ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #6 : ตักศิลา ติวเตอร์แห่งยุคพุทธกาล

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 2.29K
      33
      23 ก.ย. 64

    เมื่ออ่านวรรณคดีประเภทชาดกกันแล้ว เราก็จะสังเกตเห็นได้ว่าตัวเอกของทุกเรื่องได้ไปศึกษาร่ำเรียนกันที่เมืองตักศิลากันทั้งนั้นใช่ไหมล่ะ?

    ตักศิลา (Taxila) หรือ ตักษศิลา เป็นชื่อนครหลวงแห่งแคว้นคันธาระ (Gandhara) แหล่งรวมมหาวิทยาลัยและศิลปวิชาการต่างๆนานาที่มีมาตั้งแต่ก่อนสมัยพุทธกาล

     

     

    ณ ที่แห่งนี้ได้ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพออกมามากมายไม่ว่าจะเป็น พระเจ้าปเสนทิโกศล (Pasenadi) หมอชีวก (Jivaka) จ้าวลิจฉวี (Licchavis) หรือแม้กระทั้งองคุลีมาล (Angulimala) ก็ตาม

    ตักศิลาเป็นจุดศูนย์รวมศิลปวิทยาการ ไม่ว่าจะเป็นอารายธรรมกรีก เปอร์เชีย หรือแม้แต่ของพุทธพราหมณ์ฮินดูก็ตาม

    เมื่อพูดถึงตักศิลาแล้วก็... หลายคนคงจะนึกถึงสำนักทิศาปาโมกข์กันใช่ไหม! ที่นี้เป็นแหล่งรวมสำนักทิศาปาโมกข์เอาไว้มากมาย โดยทุกสำนักจะเปิดคอร์ดสอนศิลปศาสตร์ทั้ง 18 ประการ ซึ่งเป็นวิชาที่เจ้าฟ้าพระราชามหากษัตริย์ในสมัยอดีตจะส่งบุตรหลานมาศึกษาอยู่เป็นประจำ 

    วิชาต่างๆมีอะไรบ้าง แล้วมันเรียนกันอย่างไร เราจะมาอธิบายรายวิชาต่างๆในคอร์ดให้พวกท่านได้ทราบกันต่อไปนี้

    1. สูติ (Sutra)  -->  ความรู้ทั่วไป
    2. สมฺมติ (Smriti)  -->  ความรู้กฎธรรมเนียมต่างๆ
    3. สงฺขยา (Samkhya)  -->  การคำนวณ
    4. โยโค (Yogo)  -->  การช่างยนต์
    5. นีติ (Niti)  -->  ศีลธรรม จรรยา กฎหมาย
    6. วิเสสิกะ (Vaisheshika)  -->  ความรู้การอันทำให้เกิดมงคล
    7. คนฺธพฺพา (Gandharva-veda)  -->  วิชานาฏศิลป์
    8. คณิกา (Krida)  -->  วิชาบริหารร่างกาย
    9. ธนุพฺเพธา (Dhanurveda)  -->  ยิงธนู
    10. ปุราณะ (Puranas)  -->  โบราณคดี
    11. อายุรเวท (Ayurveda)  -->  แพทย์ศาสตร์
    12. อิติหาสะ (Itihasa)  -->  ตำนาน
    13. โชติสา (Jyothisha)   -->  การพยากรณ์
    14. มายา (Maya)  -->  วิธีแสดงอุบายเอาชนะข้าศึก
    15. ฉันทะ (Chandas)  -->  การประพันธ์
    16. เหตุ (Hetu)  -->  วาทศิลป์
    17. มันตะ (Mantra)  -->  รู้เวทย์มนต์ คาถา เลข ยันต์
    18. สัททา (Shabda)  -->  ไวยากรณ์

    .

    .

    .

    บางตำราก็บอกมามี ศิลปศาสตร์ 18 ประการ มี

    1. ไตรเพท : พระเวท (Vedas)

         - ฤคเวท (Rigveda)  -->  อำนาจแห่งเทวะ และประวัติการสร้างโลก

         - ยชุรเวท (Yajurveda)  -->  สวดสรรเสริญเทพเจ้า

         - สามเวท (Samaveda)  -->  พิธีกรรมต่างๆ ทั้งการบูชาและการบวงสรวง

    2. สรีรศาสตร์ (Sharira)  -->  วิชาพิจารณาลักษณะส่วนต่างๆของร่างกาย

    3. สังขยาศาสตร์ (Samkhya)  -->  วิชาคำนวณ

    4. สมาธิศาสตร์ (Samadhi)  -->  วิชาทำจิตให้แน่วแน่

    5. นิติศาสตร์ (Niti) --> วิชาเกี่ยวกับกฎหมาย

    6. วิเสสิกศาสตร์ (Vaisheshika) --> วิชาแยกประเภทคนและสิ่งของ

    7. โชติยศาสตร์ (Jyothisha) --> วิชาทำนายเหตุการณ์ทั่วไป

    8. คันธัพพศาสตร์ (Gandharva-veda) --> วิชาฟ้อนรำและดนตรี

    9. ติกิจฉศาสตร์ (Chikitsa) --> วิชาแพทย์

    10. ปุรณศาสตร์ (Puranas) --> วิชาโบราณคดี

    11. ศาสนศาสตร์ (Sasana) --> วิชาการศาสนา

    12. โหราศาสตร์ (Hora) --> วิชาเกี่ยวกับการทำนาย

    13. มายาศาสตร์ (Maya) --> วิชากล

    14. เหตุศาสตร์ (Hetu) --> วิชาค้นหาเหตุ

    15. วันตุศาสตร์ (Vantu) --> วิชาคิด

    16. ยุทธศาสตร์ (Yuddha) --> วิชาการรบ

    17. ฉันทศาสตร์ (Chandas) --> วิชาแต่งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน

    18. ลักษณะศาสตร์ (Lakshana) --> วิชาดูลักษณะคน

    .

    .

    .

    ถ้าจะเทียบกับปัจจุบันนี้ คงเป็นวิชาเหล่านี้ (แต่ข้อไม่ได้ตรงกัน) คือ

    1. อักษรศาสตร์ (Literature) อันนี้เรียนหนังสือ ไม่ได้จะกวนตีนนะ เรียนหนังสือจริงๆ ศึกษาจากตำรา พระคัมภีร์ และวรรณกรรมต่างๆเอาเลย  

    2. นิติศาสตร์ (Jurisprudence) ไม่ต้องบอกก็น่ารู้กันอยู่แล้วว่าเรียนเกี่ยวกับกฎหมายและจารีตประเพณีต่างๆ

    3. ฉันทศาสตร์ (Prosody) อันนี้เรียนเกี่ยวกับวิชาการประพันธ์ การแต่งหนังสือทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง พวกเจ้าบทเจ้ากลอนน่าจะชอบวิชานี้กันนะ

    4. นิรุกติศาสตร์ (Linguistics) อันนี้เรียนเกี่ยวกับภาษา ภาษาของตนเอง ภาษาต่างประเทศ ได้ฟุดฟิดฟอฟันกับครูกันสนุกเลยทีเดียวเชียว

    5. รัฐศาสตร์ (Political science) เรียนเกี่ยวกับปกครอง การบริหารบ้านเมือง ซึ่งอาจถือได้เป็นวิชาพื้นฐานที่พระมหากษัตริย์ทุกคนต้องรู้เลยก็ว่าได้  

    6. ยุทธศาสตร์ (Military) ผมเชื่อว่านี้เป็นวิชาโปรดของทุกๆคน เรียนเกี่ยวกับการใช้อาวุธประเภทต่างๆในการรบอย่างชำนิชำนาญ

    7. ศาสนศาสตร์ (Philosophy - ปรัชญา) วิชาชวนเบื่อสำหรับหลายๆคน ก็เรียนพวกศาสนา ประวัติคำสอนของศาสนาต่างๆ จะเรียนวิชานี้ต้องเตรียมหมอนกับผ้าห่มมาเรียนกันเลยทีเดียว

    8. โหราศาสตร์ (Astrology) เรียนกันมันส์ๆ จบรับรองได้ใช้ทำมาหากินแน่ๆ ก็เล่นเรียนเกี่ยวกับวิชาโหร การพยากรณ์ เหตุการต่างๆ และทายชะตาราศีของคนได้นี้

    9. ดาราศาสตร์ (Astronomy) เป็นวิชาที่ศึกษาดวงดาวต่าง ๆ

    10. คณิตศาสตร์ (Mathematics) ไม่ได้เรียนเป็นเซตหรือแคลคูลัสขนาดนั้น เรียนคิดเลข คำนวญราคาสินค้า พื้นที่ ปฏิทินและยุคต่าง ๆของโลก

    11. คันธัพพศาสตร์ (Music) เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับดนตรี จะเล่นเป็นแนวโฟล์คสบายๆ หรือจะเป็นแนวร็อคแอนด์โรลล์ตะคอกแหกปากกันก็แล้วแต่

    12. ตรรกศาสตร์ (Logic) เรียนเกี่ยวกับเหตุผล

    13. เวชศาสตร์ (Medicine - แพทยศาสตร์) เรียนเกี่ยวกับสมุนไพรและวิธีปรุงยาแก้โรคต่างๆ

    14. สัตวศาสตร์ (Animal Science) ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะของสัตว์และเสียงของสัตว์ว่าร้ายหรือดี รู้คัมภีร์สัททาวิเสส

    15. พาณิชยศาสตร์ (Commerce) เรียนเกี่ยวกับการค้าขาย ให้รู้จักชนิดของสินค้า วิธีการค้า และเส้นทางการค้า

    16. ภูมิศาสตร์ (Geography) เรียนเกี่ยวกับพื้นที่ ให้รู้จักแผนที่ของประเทศต่าง ๆ

    17. วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) เรียนเกี่ยวกับช่างกล กลไกของยานพาหนะและเครื่องมือต่างๆ

    18. นโยบายศาสตร์ (Policy Sciences) เรียนเเกี่ยวกับกลอุบายและตำรับพิชัยสงครามต่างๆ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×