ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #257 : ราชลัญจกรหยก

    • อัปเดตล่าสุด 1 ก.ค. 62


    ตราประทับพระราชลัญจกร หรือ ตราหยกแผ่นดินเป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงความมีอำนาจสูงที่สุดของแผ่นดินจีน


    ราชลัญจกรสันนิษฐานว่ามีพัฒนาการมาจากการแกะสลักตัวหนังสือบนกระดองเต๋าและกระดูกสัตว์ในสมัยราชวงศ์ซาง


    โดยทั่วไปตราประทับจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังที่นักวิชาการเรียกว่า ตัวผู้หรือตัวเมีย หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า อินหยาง โดยที่ตราประทับหยาง (阳印; Yang yin) คือตัวหนังสือเป็นสีแดง ส่วนพื้นจะปล่อยเว้นว่างไว้ 


    ส่วนตราประทับอิน (阴印; Yin yin) คือตราประทับที่พื้นเป็นสีแดง ส่วนที่เป็นตัวหนังสือจะเว้นว่างไว้ และด้วยเหตุที่ตราประทับอินมีสีแดงจึงมีอีกชื่อว่า จูอิ้น (朱印; Zhuyin) หรือตราประทับชาด ซึ่งตราประทับในสมัยโบราณที่พบโดยมากจะเป็นตราประทับอิน ส่วนตราประทับที่ใช้ในชั้นหลังจะเป็นตราประทับหยาง
    .
    .
    .
    กล่าวกันว่าตอนที่ซีฮ่องเต้ (秦始皇; Qin Shi Huang) ปราบแคว้นจ้าวสำเร็จก็ได้ หยกเหอสื่อปี้ (和氏璧; Heshibi) ในตำนานมาไว้ในครอบครอง และหลังจากปราบดาภิเษกขึ้นเป็นฮ่องเต้แล้ว ก็ให้หลี่ซือ (李斯; Li Si) ขุนนางคนสนิทนำหยกเหอสือปี้ไปแกะเป็นราชลัญจกร


    ราชลัญจกรนี้เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างยาว 4 นิ้ว มีข้อความเป็นอักษรจีน 8 ตัวว่า 受命于天,即寿永昌 แปลเป็นไทยได้ว่า รับโองการสวรรค์ ทรงพระเจริญนิรันดร


    ต่อมาพระเจ้าฮั่นโกโจ (漢高祖; Emperor Gaozu of Han) สถาปนาราชวงศ์ฮั่นสำเร็จ คิดว่าตราหยกของแผ่นดินฉินเป็นของวิเศษล้ำค่า จึงเก็บตราหยกนี้ไว้ และนำมาใช้เป็นตราแผ่นดินของฮั่นของตนสืบต่อมาจนถึงยุคปลายราชวงศ์ฮั่น


    ต่อมาเมื่อตั๋งโต๊ะ (董卓; Dong Zhuo) สั่งเผาเมืองลกเอี๋ยง (洛阳Luoyang) ทำให้ตราหยกแผ่นดินได้หล่นหายไประหว่างที่เกิดความวุ่นวาย กระทั่งซุนเกี๋ยน (孙坚; Sun Jian) มาพบ จึงงเกิดเรื่องวุ่นวายขึ้นตามๆมา
    .
    .
    .
    หยกเหอสื่อปี้ แปลว่า หยกสกุลเหอ มาจากคนที่ค้นพบหยกวิเศษชิ้นนี้ก็คือ เปี้ยนเหอ (卞和; Bian He


    ในสมัยฉู่ลี่อ๋อง (楚厲王; Chu Liwangเปี้ยนเหอได้ค้นพบก้อนหินที่แสนธรรมดาแต่ภายในนั้นมีหยกเนื้อดีอยู่ จึงนำหินก้อนนี้ไปถวายฉู่ลี่อ๋อง ฉู่ลี่อ๋องโกรธมาก สั่งตัดเท้าซ้ายและขัง


    ต่อมาเมื่อถึงสมัยฉู่อู๋อ๋อง (楚武王; Chu Wuwang) เปี้ยนเหอนำหินก้อนเดิมมาถวาย ฉู่อู่อ๋องโกรธมาก สั่งให้ตัดเท้าขวาและเนรเทศออกนอกหลวง


    เมื่อถึงสมัยฉู่เหวินอ๋อง (楚文王Chu Wenwang) ทราบเรื่องก้อนหินของเปี้ยนเหอ จึงเรียกมาคุย เปี้ยนเหอยืนยันว่าในหินก้อนนี้มีหยกแน่นอน ฉู่เหวินอ๋องเห็นแก่ความพยายามจึงให้ช่างหยกมาตรวจสอบและกะเทาะหินก้อนนี้ออก


    ปรากฏว่าพบหยกงาม ฉู่เหวินอ๋องจึงตั้งชื่อหยกเหอซื่อปี้ เพื่อเป็นเกียรติแก่เปี้ยนเหอผู้พบหยกชิ้นนี้
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×