ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #105 : สัตตบริภัณฑ์ : 7 ขุนเขาสุดตระหง่าน

    • อัปเดตล่าสุด 2 ก.ค. 62


    เขาพระสุเมรุ (Mount Meru) ถือว่าเป็นแกนกลางของจักรวาลตามความเชื่อในวรรณคดีไทย (เปรียบเทียบได้กับเทือกเขาโอลิมปัสของกรีก)


    สัตตบริภัณฑ์คีรี เป็นชื่อภูเขาในตำนานพุทธศาสนา ตั้งอยู่กลางป่าหิมพานต์ เป็นเทือกเขา 7 เทือกที่ห้อมล้อมเขาพระสุเมรุเอาไว้ [ดูรายละเอียดตอนที่ 11 : 7 สิ่งมหัศจรรย์บนสวรรค์ชั้น "ดาวดึงส์"]     


    ระหว่างเขาสัตบริภัณฑ์สลับคั่นด้วยทะเลสีทันดร ซึ่งมีความใสบริสุทธิ์แต่จะทำให้ทุกสิ่งต้องจมลงไป ไม่สามารถผ่านไปได้นอกจากการเหาะไปเท่านั้น


    เขาสัตบริภัณฑ์ทั้ง 7 นั้นมีอะไรบ้าง เราไปดูกันดีกว่าขอรับ


    1. ยุคนธร (Yugandhara) : อยู่ห่างจากเทือกเขาพระสุเมรุออกไป 84,000 โยชน์ มีความสูงเป็นครึ่งหนึ่งของเขาพระสุเมรุคือสูง 42,000 โยชน์ เป็นที่โคจรของพระอาทิตย์และพระจันทร์


    2. อิสินธร (Isadhara) : อยู่ห่างจากเทือกเขายุคนธรออกไป 42,000 โยชน์ มีความสูงเป็นครึ่งหนึ่งของเขายุคนธรคือสูง 21,000 โยชน์ เป็นที่อยู่ของมเหศรเทพบุตร


    3. กรวิก (Karavika) : อยู่ห่างจากเทือกเขาอิสินธรออกไป 21,000 โยชน์ มีความสูงเป็นครึ่งหนึ่งของเขาอิสินธรคือสูง 10,500 โยชน์ เป็นที่อยู่ของนกการเวก นกที่เชื่อกันว่ามีเสียงไพเราะ


    4. สุทัศน์ (Sudassana: อยู่ห่างจากเทือกเขากรวิกออกไป 10,500 โยชน์ มีความสูงเป็นครึ่งหนึ่งของเขากรวิกคือสูง 5,250 โยชน์ เป็นที่อยู่ของทิพยโอสถ ว่านยาวิเศษ


    5. เนมินทร (Nemindhara) : อยู่ห่างจากเทือกเขาสุทัศน์ออกไป 5,250 โยชน์ มีความสูงเป็นครึ่งหนึ่งของเขาสุทัศน์คือสูง 2,625 โยชน์ เป็นที่อยู่ของบัวใหญ่เท่ากงรถและกงเกวียน


    6. วินันตก (Vinataka) : อยู่ห่างจากเทือกเขาเนมินทรออกไป 2,625 โยชน์ มีความสูงเป็นครึ่งหนึ่งของเขาเนมินทรคือสูง 1,312 โยชน์ 200 เส้น เป็นที่อยู่ของนางวินตา มารดาของพญาครุฑ


    7. อัศกรรณ (Assakanna) : อยู่ห่างจากเทือกเขาวินันตกออกไป 1,312 โยชน์ 200 เส้น มีความสูงเป็นครึ่งหนึ่งของเขาวินันตกคือสูง 656 โยชน์ กับ 100 เส้น เป็นที่เกิดของไม้กำยานกำยานหอม

    ถัดออกมาเป็น โลณสมุทร หรือ น้ำทะเลน้ำเค็ม


    ปล. สัตตภัณฑ์ ยังเป็นของใช้ในพิธีกรรมทางพุทธศาสนาของล้านนา เป็นเชิงเทียนสำหรับจุดบูชาพระพุทธเจ้า ก่อนเริ่มประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่นเดียวกับโต๊ะหมู่บูชาในปัจจุบัน

    อีกนัยหนึ่ง สัตตภัณฑ์ทางพุทธศาสนา ยังเป็นสัญลักษณ์ขององค์แห่งธรรมอันเป็นเครื่องตรัสรู้ หรือบรรลุอรหัตผล 7 ประการหรือโพชฌงค์ 7 จึงเป็นสัญลักษณ์แห่งพระธรรม หรือปัญญารู้แจ้ง

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×