ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #74 : นพรัตน์ เก้ามณีแห่งชีวิต

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.73K
      28
      1 ส.ค. 64

    นพรัตน์ (Navaratna) หรือ เนาวรัตน์ หรือ นพเก้า เป็นรัตนะศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 9 ประการ ได้แก่ เพชร ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน นิลกาฬ มุกดาหาร เพทาย และ ไพฑูรย์ 

    เกือบทุกประเทศในแถบเอเชียนับถือว่าเป็นรัตนสูงส่งของเทพ ซึ่งตกทอดสืบต่อกันมา 

    ทั้งในประเทศอินเดีย เนปาล ศรีลังกา สิงคโปร์ พม่า กัมพูชา เวียดนาม อินโดนีเซีย ไทย และมาเลเซีย (โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรมและศาสนา
     

    แต่มีเพียงประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนพรัตน์นี้อย่างเป็นทางการ และยกย่องให้นพรัตน์เป็นรัตนมงคลโบราณ

    จากจดหมายเหตุของเซอวาเลียร์ เดอ โชมองต์ (Chevalier de Chaumont) ได้บันทึกไว้ว่า สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงสวมธำมรงค์เพชรพลอยอย่างดีทุกนิ้วพระหัตถ์ และแหวนที่สำคัญที่พระมหากษัตริย์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่สมัยอยุธยาใช้เป็นเครื่องประกอบเกียรติยศก็คือ แหวนนพรัตน์ 

    กรมพระยาดำรงราชานุภาพยังนิพนธ์ไว้ในเรื่องการสร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย ตำนานตรานพรัตน์ ในสมัยรัชกาลที่ 1 ทรงมีพระราชดำริให้สร้างมหาสังวาลนพรัตน์ขึ้น เป็นสังวาลแฝดประดับนพรัตน์ สำหรับพระเจ้าแผ่นดิน พระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางผู้ใหญ่

    นพรัตน์ยังเป็นส่วนหนึ่งของนามกรุงเทพฯ ซึ่งรัชกาลที่ 1 พระราชทานนาม โดยทรงเปรียบเทียบเมืองหลวงของไทยนี้ดั่งเมืองในสรวงสวรรค์แห่งเทพ อันเป็นที่มาของรัตนชาติทั้งเก้าประการว่า "นพรัตนราชธานีบูรีรมย์"

    จากหลักโหราศาสตร์โบราณของเอเชีย ชีวิตบนโลกล้วนขึ้นอยู่กับนพเคราะห์ ซึ่งจะส่งอิทธิพลต่อดวงชะตาชีวิตของแต่ล่ะคน กล่าวกันว่าการสวมใส่นพรัตน์จะช่วยให้ดวงดาวตามโหราศาสตร์สมดุล ดังที่ระบุไว้ใน "คัมภีร์ปาริชาตชาดก (Jataka Parijata) "  ดังนี้

    • เพชร (Diamond) - ดาวพระศุกร์ (Shukra)
    • ทับทิม (Ruby) - ดาวพระอาทิตย์ (Surya)       
    • มรกต (Emerald) - ดาวพระพุธ (Budha)
    • บุษราคัม (Yellow sapphire) - ดาวพระพฤหัสบดี (Brhaspati)
    • โกเมน (Hessonite) - ดาวพระราหู (Rahu)
    • นิลกาฬ (Blue sapphire) - ดาวพระเสาร์ (Shani)
    • มุกดาหาร (Pearl) - ดาวพระจันทร์ (Chandra)
    • เพทาย (Red Coral) - ดาวพระอังคาร (Mangala)
    • ไพฑูรย์ (Cat's Eye) - ดาวพระเกตุ (Ketu)
    •  

    ในวรรณคดีไทยก็มีวรรณคดีประเภทหนึ่งที่ว่าด้วยความรู้เกี่ยวกับอัญมณี 

    เรียกว่า "ตำรานพรัตน์" ตำรานพรัตน์ที่สำคัญ ได้แก่ 

    • ลิลิตตำรานพรัตน์ ของหลวงนรินทราภรณ์ 
    • ตำรานพรัตน์ฉบับร้อยแก้ว พระยาสุริยวงศ์มนตรี (ดิศ บุนนาค) และคณะ เรียบเรียง
    • ตำรารัตนสาตร์จบบริบูรรณ์ซึ่งเป็นเอกสารโบราณ 

    อัญมณีที่ปรากฏในตำรานพรัตน์มี 12 ชนิด ได้แก่ เพชร ไข่มุก ทับทิม มรกต นากสวาดิ ครุทธิการ ไพลิน ไพฑูรย์ บุษราคัม เพทาย โกเมน และประพาฬ

    ตามตำนานกล่าวถึงการเกิดนพรัตน์ว่า ครั้งหนึ่งทวยเทพ ดาบส และคนธรรม์ต่างพากันไปเฝ้าพระอิศวรเพื่อถามถึงนพรัตน์ว่ามีกำเนิดความเป็นมาอย่างไร พระอิศวรก็แนะนำให้ทวยเทพทั้งหลายไปถามพระฤๅษีองคต ซึ่งเป็นผู้ที่มีอายุยืนยาวมาที่ป่าหิมพานต์ดู 

    พระฤๅษีจึงเล่าว่า ในกาลก่อนบรรดาทวยเทพทั้งหลายประสงค์จะให้เกิดแก้วทั้ง 9 ประการ จึงขอให้ท้าวมหาพลาสูรสร้างนพรัตน์ขึ้นเพื่อไว้เป็นสวัสดิมงคลแห่งโลก

    ท้าวมหาพลาอสูรบำเพ็ญตบะอดอาหารครบ 7 วัน ก็ถึงแก่ความตาย ทวยเทพจึงตั้งพิธีบูชาตามที่ท้าวพลอสูรสั่งความไว้ เมื่อเวลาผ่านไป 7 วัน ร่างของท้าวพลอสูรก็แปรสภาพเป็นรัตนชาติต่าง ๆ หัวใจกลายเป็นเพชรและทับทิม นัยน์ตาขวาเกิดเป็นแก้วไพฑูรย์ นัยน์ตาซ้ายเกิดเป็นแก้วโกเมน ฟันเป็นแก้วมุกดา เนื้อกลายเป็นบุษราคัม 

    และเมื่อท้าวพลอสูรสิ้นชีวิต พระยาพาสุกินนาคราชผุดขึ้นจากนาคพิภพเพื่อสูบโลหิตของอสูรเป็นอาหาร แต่นาคก็ดันถูกพญาครุฑจับแด๊กกลางทางซะก่อน ระหว่างทางพญานาคได้สำรอกโลหิต กลายเป็นรัตนชาติชื่อว่าแก้วนาคสวาสดิ และมรกต ส่วนน้ำลายที่กลายเป็นครุฑธิการ 

    และทวยเทพทั้งหลายก็ได้นำรัตนชาติต่างๆ แยกย้ายไปไว้ตามที่ต่างๆ เพื่อให้เกิดเป็นมงคล

    จากเอกสารในหอสมุดของสยามสมาคมฯระบุว่า ครูมนตรี ตราโมท เป็นผู้นำกลอนนพรัตน์มาแต่งท่วงทำนองใช้ร้อง เป็นระบำนพรัตน์ว่า 

    • "เพชรดี มณีแดง เขียวใสแสงมรกต เหลืองสวยสดบุษราคัม แดงแก่ก่ำโกเมนเอก สีหมอกเมฆนิลกาฬ มุกดาหารหมอกมัว แดงสลัวเพทาย สังวาลสายไพฑูรย์ฯ"

    แก้วทั้ง 9 นี้ คนไทยนิยมนำมาเจียระไนและใช้ประกอบกับของมีค่า เป็นทั้งเครื่องประดับ หรือนำมาประดับของเช่น ภาชนะหรืออาวุธ เพราะเป็นสิริมงคล ผู้ใดได้ครอบครองก็จะโชคดี

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×