ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #161 : โคลงนิราศของหลวงธรรมาภิมณฑ์

    • อัปเดตล่าสุด 2 ก.ค. 62




    รองอำมาตย์เอกหลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก จิตรกถึก) เป็นชาวจังหวัดจันทบุรี เกิดในเมื่อวันที่  5 กรกฎาคม 2401 มีอุปนิสัยชอบภาษาไทย จนสามารถแต่งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ได้เป็นอย่างดี จึงเป็นเหตุให้ได้รับราชการมียศศักดิ์ จนกระทั่งถึงแก่กรรมด้วยโรคชราเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2471


    วรรณคดีประเภทนิราศที่หลวงธรรมาภิมณฑ์แต่งไว้นั่นเท่าที่พบมีอยู่ 2 เรื่อง คือ โคลงนิราศวัดรวก และ โคลงนิราศวัดสมุหประดิษฐ์ ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้ กล่าวถึงการเดินทางไปยังสระบุรีเหมือนกัน....


    โคลงนิราศวัดรวก หลวงธรรมาภิมณฑ์แต่งเมื่อปี 2428 เป็นโคลงสี่สุภาพจำนวน 252 บท เนื้อหาพรรณนาการเดินทางจากวัดรวก (วัดไม้รวก) ไปยังพระพุทธบาทจังหวัดสระบุรี


    นิราศเรื่องนี้ผิดแผกจากนิราศทั่วไป ตรงที่มิได้เริ่มพรรณนาการเดินทางตั้งแต่ที่อยู่ของกวี แต่กลับเริ่มต้นเมื่อเดินทางมาถึงวัดรวกแล้ว และกวีนิพนธ์ส่วนใหญ่มักจะนำชื่อสถานที่อันเป็นจุดหมายมาตั้งเป็นชื่อนิราศ แต่หลวงธรรมาภิมณฑ์ใช้ชื่อสถานที่เริ่มต้นเป็นชื่อนิราศ


    วัดรวก (วัดไม้รวก) อ.ท่าเรือ อยุธยา

    การเดินทางไปพระพุทธบาทในอดีตนั้น ปกติมักล่องเรือไปขึ้นบกที่อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แล้วขี่ช้างหรือนั่งเกวียนไปตามเส้นทางถนนฝรั่งส่องกล้อง ซึ่งเป็นถนนที่สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมโปรดให้ฝรั่งชาติฮอลันดาตัดถนนเส้นนี้ไปยังพระพุทธบาท


    คราวที่หลวงธรรมาภิมณฑ์เดินทางไปนี้ ท่านใช้เกวียนเป็นพาหนะ ออกเดินทางจากวัดรวกในตอนบ่าย ผ่านจุด check in ต่าง ๆจนกระทั่งถึงพระพุทธบาทในเวลาสองยาม


    โคลงนิราศเรื่องนี้ได้มีระบุว่า หลวงธรรมาภิมณฑ์แต่งขึ้นขณะเดินทางติดตามพหลวงญาณภิรมย์ (บุญ) เป็นธรรมทูตอัญเชิญพุทธบรรณาการ ซึ่งรัชกาลที่ 5 อยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปบูชาพระพุทธบาทสระบุรี
    .
    .
    .
    .
    โคลงนิราศวัดสมุหประดิษฐ์ หลวงธรรมาภิมณฑ์แต่งเป็นโคลงดั้นวิวิธมาลี จำนวน 206 บท กล่าวถึงการเดินทางจากกรุงเทพฯ เพื่อไปตรวจการศึกษาที่โรงเรียนวัดสมุหประดิษฐาราม จังหวัดสระบุรี


    ส่วนระยะเวลาที่แต่งโคลงนิราศเรื่องนี้ ท่านระบุไว้ในท้ายเรื่องว่ากำลังรับราชการอยู่ที่กรมศึกษาธิการนั้น สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นช่วงที่ท่านกลับเข้ารับราชการที่กองตำราเรียนในระหว่างปี 2443 - 2446


    โรงเรียนนี้มีสาเหตุมาจากเจ้าจอมมารดาแสงในรัชกาลที่ 5 ธิดาของพระยาไชยวิชิต (ช่วง กัลยาณมิตร) เกิดเจ็บไข้ แล้วใคร่จะทำบุญเพื่อความเป็นสวัสดิมงคล 


    รัชกาลที่ 5 ซึ่งกำลังวางรากฐานการศึกษาสมัยใหม่ให้แก่ราษฎร ด้วยการจัดตั้งโรงเรียนสอนหนังสือทั่วทั้งสยาม จึงทรงแนะนำให้เจ้าจอมมารดาแสงบูรณะวัดสมุหประดิษฐารามและจัดตั้งโรงเรียนขึ้นที่วัดนี้


    การดำเนินงานจัดตั้งโรงเรียนที่วัดสมุหประดิษฐารามในครั้งนี้ สมเด็จกรมพระยาวชิรญาณวโรรสได้มีรับสั่งให้ต่อพื้นชาลาพระอุโบสถออกไปอีกห้องหนึ่ง กว้าง 6 ศอก ยาว 6 วา กั้นเป็นห้องสำหรับเรียนหนังสือ 


    ส่วนโรงเรียนวัดสมุหประดิษฐ์ที่จัดตั้งขึ้นในครั้งนี้สันนิษฐานว่าคงจะตั้งอยู่ได้ไม่นาน เพราะมีหลักฐานว่าในปี พ.ศ. 2451 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบีเอตริศภัทรายุวดี พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งประสูติแต่เจ้าจอมมารดาแสง มีพระประสงค์จะให้มีโรงเรียนหนังสือไทยขึ้นในวัดนี้อีก 


    พระยาพิไชยรณรงค์สงคราม เจ้าเมืองสระบุรีจึงได้จัดศาลาโรงธรรมในวัดนี้เป็นโรงเรียน และได้รับประทานนามว่า “โรงเรียนประถมสมุหประดิษฐ์

    วัดสมุหประดิษฐาราม อ.เสาไห้ สระบุรี
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×