ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #92 : นานาสำนวนจากเรื่อง "รามเกียรติ์"

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 11.69K
      93
      2 ก.ค. 62

    คนไทยรู้จักเรื่องรามเกียรติ์กันมาแต่โบราณกาลแล้ว ด้วยความฮิตของเรื่องนี้ คนไทยในสมัยก่อนจึงได้ประดิษฐ์คิดค้นสำนวนต่างโดยยึดที่มาจากเรื่องรามเกียรติ์ วันนี้ เราจะมานำเสนอสำนวนที่มีที่มาจากรามเกียรติ์กัน จะมีอะไรนั้น เราไปดูพร้อมกันเลยนะขอรับ


    กล่องดวงใจ

    หมายถึง : ของรักดังชีวิต ในปัจจุบันหมายถึง ช้างน้อยของผู้ชาย
    ที่มา : ในรามเกียรติ์ มียักษ์สองตนที่ถอดหัวใจออกจากร่างได้คือ ทศกัณฐ์และไมยราพ โดยป๋าทศนำดวงใจเก็บไว้กับฤษีโคบุตร ส่วนไมยราพนั้นนำไปเก็บไว้ในถ้ำบนยอดเขาตรีกูฏ


    เจ้าชู้ยักษ์

    หมายถึง : เจ้าชู้มากๆ 
    ที่มา : ป๋าทศกัณฐ์ ยักษ์ผู้สร้างฮาเร็มเอาไว้มากมายไม่ว่าจะ นางกาลอัคคี นางมณโฑ นางปลา นางช้าง นางสนมพันตน นางสนมสิบตน หรือจะเป็นนางสนมอีกหมื่นๆ และเหล่านางฟ้าที่ลอบแปลงเป็นเทวดาไปซั่มมาหมดสวรรค์ก็ตาม


    พาลีสองหน้า (พาลีหลายหน้า)

    หมายถึง : กลับกลอก ไว้ใจไม่ได้
    ที่มา : เมื่อครั้นพาลีและสุครีพสามารถยกเขาพระสุเมรุให้กลับมาตั้งตรงได้อีกครั้ง พระอิศวรก็มอบโบนัสพิเศษมากมายแก่พญากากาศ (พาลี) พลางมอบของสมนาคุณ(คือนางดารา)ไปให้สุครีพ แต่พระนารายณ์ดันท้วงว่าเป็นการฝากปลาย่างไว้กลับแมว พาลีจึงให้สัญญาว่าถ้าตนเอานางดาราไปเป็นเมีย ขอให้ตายด้วยศรของพระนารายณ์ ซึ่งต่อมาพาลีก็เอานางมาเป็นเมียในที่สุด


    วัดรอยเท้า

    หมายถึง : เทียบตนเองกับผู้ที่อยู่เหนือกว่า
    ที่มา : ทรพีคอยวัดรอยเท้าของตนกับรอยเท้าของทรพาผู้เป็นพ่อว่าเท้าใหญ่เท่ากันหรือยัง เมื่อใหญ่เท่าแล้วทรพีจึงท้าทรพาขวิด และฆ่าทรพาผู้เป็นพ่อตายในที่สุด


    ทรพี

    หมายถึง : เนรคุณ
    ที่มา : ชื่อนี้มีที่มาจากน้องควายทรพีนี้เองที่ฆ่าพ่อผู้ให้กำเนิด ครั้นฆ่าพ่อได้ก็ลำพองใจท้าไฝว้คนนั้นคนโน้นไปเรื่อยจนมาไฝว้กับพาลีในที่สุด ทั้งสองสู้กันอยู่ 7 วันก็ยังไม่ปรากฏผลแพ้ชนะ พาลีจึงถามว่า “มีเทวดาคอยคุ้มครองอยู่หรืออย่างไร”(จริงๆมีจ้า) แต่ทรพีกลับบอกว่า กูเก่งเอง เทวดาจึงไม่ช่วยปล่อยให้พาลีฆ่าตายในที่สุด


    พระรามเดินดง (งอมพระราม)

    หมายถึง : ลำบากตรากตรำเป็นเวลานาน
    ที่มา : พระรามต้องถูกเนรเทศออกไปเดินป่าเป็นเวลา 14 ปีตามพระบัญชาของปะป๊า ต้องได้รับความทุกข์จากการพลัดพรากนางสีดา ผู้เป็นชายา และทำศึกกับทศกัณฐ์จนเกิดเป็นมหากาพย์บานตะไทเรื่องรามเกียรติ์ขึ้นมา


    ทูษณ์ขรตรีเศียร
    หมายถึง : วงศาคณาญาติ
    ที่มา : พญายักษ์สามตนที่เป็นน้องชายของป๋าทศ เรียงตามลำดับ คือ ขร ทูษณ์ และ ตรีเศียร ซึ่งทั้งสามหลงไปท้าไฝว้กับพระรามเพราะเชื่อคำยุของนางสำมนักขาจนถูกฆ่าตายไปหมด 

    ปล. คำว่า “ทูษณ์” พ้องเสียงกับคำว่า “ทูต” จึงมักจะต่อสร้อยเป็น ทูตขรตรีเศียรไปด้วย สำนวนนี้ใช้มาตั้งแต่สมัยอยุธยา ดังที่สมเด็จเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ กล่าวว่า “การรับทูตขรตรีเศียรเป็นประเพณีมาแต่โบราณ”


    กลิ้งทูตล้มขร

    หมายถึง : นอนกันเกลื่อดกลาดไม่เป็นท่า
    ที่มา : จากหนังใหญ่ตอนพระยาทูษณ์ พระยาขรออกรบ ซึ่งจะเล่นกันถึงสองยาม (เที่ยงคืน) กว่าถึงตอนพี่ขรถูกศรพระรามตาย เมื่อถึงตอนนั้นคนเชิดก็หยุดเล่น ถึงเวลาพัก คนดูจึงเรียกติดปากว่า ล้มขร คู่กับสำนวน กลิ้งทูต ที่พญาทูษณ์ออกรบแล้วถูกศรพระรามตาย


    ยักษ์ปักหลั่น
    หมายถึง : ร่างกายใหญ่โต
    ที่มา : ยักษ์ปักหลั่นเป็นยักษ์ร่างกายใหญ่โตมากๆ มีหน้าที่เฝ้าสระโบกขรณีตามคำสาปของพระอินทร์ เมื่อเห็นพี่เผือก ชมพูพานและองคตมานอนอยู่ริมสระก็คิดจะกินลิง แต่องคตดันตื่นขึ้นมาไล่กระทืบยักษ์ซะก่อน ปักหลั่นขอยอมแพ้และบอกที่มาของตนเดิมว่าเป็นเทวดาแต่ลักลอบซั่มกับนางเกสรมาลา จึงถูกสาป ถ้าทหารขององค์พระนารายณ์เข้าลูบกายก็จะพ้นคำสาป องคตจึงเข้าลูบหลังให้ พ้นคำสาปกลับไปเป็นเทวดาเหมือนเดิม


    เหาะเกินลงกา

    หมายถึง : ทำเกินคำสั่ง
    ที่มา : เมื่อครั้นไอ้เผือก องคต และชมพูพานไปสืบหาที่ตั้งของเกาะลงกา พญาวานรทั้งสามได้พบนกสัมพาที พญานกได้พาทั้งสามบินไปบอกพิกัดของกรุงลงกาว่าอยู่ตรงเขานิลกาลานะอย่าเจือกไปผิด จากนี้ถึงคราวพี่เผือกไปเองก็ดันเหาะเลยไปถึงเขาโสฬสเกินเมืองลงกาไปซะนี้


    ยักษ์ลักพาลิงพาไป

    หมายถึง : แย่งกันไปแย่งกันมา
    ที่มา : เมื่อครั้นพี่เผือกเหาะมาถึงกรุงลา ก็ได้เที่ยวตามหาจนพบนางสีดา กระทั่งขันอาสาจะพานางกลับไปหาพระราม แต่นางสีดากลับปฏิเสธเพราะว่าเห็นการกระทำที่ไม่สมควร ดูราวกับนางเป็นหญิงที่ถูกแย่งกันไปแย่งกันมา ฉะนั้นขอเผือกกลับไปหาพระรามและให้ยกทัพข้ามมาเกาะลังกาโดยนางจะคอยท่าอยู่


    น้ำบ่อน้อย

    หมายถึง : น้ำลาย
    ที่มา : ตอนเฮียเผือกเผากรุงลงกานั้น ไฟที่หางดันไม่ยอมดับ ไม่ว่าจะไปดำผุดดำว่ายที่มหาสมุทรไฟมันก็อยู่นะซิ พี่เผือกจึงไปปรึกษาพระฤษีนารทซึ่งพระฤษีก็ไก้ให้คำตอบว่าใช้น้ำบ่อน้อยซึ่งก็คือน้ำลายของเอ็งดับไฟซิ


    จองถนน

    หมายถึง : เตรียมแผนการรุกล้ำที่ของคนอื่น ทำวางโต
    ที่มา : เมื่อครั้นพระรามยกไพร่พลตามนางสีดามาหยุดอยู่ริมฝั่งมหาสมุทร จะข้ามไปได้ต้องเกณฑ์พลวานรเอาหินมาถมทำถนนข้ามไปยังกรุงลงกา


    องคตพดหาง
    หมายถึง : เย่อหยิ่งจองหอง อวดดี ตีตนเสมอ
    ที่มา : เมื่อพระรามยกกองทัพมาถึงเกาะลงกาแล้ว ก็ได้ตั้งองคตเป็นทูตไปเจรจากับทศกัณฐ์ขอให้ส่งนางสีดากลับคืนมาให้พระราม เมื่อไปถึง องคตก็พดหางของตนนั่งให้สูงเทียบทศกัณฐ์ก่อนจะอ่านราชสารออกกไป


    หนุมานคลุกฝุ่น

    หมายถึง : สกปรกมอมแมม
    ที่มา : ตอนที่พี่เผือกไฝว้กับไมยราพอยู่นั้น ไม่มีใครแพ้ไม่มีใครชนะจนต้องเอาต้นตาลมาฟาดคนละสามที ในตอนที่ไมยราพจะฟาดหนุมานนั้น พี่เผือกก็ได้เสกฝุ่นผงมาทาทั่วตัวเพื่อป้องกันรงปะทะของไมยราพ


    เข็ดเขี้ยว
    หมายถึง : ไม่กล้าสู้เพราะสู้แล้วสู้ได้
    ที่มา : มาจากตอนที่เฮียกุมถูกพี่เผือกกัดหูจนไม่กล้าออกมาเผชิญหน้ากับพี่เผือกอีก 


    กุมภกรรณทดน้ำ

    หมายถึง : กีดขวาง นอนขวาง ขวางกั้น ทำตนเป็นอุปสรรคแก่ผู้อื่น
    ที่มา : มาจากตอนที่เฮียกุมคิดแผนที่จะไปทำพิธีทดน้ำให้เหือดแห้งเพื่อมิให้กองทัพพระรามได้อาบกินน้ำต่อไป เมื่อพระรามทราบความจากจาร์วิสยักษาจึงใช้ให้หนุมานไปปราบ 


    สิ้นรถสิ้นทศโยธา

    หมายถึง : หมดสิ้นทุกสิ่งทุกอย่าง
    ที่มา : เมื่อคราวป๊าทศออกศึกกับพระรามเป็นครั้งแรกนั้น ป๊าได้จัดลูกๆสิบตนออกเป็นกองรถถึงสิบกองเพื่อป้องกันอันตราย เรียกรวมๆกันว่าขุนสิบรถ แต่เมื่อรบกันไปจริงๆแล้ว อีตาขุนสิบรถนี้แหละที่ถูกทหารของพระรามฆ่าตายกันหมดจนไม่เหลือซักตน


    หายเข้ากลีบเมฆ

    หมายถึง : หายลับไม่พบกันอีก
    ที่มา : เมื่อครั้นยักษ์จวนเจียนจะพ่ายแพ้ก็ได้ใช้วิชาจำแลงกาย หนีเข้าไปในกลีบเมฆในบัดดล


    ปล่อยม้าอุปการ

    หมายถึง : ชอบวางอำนาจ หรือ ข่มขู่ผู้อื่น
    ที่มา : มาจากพิธีอัศวเมธของอินเดีย (รายละเอียดดูได้จากตอนที่ 66 : พิธีอัศวเมธ พิธีประกาศความเป็นใหญ่) 

    โดยในเรื่องรามเกียรติ์จะกล่าวถึงตอนที่พระมงกุฎ พระลบลองยิงศรที่พระเจ้าตาจนต้นรังใหญ่ล้มลงเกิดเสียงดังสนั่น พระรามได้ยินก็เข้าใจว่าจะมีผู้มาแข่งฤทธิ์จึงปล่อยม้าอุปการออกไป โดยแขวนกล่องพระราชสาส์นไว้ที่คอม้าว่า นี้เป็นของพระรามนะจ๊ะ ถ้าใครพบก็บูชาม้านะ แต่ถ้าใครบังอาจขึ้นขี่ล่ะก็ พ่อจะให้คน(และลิง)ตามจับมาประหารเสีย 


    ศรศิลป์ไม่กินกัน

    หมายถึง : กินกันไม่ลง เก่งเสมอกัน
    ที่มา : มีกล่าวถึงหลายเรื่อง (สมุทรโฆษ รามเกียรติ์ ไชยเชษฐ์) แต่จะขอกล่าวเรื่องรามเกียรติ์แล้วกัน เมื่อพระรามปะทะกับลูกๆของตน ต่างฝ่ายต่างยิงศรตอบโต้กัน แต่ก็เอาชนะกันไม่ได้ พระมงกุฎจึงแผลงศรซ้ำไปอีกครั้ง กลับกลายเป็นข้าวตอกดอกไม้บูชาพระราม พระรามเห็นอัศจรรย์จึงตั้งอธิษฐาน ถ้าเป็นหน่อเนื้อเชื้อเดียวกันขอให้ศรกลายเป็นอาหาร ก็เป็นไปดั่งคำอธิษฐาน

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×