ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #30 : เรื่องของยาม

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.39K
      22
      28 ก.ค. 64

    ยามในที่นี้ไม่ได้หมายถึง รปภ หรือเพลงของ Labanoon นะเออ

    .
    .
    .
    ยาม เป็นคำภาษาบาลีที่เรานำมาใช้ในภาษาไทย ซึ่งบาลีออกเสียงว่า “ยา-มะ” ซึ่งแปลว่าเวลานะจ๊ะ

    ในวรรณคดีบาลีรวมถึงวรรณคดีบาลีที่แปลแต่งเป็นภาษาไทยว่าไว้ต่างกัน คือกำหนดว่า คืนหนึ่งมี 3 ยาม ยามหนึ่งมี 4 ชั่วโมง เรียกยามทั้ง 3 ช่วงนี้ตามลำดับว่า

    • ปฐมยาม หรือ ยามแรก  ได้แก่ ช่วงเวลา 18.00 - 22.00 น.
    • ทุติยยาม หรือ ยามสอง  ได้แก่ ช่วงเวลา 22.00 - 02.00 น. 
    • ปัจฉิมยาม หรือ ยามสุดท้าย  ได้แก่ ช่วงเวลา 02.00 - 06.00 น.

    แต่ในวรรณคดีไทยถือว่า คืนหนึ่งมี 4 ยาม ยามหนึ่งมี 3 ชั่วโมง

    • ปฐมยาม หรือ ยามต้น  ได้แก่ ช่วงเวลา 18.00 - 21.00 น.
    • ทุติยยาม หรือ ยาสอง  ได้แก่ ช่วงเวลา 21.00 – 00.00 น. 
    • ตติยยาม หรือ ยามสาม  ได้แก่ ช่วงเวลา 00.00 - 03.00 น. 
    • ปัจฉิมยาม หรือ ยามปลาย  ได้แก่ ช่วงเวลา 03.00 - 06.00 น.

    .
    .
    .

    กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้ส่งอธิบายไว้ในจดหมายเกี่ยวกับการนับเวลาในอดีตดังนี้...

    วันหนึ่งแบ่งเป็น 2 ภาค เป็นกลางวันครึ่งหนึ่งกลางคืนครึ่งหนึ่ง 

    วันกับคืนนั้นแบ่งเป็น 8 ยาม คือ กลางวัน 4 ยาม กลางคืน 4 ยาม

    ยามหนึ่งเป็น 3 ชั่วโมง กลางวันเรียกว่าโมง กลางคืนเรียกว่าทุ่ม ข้อนี้กรมพระยาเทวะวงศ์ทรงสันนิษฐานว่า กลางวันเขาตีด้วยฆ้อง กลางคืนเขาตีด้วยกลอง

    • โมง  =  10 บาท (6 นาทีปัจจุบัน) 
    • บาท  =  4 นาฑี  (1.30 นาทีปัจจุบัน)
    • นาฑี  =  15 เพ็ชชะนาฑี (6 วินาทีปัจจุบัน)
    • เพ็ชชะนาฑี  =  6 ปราณ (1  วินาทีปัจจุบัน)
    • ปราณ  =  10 อักษร (0.1 วินาทีปัจจุบัน)
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×