ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #235 : ธาตุเจ้าเรือน

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 346
      15
      2 ก.ค. 62

    ทฤษฎีการแพทย์แผนไทยเชื่อว่า ชีวิตคือขันธ์ 5 ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ


    รูป หมายถึงสิ่งที่เป็นรูปธรรม ซึ่งในพระไตรปิฎกได้อธิบายไว้ว่า มีมหาภูตรูป 4 อย่างได้แก่
    .
    .
    .
    ปฐวี (ดิน)
    วัยวะในร่างกายเราที่มีลักษณะแข็ง ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังพืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า


    อาโป (น้ำ) 
    ส่วนที่เอิบอาบ ไหลได้ ได้แก่ ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร


    วาโย (ลม) 
    ลมหายใจ


    เตโช (ไฟ)
    ความร้อน ความอุ่น
    .
    .
    .
    ในคัมภีร์ปฐมจินดากล่าวไว้ว่า เมื่อตั้งครรภ์ในฤดูอันใด ธาตุอันใด ให้เอาธาตุของฤดูนั้นเป็นที่ตั้งแห่งธาตุกำเนิด เช่น

    ท้องในเดือน 5 (เมษายน) (พฤษภาคม) (มิถุนายน) เป็นลักษณะแห่งไฟ
    ท้องในเดือน 8 (กรกฎาคม(สิงหาคม10 (กันยายนเป็นลักษณะแห่งลม
    ท้องในเดือน 11 (ตุลาคม12 (พฤศจิกายน(ธันวาคมเป็นลักษณะแห่งน้ำ
    ท้องในเดือน 2 (มกราคม(กุมภาพันธ์(มีนาคมเป็นลักษณะแห่งดิน

    แต่คนส่วนใหญ่จำได้เพียงแต่วันเกิด จึงนำอายุการตั้งครรภ์มาพิจารณาแล้วประมาณการได้ว่า

    ผู้ที่เกิดเดือน 5 (เมษายน) (พฤษภาคม) (มิถุนายน) มีธาตุลมเป็นเจ้าเรือน
    ผู้ที่เกิดเดือน (กรกฎาคม) (สิงหาคม) 10 (กันยายน) มีธาตุน้ำเป็นเจ้าเรือน
    ผู้ที่เกิดเดือน 11 (ตุลาคม) 12 (พฤศจิกายน) (ธันวาคม) มีธาตุดินเป็นเจ้าเรือน
    ผู้ที่เกิดเดือน (มกราคม) (กุมภาพันธ์) (มีนาคม) มีธาตุไเป็นเจ้าเรือน
    .
    .
    .
    แต่ล่ะธาตุก็มีบุคลิก ดังนี้

    ธาตุดิน
    มีรูปร่างสูงใหญ่ ผิวค่อนข้างคล้ำ ผมดกดำ เสียงดังฟังชัด ข้อกระดูกแข็งแรง กระดูกใหญ่ น้ำหนักตัวมาก ล่ำสัน อวัยวะสมบูรณ์


    ธาตุน้ำ
    มีรูปร่างสมบูรณ์ อวัยวะสมบูรณ์ สมส่วน ผิวพรรณสดใสเต่งตึง ตาหวาน น้ำในตามาก ท่าทางเดินมั่นคง ผมดกดำงาม กินช้า ทำอะไรชักช้า ทนหิว ทนร้อน ทนเย็นได้ดีเสียงโปร่ง มีลูกดกหรือมีความรู้สึกทางเพศดีแต่มักเฉื่อยและค่อนข้างเกียจคร้าน


    ธาตุลม
    มีผิวหนังหยาบแห้ง รูปร่างโปร่ง ผอม ผมบาง ข้อกระดูกลั่นเมื่อเคลื่อนไหว ขี้อิจฉา ขี้ขลาด รักง่ายหน่ายเร็ว ทนหนาวไม่ค่อยได้ นอนไม่คอยหลับ ช่างพูด เสียงต่ำ ออกเสียงไม่ชัด มีลูกไม่ดก คือความรู้สึกทางเพศไม่ค่อยดี


    ธาตุไ
    มักขี้ร้อน ทนร้อนไม่ค่อยได้ หิวบ่อย กินเก่ง ผมหงอกเร็ว มักหัวล้าน หนังย่น ผม ขนหนวด ค่อนข้างนิ่ม ไม่ค่อยอดทน ใจร้อน ข้อกระดูกหลวม มีกลิ่นปาก กลิ่นตัวแรง ความต้องการทางเพศปานกลาง
    .
    .
    .
    ที่อยู่อาศัย หรือสภาพแวดล้อม เรียกว่า “ประเทศสมุฏฐาน” ย่อมมีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่และสุขภาพ ได้แก่

    ประเทศร้อน สถานที่ที่เป็นภูเขาสูง เนินผา มักเจ็บป่วยด้วยธาตุไฟ

    ประเทศเย็น : สถานที่ที่เป็นน้ำฝน โคลนตม มีฝนตกชุก มักเจ็บป่วยด้วยธาตุลม 

    ประเทศอุ่น : สถานที่ที่เป็นน้ำฝนกรวดทราย เป็นที่เก็บน้ำไม่อยู่ มักเจ็บป่วยด้วยธาตุน้ำ

    ประเทศหนาว : สถานที่ที่เป็นน้ำเค็ม มีโคลนตมชื้นแฉะ มักเจ็บป่วยด้วยธาตุดิน
    .
    .
    .
    การวินิจฉัยด้วยธาตุเจ้าเรือน จะสามารถบอกถึงสภาวะสุขภาพของผู้ป่วย โดยยึดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับตัวสุขภาพ หรือตัวควบคุมธาตุทั้งสี่ ได้แก่

    ธาตุดิน มีสิ่งสำคัญในการควบคุมอยู่ 3 อย่าง คือ

    1. หทัยวัตถุ : ควบคุมความสมบูรณ์ของหัวใจ บางตำรากล่าวว่าหทัยวัตถุเป็นที่ตั้งของจิต
    2. อุทริยะ : อาหารที่ทานเข้าไปใหม่ๆ
    3. กรีสัง กากอาหารในลำไส้ใหญ่ (อุนจิ)


    ธาตุน้ำ มีสิ่งสำคัญในการควบคุมอยู่ 3 อย่าง คือ

    1. ศอเสมหะ : ควบคุมน้ำบริเวณคอ
    2. อุระเสมหะ : ควบคุมน้ำบริเวณอก จากคอมาถึงบริเวณลิ้นปี่ เหนือสะดือ 
    3. คูถเสมหะ : ควบคุมน้ำช่วงล่างจากสะดือลงไป


    ธาตุลม มีสิ่งสำคัญในการควบคุมอยู่ 3 อย่าง คือ

    1. หทัยวาตะ : ลมที่ควบคุมอารมณ์ จิตใจ
    2. สัตถกะวาตะ ลมที่คมเหมือนอาวุธ จะมีอาการเจ็บปวดลึกๆ เหมือนดังอาวุธเสียบแทง
    3. สุมนาวาตะ ลมที่ควบคุมพลังที่อยู่เส้นกลางลำตัวตามแนวดิ่ง


    ธาตุไ มีสิ่งสำคัญในการควบคุมอยู่ 3 อย่าง คือ

    1. พัทธปิตตะ : ดีในฝัก การทำงานของน้ำดี
    2. อพัทธะปิตตะ : ดีนอกฝัก การทำงานของน้ำดีในลำไส้ 
    3. กำเดา : องค์แห่งความร้อน ศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
    .
    .
    .
    ธาตุดิน ควรรับประทานอาหารรสฝาด หวาน มัน เค็ม
    สมุนไพรที่ควรทาน : มังคุด ฝรั่ง เผือก เงาะ กล้วยน้ำว้า มะละกอสุก ถั่วต่างๆ หัวมันเทศ กล้วยดิบ บวบ ผักโขม กะหล่ำปลี หัวปลี ใบบัวบก


    ธาตุน้ำ ควรรับประทานอาหารรสเปรี้ยว รสขม
    สมุนไพรที่ควรทาน : มะกรูด มะนาว ส้มเขียวหวาน ส้มโอ สับปะรด มะเขือเทศ มะยม มะกอก มะดัน มะระ ใบยอ ยอดมะขาม มะอึก ขี้เหล็ก

    ธาตุลม ควรรับประทานอาหารรสเผ็ดร้อน
    สมุนไพรที่ควรทาน : ขิง ข่า ตะไคร้ กระชาย พริกไทย ยี่หร่า สะระแหน่ ขมิ้นชัน กานพลู ดีปลี

    ธาตุไฟ ควรรับประทานอาหารรสขม เย็น จืด
    สมุนไพรที่ควรทาน : แตงโม มันแกว พุทรา แอปเปิ้ล ตำลึง เตยหอม มะระ สายบัว หม่อน ผักบุ้ง ผักกาดจีน
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×