ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #292 : ละครเจ้าคุณมหินทร + ละครปรีดาลัย

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 247
      3
      26 ต.ค. 63

    ละครเจ้าคุณมหินทร เป็นละครของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) ผู้ก่อตั้งโรงละครอย่างตะวันตกโดยใช้ชื่อว่า ปรินซ์เธียร์เตอร์ (Prince Theatre) และการริเริ่มแสดงละครโดยเก็บค่าชม


    เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรงเป็นศิษย์ร่วมสำนักกับเจ้าฟ้ามงกุฎ ต่อมาเจ้าฟ้ามงกุฎขึ้นเป็นรัชกาลที่ 4 ก็รับเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม ภายหลังทำสนธิสัญญาเบาว์ริงก็เป็นอุปทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับอังกฤษ


    โรงละครปรินซ์เธียร์เตอร์ตั้งอยู่ที่ท่าเตียน ตั้งชื่อมาจากพระองค์เจ้าจุฑารัตนราชกุมารี กับกรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม ซึ่งเป็นลูกของรัชกาลที่ 5 กับเจ้าจอมมารดามรกฎ บุตรีเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง

    (เอาง่ายๆ เจ้าคุณมหินทรเป็นตาของเจ้านาย 2 องค์นี้)


    โรงละครของเจ้าคุณมหินทรกำหนดเล่นเพียงสัปดาห์เดียว จึงเรียกกันติดปากว่า "วิก"
    .
    .
    .
    ส่วนละครปรีดาลัย เป็นละครของกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ พระบิดาแห่งละครร้อง


    กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์มีชื่อเสียงจากงานพระนิพนธ์หลายชิ้นที่รู้จักกันดี ได้แก่ " สร้อยคอที่หาย" "สาวเครือฟ้า" "พญาระกา" และ "อีนากพระโขนง"


    กรมพระนราธิปฯ ได้สร้างโรงละครวิมาณนฤมิตร ข้างวัดสระเกศ และคณะละครนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ ละครหม่อมหลวงต่วน ออกแสดงละครพันทาง ละครดึกดำบรรพ์ และละครร้อง ต่อมาเกิดไฟไหม้จึงสร้างโรงชั่วคราว แต่ก็เลิกแสดงไป เพราะกรมพระนราธิปฯ ติดราชการมาก


    ต่อมาในปี 2441 รัชกาลที่ 5 สร้างพระราชวังดุสิตและโปรดเให้ปลูกต้นไม้ ทุกต้นออกหมดยกเว้นลิ้นจี่ จนมีพระราชดําริว่า ถ้าต้นลิ้นจี่มีลูกจะหาละครหม่อมหลวงต่วนมาเล่นทําขวัญ ไม่นาน ลิ้นจี่ก็ออกผลเต็มต้น แต่หม่อมหลวงต่วนได้เลิกละครแล้วจึงให้กรมพระนราธิปฯจัดทำต่อไป 


    กรมพระนราธิปฯ จึงได้ปรับปรุงการแสดงจนเป็นละครปรีดาลัย ดูโอ่อ่าทันสมัยตามอย่างตะวันตก เล่นเฉพาะเสาร์อาทิตย์ คนดูกันแน่นโรง เล่นแต่ละครั้งขายตั๋วได้ถึง 2,000-2,500 บาททีเดียว 


    ที่โรงละครปรีดาลัย รัชกาลที่ 5 เสด็จมาทอดพระเนตรหลายครั้ง อีกทั้งยังโปรดให้เล่นต้อนรับพระราชอาคันตุกะด้วย 
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×