ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #166 : อิเหนาในพงศาวดาร

    • อัปเดตล่าสุด 2 ก.ค. 62




    รู้หรือเปล่าว่า “อิเหนา” ที่เราเรียกกันทุกวันนี้นั้น มันไม่ใช่ชื่อจริง!! (อะอ้าว!) 
    .
    .
    แล้วชื่อของอิเหนาคืออะไรกันล่ะพี่?


    ความจริงๆ แล้ว “อิเหนา” ไม่ใช่ชื่อ แต่เป็นเพียง “ตำแหน่ง” ยุพราช หรือมกุฎราชกุมาร


    ในตอนที่เฮียแกเกิดมานั้น องค์ปะตาระกาหลาก็ได้ลงมาประทานกริชให้ พร้อมกับสลักพระนามเอาไว้บนกริชว่า  

    ชื่อหยังหยังหนึ่งหรัดอินดรา
    อุดากันสาหรีปาตี  

    อิเหนาเอ็งหยังตาหลา
    เมาะตาริยะกัดดังสุรศรี  
    ดาหยังอริราชไพรี
    เอ็งกะนะกะหรีกุเรปัน


    เอามารู้ความหมายกันดีกว่า

    หยังหยัง (Yang-Yang) [อีสานแม่นบ่ ถุ้ยย!!]  =  เทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ 
    หนึ่ง (Ning)  =  แห่ง
    หรัด (Rat)  =  รัฐ
    อินดรา (Indera)  =  พระอินทร์
    อุดากัน (Udakan)  =  พี่ชาย 
    สาหรี (Seri)  =  เกียรติศักดิ์  
    ปาตี (Pati)  =  บดี  ผู้เป็นใหญ่  
    อิเหนา (Inu)  =  ยุพราช
    เอ็ง (Ing)  =  [เจ้า ถุ้ยยx2!!] แห่ง ของ
    หยัง (Yang)  =  เทพเจ้า
    ตาหลา (Ta'ala)  =  สูงส่ง  
    เมาะตาริ (Metari)  =  ตะวัน
    ยะกัด (Jagat)  =  โลก แผ่นดิน 
    ดาหยัง (Jayang)  =  ศัตรู  ข้าศึก 
    กะ (Ka)  =  ไปสู่
    นะกะหรี (Negeri)  =  นคร 
    กุเรปัน (Kahuripan)  =  เป็นชื่อเมืองของอิเหนา มีความหมายว่า ความรื่นรมย์  

    เมื่อแปลรวมกันชื่อของคุณอิเหนานั้นหมายถึง

    “ มหาเทพแห่งอินทรพิภพ เชษฐบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ด้วยเกียรติ ยุพราชแห่งเทพเจ้าผู้สูงส่ง ฤทธาเดชานุภาพดังสุริยเทพ เป็นที่ครั่นคร้ามแก่เหล่าผู้รุกรานกรุงกุเรปัน 



    ในขณะที่เรื่องอิเหนานั้นเป็นพงศาวดารชวา ในสมัย พ.ศ.1800 ร่วมสมัยเดียวกับกรุงสุโขทัย


    อิเหนานั้น ในพงศาวดารชวาเรียกชื่อว่า ปันหยี อิเหนา กรัตปาตี (Panji Inu Kartapati) แต่พวกชวาเรียกกันเป็นโดยย่อว่า “ปันหยี” 


    ตัวจริงคือ พระเจ้ากาเมศวร (Kameshwara) แห่งกรุงดาหา (Kediri) (ในวรรณคดีบอกว่าเป็นกรุงกุเรปัน) ครองราชย์เมื่อพ.ศ. 1658 - 1673 มีมเหสีคือ จินตะหรา (Kirana) แห่งกรุงกุเรปัน (ในวรรณคดีว่าเป็นนางบุษบาอยู่กรุงดาหา) มหาราชของชาวชวา ผู้รวบดินแดนชวากลับเป็นหนึ่งเดียวกันอีกครั้ง (เรื่องมันยาว เดี๋ยวเอาไว้เล่าตอนหน้า!)


    เรื่องราวที่เล่ากันว่าเป็นเกียรติคุณของอิเหนานั้น ทางประวัติศาสตร์ปรากฏว่า เป็นเรื่องของพระอัยกาธิราช (ปู่) ซึ่งคือ พระเจ้าไอรลังคะ (Airlangga) เสียหลายเรื่อง 


    เจ้านายที่เชื่อกันว่าสืบเชื้อสายมาจากอิเหนานั้น มีอยู่ด้วยกัน 2 องค์ คือ 
    สุสุหุนันแห่งสุรเกษตร (Surakarta Sunanate) กับ 
    สุลต่านแห่งยกยาเกษตร (Yogyakarta Sultanate)



    เมื่อชวาตกเป็นอาณานิคมของดัตช์ (ฮอลันดา) เจ้าผู้ครองนครทั้งสองยังคงครองนครในลักษณะรัฐในอารักขา (เจ้าประเทศราช)


    เมื่อครั้งรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสแดนชวา ในปี 2439 สุลต่านได้ถวายหนังสือราชพงศาวดารชวาฉบับหลวงที่เขียนไว้สำรับหนึ่ง มีปรากฏว่า "ท้าวกุเรปันได้ราชธิดากรุงสยามไปเป็นมเหสีองค์หนึ่ง" แต่ความข้อนี้ เมื่อรัชกาลที่ 5 โปรดฯ ให้สอบดูหนังสือตรงนั้น ได้ความว่าได้ราชธิดาไปจากกรุงจาม หาใช่กรุงสยามไม่ 


    ส่วนสุสุหุนันนั้นถวายกริชโบราณเล่มหนึ่ง ว่าเดิมเป็นกริชของอิเหนา ทำจากเหล็กขวานฟ้า ซึ่งตกลงมาจากบนสวรรค์เมื่อครั้งอิเหนาครองประเทศชวาอยู่นั้น


    และเมื่ออินโดนีเซียได้รับเอกราชอย่างเด็ดขาดในปี ค.ศ. 1949 เจ้าผู้ครองนครทั้งสองก็ยังคงตำแหน่งอยู่ แต่ภายหลัง สุสุฮูนันนครสุรการ์ตา (และเจ้าผู้ครองนครอื่นๆ) ถูกถอนอำนาจทางการปกครองลงเป็นเพียงสัญลักษณ์เท่านั้น


    ส่วนสุลต่านแห่งยกยาเกษตรนั้นยังคงมีอำนาจปกครอง เพราะได้สนับสนุนการต่อสู้เพื่อเอกราชอย่างยิ่งยวด


    สุลต่านฮาเมิงกูบูอนอที่ 10 แห่งยอกยาการ์ตา (Hamengkubuwono X)
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×