ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #169 : สกา กีฬาที่ไม่ใช่เร๊กเก้

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.04K
      19
      2 ก.ค. 62


    สกาที่เมืองสยามเรียกขานกัน ถือว่าอิมพอร์ตมาจาก "บอร์ดเกม" ยุคมหาภารตะเชียวนา

    เกมพนันชนิดหนึ่งของอินเดียที่ปรากฏในมหาภารตะเอย พระนลคำหลวงเอย เรียกว่า ทยุตกรีฑา (Dyutakrida) หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า ทยุต (Dyuta) อันหมายถึง การพนันนั่นเอง


    นอกจากนั้นเกมพนันที่ใช้ลูกเต๋าทอยนั้นยังมีชื่อเรียกอีกว่า ปาศกรีฑา (Pashakrida) อันสื่อถึงเกมทอย [ลูกเต๋า หรือ ปราสก (Prasaka)]


    แล้วชื่อ ปราสก (ปรา – สะ – กะ) ที่หมายถึงลูกเต๋านี้ ก็น่าจะเป็นที่มาของเกมกระดานที่ไทยที่กร่อนเสียงมาเรียกว่า “สกา” นั่นกระมัง


    บอร์ดเกมทยุตกรีฑานั้นกล่าวกันว่า ลอร์ดศิวะ (Shiva) เป็นผู้คิดค้นขึ้นมาเพื่อใช้เล่นร่วมกับพระแม่ปารวตี (Parvati)


    โดยมีตำนานเล่าว่าถูกนำมาใช้เล่นครั้งแรกในการติกมาส ศุกลปักษ์ ประติปทา (Kartika Masam Shukla Paksha Pratipada) หรือ วันขึ้น 1 ค่ำ เดือนการติก (Kartik


    แรกๆ ก็เล่นกันอย่างปกตินั่นแหละ แต่หลังๆ เจ๊แกเริ่มเล่นตุกติกนิดหน่อยจนทำให้บิ๊กบอสแพ้ติดต่อกันหลายครั้ง จนศิวะต้องไปขอคำปรึกษากับเพื่อนวิษณุ (Vishnu)



    วิษณุจึงบอกไปว่า โห้ย เฮีย ปารวตีก็เล่นตุกติกนิดหน่อย เพื่อความสนุกสนานแหละน่า


    ดังนั้นบิ๊กบอสจึงพูดว่า การพนันนั้นมีสองด้าน ด้านหนึ่งจะนำมาซึ่งความมั่งคั่ง และอีกด้านหนึ่งจะนำความฉิบหายแก่ผู้เล่น (การพนันไม่เคยทำให้ใครร่ำรวย... ยกเว้นเจ้ามือ)


    ตำนานบอร์ดเกมข้างต้น ต่อมาได้ถูกพัฒนาเป็นเกมที่มีชื่อว่า เจาสร (Chausar) กับ ปจีสี (Pachisi) แล้วก็ยังถูกพัฒนาต่อไปอีกมากมาย เช่น ลยุโฑ (Lyudo), หลูคา (Haluga), บันไดงู หรือ สาป ศิฑี (Sapa shidi) และอีกมากมายกว่า 25 เกม (ตามข้อมูลที่ลองเคยค้นดู)


    เกมปจีสี แปลว่า "เกม 25" โดยจะแบ่งตารางช่องเดินเบี้ยออกเป็น 24 ช่องต่อหนึ่ง Player โดยมีช่องเดินเบี้ยตรงกลางช่องเดียว (ช่องเดินที่ 25) โดยมีวิธีการเล่นคล้ายกับเกมเศรษฐี



    กติกาการละเล่นนี้ง่ายมาก สามารถเล่นแบบ Multiplayer ผลัดกันทอยลูกเต๋าให้ได้แต้ม และเริ่มเดินจากจุดสตาร์ท 


    Player ฝั่งใดเดินถึงช่องที่ 25 ก่อนถือว่าเป็นศกุนิ ถุ้ยยยย!! ฝ่ายชนะ สามารถเล่นเป็นทีมได้


    การเล่นนั้นมี 4 แบบ คือ
    - เดินในตารางฝั่งตนเอง ใครถึงช่องที่ 25 ก่อนชนะ 
    - เดินรอบตาราง ใครถึงช่องที่ 25 ก่อนชนะ 
    - เดินในตารางฝั่งตนเอง ทีมใครถึงช่องที่ 25 ก่อนชนะ 
    - เดินรอบตาราง ทีมใครถึงช่องเดินที่ 25 ก่อนชนะ
    .
    .
    .
    สกานั้นเป็นกีฬาระดับเทวดาและกษัตริย์ การประลองฝีมือที่ซับซ้อนและลึกซึ้ง ดั่งโบราณว่า 

    "เล่นสกาไม่ต่างจากฝึกฝนแก้ปัญหาชีวิต"


    และกติกาสกาของเมืองสยามบ้านเรานั้น ก็แตกต่างจากเมืองภารตะอย่างสิ้นเชิง


    กติกาการแข่งขันสกา ของสมาคมกีฬาไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ 2540 มีดังนี้


    1. กำหนดให้มีตัวสกาฝ่ายละ 15 ตัว Player จะต้องคว่ำไว้ที่จุ่มมุมขวาสุด (จุ่มที่ 12) 1 ตัว เรียกว่า “ตัวเกิด” หรือ “เจ้าเมือง” ตั้งแต่จุ่มที่ 7 ถึง 12 เรียกว่า “เมือง” Player จะต้องวางตัวสกาที่เหลือไว้ในที่ใส่ตัวสกา (หูช้าง)

    2. ลูกบาศก์ที่ใช้ในการแข่งขัน คือ ลูกเต๋า มีจำนวนชุดละ 2 ลูก Player อาจขอเปลี่ยนลูกบาศก์ใหม่ก็ได้ เมื่อแข่งขันดำเนินไปแล้วครึ่งหนึ่ง 

    3. ให้ Player ทอดลูกบาศก์ลงในโก้งโค้ง (โกร่ง) ห้ามใช้มือทอดเด็ดขาด! เมื่อทอดลูกบาศก์ลงไปตั้งบนกระดานสกาทั้ง 2 ลูกแล้วถือว่าใช้ได้ 

    4. Player จะทอดลูกบาศก์ได้ก็ต่อเมื่อคู่แข่งขันเดินแต้มเรียบร้อยแล้ว และอย่าหยิบลูกบาศก์ก่อนที่คู่แข่งขันจะได้เดินแต้มเรียบร้อยแล้ว 

    5. ให้เดินตัวสกาตามหน้าบาศก์ที่ทอดไว้ โดยจะเกิดตัวใดก่อนหรือหลังก็ได้ หรือจะเดินต่อเดียวตลอดก็ได้ แต่ต้องเดินโดยย่างตามหน้าบาศก์แต่ละครั้ง และจะย่างซ้ำจุ่มที่มีตัวสกาของอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ 

    ถ้า Player ทอดหน้าบาศก์ได้คู่ มีสิทธิ์เดินได้ 4 ครั้ง และได้ทอดต่อไปอีก 
    ถ้าทอดได้คู่อีกก็มีสิทธิ์เดินอีก 4 ครั้งเป็นเช่นนี้เรื่อย ๆ ไป 

    การเดินก็ต้องย่างตามหน้าบาศก์ จะย่างซ้ำจุ่มที่มีตัวสกาของอืกฝ่ายหนึ่งไม่ได้

    6. ถ้า Player ทอดบาศก์แล้วเดินไม่ได้ ก็ถือว่าไม่ต้องเดินเฉพาะตามหน้าบาศก์ที่เดินไม่ได้ แต่ถ้ามีตัวที่จะเดินได้แล้ว จะต้องเดินให้ครบถ้วนตามหน้าบาศก์เสมอไป

    7. เมื่อ Player จับตัวสกาออกจากจุ่มแล้วต้องเดินตัวนั้น และเมื่อวางจุ่มใดแล้วต้องอยู่กับที่ จะย้ายอีกไม่ได้ การจับตัวเดินให้จับครั้งละ 1 ตัว และแต่ละครั้งที่เดินจะต้องย่างตามหน้าบาศก์

    8. ในกรณีที่คู่แข่งขันหรือกรรมการจะเตือนให้เดินให้ครบแต้ม เรียกว่า “จูง” แต่ถ้าหากไม่มีผู้ใดเห็นและจูงจนกระทั่งได้ทอดหน้าบาศก์ครั้งต่อไปแล้วก็ให้ถือว่าผ่านไป จะจูงหรือคัดค้านภายหลังไม่ได้

    9. คู่แข่งขันหรือกรรมการจะจูงให้เดินให้ถูกต้องตามหน้าบาศก์ การจูงนั้นให้ถือหลักว่า จะต้องจูงหน้าบาศก์ใหญ่ (หน้าบาศก์แต้มสูง) ก่อนเสมอไป ถ้า Player เดินตัวแรกต่ำกว่าหน้าบาศก์ที่ทอดได้ทั้ง 2 ลูก จูงไม่ได้ ต้องเตือนให้เดินให้ถูกต้องตามหน้าบาศก์ ถ้าตัวแรกเดินถูกต้องแล้ว แต่เดินตัวหลังผิด จะจูงได้เฉพาะตัวหลัง และถ้าจูงไม่ได้ ก็ให้ถอยกลับและเดินตัวอื่นได้

    10. ถ้า Player ทอดบาศก์และเดินตัวเดียวตลอดและไม่ถูกต้อง ให้คู่แข่งหรือกรรมการ “จูง” ให้เดินตัวนั้นให้ครบแต้ม ถ้าเดินไม่ได้จึงจะให้เดินตัวอื่นได้

    11. Player ต้องลงตัวสกาให้หมดเสียก่อนจึงจะทำการเกิดได้ และจะต้องพลิก “ตัวเกิด” ให้หงายขึ้นเป็นหลักฐานว่าให้เกิดแล้ว

    12. ถ้า Player เกิดแล้วมิได้พลิก “ตัวเกิด” ให้หงายขึ้นจนกระทั่งฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทอดบาศก์แล้ว จะมาพลิกหงายไม่ได้ กรณีนี้ Player จะต้องเกิดใหม่ หากชนะจะไม่ได้คะแนน แต่ถ้าแพ้จะต้องเสียคะแนนตามปกติ


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×