่งกาย : เหมือนละครนอก แต่ถ้าแสดงเรื่องอิเหนาตัวพระบางตัวจะสวมศีรษะด้วยปันจุเหร็จในบางตอน (ปันจุเหร็จในสมัยปัจจุบันมักนำไปใช้ในการแสดงเรื่องอื่นๆด้วย)

    การแสดง : มีคนบอกบท ต้นเสียง ลูกคู่การร่ายรำสวยงามตามแบบแผน เนื่องจากรักษาขนบประเพณีเคร่งครัดการเล่นตลกจึงเกือบจะไม่มีเลย

     

    เรื่องที่ใช้แสดงละครในแต่โบราณมีเพียง 4 เรื่องคือ 

    1. รามเกียรติ์ 
    2. อิเหนา (อิเหนาเล็ก) 
    3. ดาหลัง (อิเหนาใหญ่)
    4. อุณรุท 

    ภายหลังได้มีเพิ่มขึ้นบ้างเช่น เรื่องศกุลตลาพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6

    .
    .
    .

    ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีละครแบบใหม่เกิดขึ้น คือละครดึกดำบรรพ์ นับแต่นั้นมาคนก็หันไปสนใจกับละครแบบใหม่มากกว่าละครใน เพราะดำเนินเรื่องรวดเร็วทันใจ ทั้งยังเป็นของแปลกใหม่ไม่เคยดูมาก่อน ในสมัยต่อมาก็เกิดการละครประเภทอื่นๆ อีก เช่น ละครร้อง ละครพันทาง และละครพูด ในระยะหลังนี้ละครในเสื่อมความนิยมลงมาก 

    หลังสมัยรัชกาลที่ 6 แล้ว มิได้มีละครในของหลวงอีก และแม้ในปัจจุบันนี้จะมีละครในเล่นกัน แต่แบบและลักษณะการแสดงเปลี่ยนไปมาก

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×