ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #108 : ความลับของเงือกในวรรณคดี

    • อัปเดตล่าสุด 2 ก.ค. 62


    สืบเนื่องจากมีคนถามกันมามากว่า เหตุไฉนพระอภัยมณี หรือพี่เผือกถึงได้มี xxx กับน้องเงือกได้อย่างไร ?
    .
    .
    .
    วันนี้เราจะบอกความลับของเงือกในวรรณคดีไทยที่คุณอาจจะยังไม่เคยทราบมาก่อนมานำเสนอให้ทุกๆท่านได้ทราบกัน


    เงือกในประเทศไทยถูกกล่าวขานมาตั้งแต่สมัยอดีต ผ่านเรื่องราวต่างๆ มากมาย พอจะสรุปได้ดังนี้


    ลิลิตโองการแช่งน้ำ : คำว่าเงือกในภาษาไทยโบราณ และภาษาตระกูลไตบางถิ่นนั้น มักจะหมายถึง งู ดังปรากฏในลิลิตโองการแช่งน้ำ ที่ว่า 
    .
    .
    ท้าวเสด็จเหนือวัวเผือก เอาเงือกเกี้ยวข้าง อ้างทัดจันทร์เป็นปิ่น
    .
    .  
    ลิลิตพระลอ : หมายถึง สัตว์ร้ายจำพวกผี หรือปิศาจ ดังตอนที่ปู่เจ้าสมิงพรายทำพิธีเชิญเทวดาและผีพรายมาสู้กับเทวดาที่รักษาเมืองสรองในลิลิตพระลอว่า 
    .
    .
    ตัวขุนให้ขี่ช้าง บ้างขี่เสือขี่สีห์ บ้างขี่หมีขี่หมู บ้างขี่หมูขี่เงือก
    .
    .
    สำหรับเงือกในพระอภัยมณีนั้น ปรากฏตัวครั้งแรก ตอนที่ศรีสุวรรณออกตามมาพระอภัยมณีกับพวกสามพราหมณ์แล้วพบเงือกซึ่งปรากฏ "เงือกแบบ mermaid" แบบในหนังฝรั่ง


    .
    .
    .
    พระชม้อยค่อยเพลินเจริญจิตต์
    นิ่งพินิจเขาไม้ในกระแส
    เห็นเงือกงามพราหมณ์ชี้ว่านี่แน่
    พ่อจงแลดูนางกลางชลา

    มีผมเผ้านมเนื้อเนตรขนง
    ทั้งรูปทรงน่ารักเป็นนักหนา
    เสียแต่เพียงพื้นล่างเป็นหางปลา
    กับพูดจานั้นไม่เป็นเหมือนเช่นเรา
    .
    .
    .
    ตามมาน้องเงือกที่เป็นประเด็น talk of the town ของพวกเรากันดีกว่า ปรากฎตอนแรกตอนที่สินสมุทรว่ายน้ำไปเจอเงือกเฒ่า ซึ่งบังเกิดเป็นรูปลักษณ์ "คนมีหางเป็นปลา" แทน
    .
    .
    .
    ระลอกซัดพลัดเข้าในปากฉลาม
    ลอดออกตามซีกเหงือกเสลือกสลน 
    เห็นฝูงเงือกเกลือกกลิ้งมากลางชล
    คิดว่าคนมีหางเหมือนอย่างปลา
    .
    .
    .
    แล้วตอนที่นางผีเสื้อสมุทรตามพระอภัยมณีมาพบเงือกเฒ่า เงือกเฒ่าก็กวนตีนชี้ไปทางโน้น ชี้ไปทางนี้จนนางผีเสื้อโมโหจับพ่อเงือกแม่แม่เงือกฉีกขาแม่มเลย
    .
    .
    .
    แกล้งจะให้ห่างผัวไม่กลัวกู
    แล้วนางยักษ์หักขาฉีกสองแขน
    ไม่หายแค้นเคี้ยวกินสิ้นทั้งคู่
    แล้วกลับตามข้ามทางท้องสินธู
    .
    .
    .
    อ้าว! แล้วเมื่อมีขา แล้วทำไมถึงไม่ขึ้นมาอยู่บนบกล่ะ? 

    จากการวิเคราะห์ของหนังสือ วรรณคดีขี้สงสัย บอกเอาไว้ว่ากำลังขาคงอ่อนแรงมาก อาจเพราะอยู่ในน้ำที่มีแรงต้านมากเกินไป ทำให้มวลกระดูกลดลงและกล้ามเนื้อไม่เหมาะแก่การเดินก็เป็นได้ (การออกกำลังกายด้วยการว่ายน้ำนั้นลดมวลกระดูกเป็นอย่างยิ่ง คนว่ายน้ำจึงควรวิ่งเพื่อเพิ่มมวลกระดูกก่อนหรือหลังว่ายน้ำเสมอ)


    ส่วนที่มาของเงือกพันธุ์นี้ เงือกเฒ่าได้เล่าพระอภัยมณีฟังว่า
    .
    .
    .
    ถ้าเสียเรือเหลือคนแล้วนางเงือก
    ขึ้นมาเลือกเอาไปชมประสมศรี
    เหมือนพวกพ้องของข้ารู้พาที
    ด้วยเดิมทีปู่ย่าเป็นมานุษย์
    .
    .
    .
    นี้แหละจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้พ่อยอดชายของเราถึงป๊ะกับน้องเงือกได้อย่างเกษมสุข ส่วนที่วาดออกมาเป็นครึ่งล่างแบบนั้น คาดว่ายุคที่วาดรูปออกมานั้น อาจจะได้รับอิทธิพลจากเรื่องเงือกต่างชาติเข้ามาแพร่หลายมากแล้วก็เป็นได้


    ส่วนที่คนชอบโมเมกันไปว่า "คายลูกออกมาจากปาก" นั้นไม่จริงขอรับ เพราะการคลอดสุดสาครของนางเงือกมีดังนี้
    .
    .
    .
    ทั้งเทวาอารักษ์ที่ในเกาะ
    ระเห็จเหาะมาสิ้นทุกถิ่นฐาน
    ช่วยแก้ไขได้เวลากฤษดาการ
    คลอดกุมารเป็นมนุษย์บุรุษชาย
    .
    .
    .
    หรือจะเป็นนางสุพรรณมัจฉา ในเรื่องรามเกียรติ์พระพราชนิพนธ์ของร.1 และโคลงภาพวัดพระแก้ว
    .
    .
    .
    จำกูจะไปสำรอก
    ออกเสียจากครรภ์ให้จงได้
    คิดแล้วก็เร่งรีบไป
    ยังในเนินสมุทรคงคา
    .
    .
    .

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×