ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #103 : นางโสภณีกับรากษส : โฉมงามอสูรสไตล์ไทย

    • อัปเดตล่าสุด 15 พ.ย. 61


    นางโสภณีกับรากษส เป็นคำฉันท์ที่ประพันธ์โดยกรมหลวงพิชิตปรีชากร แต่งในสมัยรัชกาลที่ 5 ด้วยกาพย์ฉบังและคำฉันท์อีก 9 ชนิด 


    เมื่อพิจารณาจากเนื้อเรื่องแล้ว สันนิษฐานว่าน่าจะทรงได้แรงบันดาลใจจากเรื่อง Beauty and the Beast แล้วนำมาปรุงใหม่ให้เป็นนิทานไทยสไตล์ไทยๆ


    รังเรื่องอนุมัติมาตาม   นิทานนางงาม
    ยุโรปภพสืบแสดง


    เนื้อเรื่องกล่าวถึงนายวาณิชคนหนึ่งมีลูกสาวสามคน  ลูกสาวคนสุดท้องชื่อว่า นางโสภณี วันหนึ่งนายวาณิชต้องเดินทางไปขายของต่างเมืองเป็นเวลาเดือนหนึ่ง จึงถามลูกสาวแต่ละคนว่าอยากได้อะไรเป็นของฝาก  


    เจ๊ใหญ่ต้องการผ้าแพร ส่วนเจ๊รองต้องการสร้อยคอ ส่วนนางโสภณีคิดว่าหากนางต้องการของมีค่า บิดาจะเสียเวลาหา จึงขอแค่ดอกกุหลาบดอกเดียวพอ 


    เมื่อขายของเสร็จ นายวาณิชก็เสาะหาสิ่งของต่างๆให้ลูกสาว แต่อนิจจา! นายวาณิชมิอาจจะหากุหลาบให้ลูกสาวได้


    วันหนึ่งเดินทางมาถึงสวนแห่งหนึ่ง เห็นดอกกุหลาบจึงเข้าไปเด็ด ทันใดนั้น! ปรากฏเกิดฟ้าผ่ากัมปนาทพร้อมพายุพัดเป็นโกลาหล ยักษ์ตนหนึ่งปรากฏขึ้นมา (รากษสกับยักษ์แตกต่างกันอย่างไร ดูได้ที่ตอนที่ 33 : ยักษ์และเผ่าพันธุ์เพื่อนบ้าน


    ยักษ์ร้ายจะลงโทษนายวาณิชถึงตาย แต่นายวาณิชคร่ำครวญถึงลูกสาวโดยเฉพาะนางโสภณี ยักษ์ได้ฟังแล้วคิดอยากได้นางโสภณีมาเป็นคู่ครอง จึงปล่อยตัวนายวาณิชโดยบังคับให้สัญญาว่าจะพานางโสภณีมาให้ หากไม่ทำตามสัญญาจะฆ่าให้ตายทั้งหมด


    เมื่อกลับไปหาลูกสาว นายวาณิชมีอาการหม่นหมองจนลูกสาวสังเกตเห็นและไต่ถามเอาความจริง นายวาณิชจึงเล่ามูลเหตุให้ฟัง  ลูกสาวทุกคนโศกเศร้าเสียใจ นางโสภณีเสียใจและคิดว่าควรจะให้ยักษ์ฆ่าตนเสียเองดีกว่าจึงลาพ่อไป 


    เรื่องแต่งค้างไว้เพียงเท่านี้  

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×