ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #84 : สามกรุง : วรรณคดีวิจารณ์การเมือง

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 2.65K
      24
      2 ก.ค. 62

    สามกรุง เป็นนิพนธ์เรื่องสุดท้ายของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (น.ม.ส.) ในขณะไปผ่าตัดต้อกระจกที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อปี 2485 ช่วงสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา จนกระทั่งจบเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2487 โดยลักษณะคำประพันธ์ครบครันทั้ง 5 ประเภท (ร่าย โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน)


    สามกรุงเรื่องนี้เป็นเรื่องที่กรมหมื่นท่านทรงรัก หวงแหนและภูมิใจมากเป็นพิเศษ เพราะเมื่อเขียนเสร็จแล้วก็เขียนภาคผนวกซึ่งประกอบไปด้วยสาระสำคัญในวรรณคดีไทยเป็นอันมาก ต่อมาก็คัดสำเนาต้นฉบับมาพิมพ์ดีดถึง 3 ชุด แล้วนำไปฝากไว้กับผู้ที่ไว้ใจว่าจะคุ้มครองจากภัยสงครามพร้อมเก็บไว้เองชุดหนึ่ง เมื่อหยิบมาอ่านตรวจทานพลางพึมพำว่า 


    "ไม่ว่าจะเปิดอ่านแห่งไหน ดูมันฝังเพชรพราวทั่วไปหมด" ถีงขนาดมีมาขอซื้อลิขสิทธิ์ในการพิมพ์ถึง 300,000 บาท!!!!


    สามกรุงนั้นประกอบไปด้วย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และ กรุงรัตนโกสินทร์ โดยไล่เลี่ยงตั้งตอนพระเจ้าเอกทัศน์เสียกรุงไปถึงตอนญี่ปุ่นบุกรุงในรัชกาลที่ 8 เนื้อหาส่วนใหญ่ของเรื่องจะเป็นการสรรเสริญพระเกียรติคุณของพระเจ้าตากสิน กับ ร.1 สองกษัตริย์มหาราชที่รักชาติเป็นปฐมเหตุ เศวตฉัตรเป็นแต่ผลของการกระทำ

    ภาคที่ 1 : อยุธยาตอนเสียกรุง



    เก้าปีเอกทัศได้               ครองดิน
    สมเด็จสุริยามรินทร์
            
    ฤกษ์ร้าย
    เสียฉัตรปิ่นปัฐพินทร์
          
    เสียชีพ
    ขาดปุดดุจดังด้าย             
    ดิ่งด้นหนสลาย


    น.ม.ส. วิเคราะห์ว่าการที่ไทยต้องเสียกรุงนั้นมีสาเหตุอยู่สองประการ คือ ไทยไม่ปลงใจกันและ ขาดคนดีเป็นประมุข จากเหตุการณ์ครั้งนี้ กรมหมื่นได้หวนไปถึงกรุงศรีในยุคพระนเรศและพระเอกาทศรถที่ทุกชนชั้นได้ร่วมแรงร่วมใจกันต่อต้านศึกพม่าอย่างเข้มแข็ง 


    แต่กับพระเจ้าเอกทัศน์นั้นแม้ส่วนลึกในใจจะรักและเป็นห่วงประเทศอยู่บ้าง แต่สิ่งที่ทำกับอยู่แต่ในวัง ควงสนมกิ๊บน้ำจัณฑ์ ปล่อยให้เหล่าแม่ทัพออกทัพบัญชาการทัพอยู่แต่ในป้อม จนเกิดการตั้งตัวเป็นใหญ่อยู่หลายกลุ่มหลายก๊กจนทำไปสู่การล่มสลายของอาณาจักรอันเกรียงไกรในที่สุด


    ภาคที่ 2 : ธนบุรี

        
           รณรงค์ทรงปราบจลาจล     จูงสยามมณฑล
    ประสบซึ่งสามัคคี
        เอกจิตเอกฉัตรสวัสดี
                รบล้างไพรี
    ปะระประเทศเฉทไป

    น.ม.ส.ได้เริ่มภาคนี้ด้วยการสดุดีถึงบุคลิกผู้นำของพระเจ้าตาก วีรกรรมขับไล่พม่าออกจากอาณาจักร รวมไทยเป็นหนึ่งเดียว โดยเฉพาะความสามัคคีนั้น อย่างเหตุการณ์ในเขมรที่กรมหมื่นท่านได้ชี้ให้เห็นถึงความแตกความสามัคคีของชาวกัมพุชจนถูกเจ้าต่างแดนมีอำนาจเหนือประเทศตัวเอง


    ภาคที่ 3 : รัตนโกสินทร์


    ฉันนั้นธนบุเรศสิ้น          รัศมี
    ไทยจะเกิดกาลกลี         รุ่มเร้า
    ภายในไม่สามคี               ครัดเคร่ง
    โอกาศชาติอื่นเข้า           ขี่ข้าม ตามเคย

    ภาคนี้ น.ม.ส. กล่าวถึงคุณสมบัติความเป็นผู้นำของพระมหากษัตริย์ทุกราชการที่ต่างพระองค์ต่างก็ได้ทะนุบำรุงและนำพาชาติให้พ้นภัยจากภยันตรายร้ายต่างๆนานา 


    น่าแปลกที่กรมหมื่นท่านได้นิพนธ์เกี่ยว เก้าปี ถึงสามครั้งด้วยกัน ครั้งแรก พระเจ้าเอกทัศน์ครองเมืองได้ 9 ปีก็เสียกรุง ครั้งที่สอง รัชกาลที่เจ็ดครองราชย์ได้ 9 ปีก็สละราชสมบัติ ครั้งที่สาม คณะราษฎรมีอำนาจอยู่ 9 ปี ญี่ปุ่นก็ยกพลขึ้นบกสู่ประเทศไทย 


    ทั้งสามมีความหมายเหมือนกันคือการสูญเสียอำนาจการปกครองประเทศของผู้นำที่อยู่ในฐานะที่พึงมีพึงได้


    เรื่องนี้ น.ม.ส มุ่งเสียดสีพฤติกรรมของผู้นำไทยในสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ไปเข้าร่วมกับญี่ปุ่นโดยหวังว่าไทยจะได้เป็นมหาอำนาจโดยเห็นว่าประวัติศาวสตร์จะซ้ำรอยเหมือนพระเจ้าเอกทัศน์นี้แหละ ทำให้กรมหมื่นอดไม่ได้ที่จะคิดไปถึงยุคของพระนเรศพระเอกาทศรถ กับยุคของพระเจ้าตากและกษัตริย์ 7 รัชกาล


    ด้วยกลวิธีที่นำเสนออีกทั้งโวหารอันแยบคายทำให้สามกรุงเป็นทั้งวรรณคดียอพระเกียรติ วรรณคดีประวัติศาสตร์ และ วรรณคดีวิจารณ์การเมืองไปในคราวเดียวกัน
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×