ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #136 : เมดเล่ย์โคลงสุภาษิต ในรัชกาลที่ ๕

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.76K
      14
      2 ก.ค. 62

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 นับได้ว่าเป็นกวีที่มีความชำนาญในการแต่ง "โคลง" เป็นอย่างมาก โคลงของพระองค์นอกจากจะไพเราะแล้ว ยังสอดแทรกแง่คิดคติเตือนใจผู้อ่านและอนุชนรุ่นหลังให้ปฏิบัติตามมาอย่างมากมายอีกด้วย


    เมื่อครั้นงานพระราชทานเพลิงศพ พระองค์เจ้าประภาพรรณพิไลย ปี 2493 ได้มีการจัดพิมพ์หนังสือ ประชุมโคลงสุภาษิตพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5 และพระบรมราชาธิบายเรื่องสามัคคี ซึ่งเป็นเสมือนเมดเล่ย์ที่รวบรวมคำสอนของรัชกาลที่ ๕ ที่ทรงพระราชนิพนธ์เป็นโคลงไว้ต่างที่ ต่างเวลา ต่างโอกาส จำนวน 10 บท ดังนี้


    1. โคลงสุภาษิตบางปะอิน : เมื่อคราวเสด็จประพาสไปที่พระราชวังบางอินเมื่อปี 2420 ได้ชวนให้เหล่าเจ้านายแต่งโคลงอธิบายความหมายตามกระทู้ที่ทรงคิด โดยจะทรงพระราชนิพนธ์ด้วย 

    เมื่อแต่งเสร็จก็ให้นำมาอ่านถวายในเวลาเสด็จออกทุกๆวัน 

    กระทู้ที่ทรงคิดมีดังนี้ ความรัก, ความเกลียดชัง, ความงาม, ความเบื่อหน่าย, ความเย่อหยิ่ง, ความอาลัย, ความริษยา, ความพยาบาท, ความอาย, ความขลาด, ความกล้า, ความเกียจคร้าน , ความเพียร, ยุติธรรม, ความโทมนัส, ความโสมนัส, ความคด, ความซื่อ ,ความโกรธ


    2. โคลงกระทู้สุภาษิต : ทรงพระนิพนธ์เมื่อคราวเสด็จประพาสไปที่บางปะอินเมื่อปี 2420 เป็นโคลงกระทู้ทั้งหมด 10 บท (เดี่ยว 9 บท + คู่ 1 บท) ดังนี้
         - รู้ รัก จัก ดี
         - เห็น งาม ตาม ใจ          
         - เห็น งาม ตาม ใจ (2)
         - หยิ่ง ไป ใคร ชม
         - อาลัย ใจห่วง ยิ่งหน่วง
         - รู้ อาย วาย ทุกข์
         - รู้ ขลาด ขาด ผิด 
         - รู้ กล้า พา ชอบ
         - เกียจ คร้าน พาล เสีย
         - เพียร ดี มี ผล


    3. โคลงสุภาษิตเบ็ดเตล็ด : รัชกาลที่ 5 ไม่ว่าจะเสด็จประพาสไปยังสถานที่ไหนๆ ก็จะทรงพระราชนิพนธ์โคลงสั่งสอนตามพระราชทานให้ตามแต่โอกาส

              3.1. โคลงชมถิ่นเกาะสีชัง ,สัตหีบ, ทุ้งกระเบน 

              3.2. โคลงพระราชทานแก่ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา

    ความรู้คู่เปรียบด้วย     กำลัง  กายเฮย 
    สุจริตคือเกราะบัง         ศาสตร์พ้อง
    ปัญญาประดุจดัง          อาวุธ
    กุมสติต่างโล่ป้อง          อาจแกล้วกลางสนาม


              3.3. โคลงพระราชแก่ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (โคลงชมเรือยอดไชยา)
              

    4. โคลงสุภาษิตสอนผู้เป็นข้าราชการ : เป็นตอนหนึ่งในลิลิตนิทราชาคริตเพื่อเป็นของขวัญในวันปีใหม่ เมื่อปีเถาะ พ.ศ.2422 เป็นตอนนางจอบแก้วได้สั่งสอนอาบูหะซันถึงหลักการปฏิบัติตัวเป็นข้าราชการที่ดีให้สมกับเป็นข้าแผ่นดินขององค์พระมหากษัตริย์


    5. โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์ : เอามาจากสุภาษิตฝรั่ง แปลว่า องค์สาม 16 ข้อ ดังนี้

    สามสิ่งควรรัก 
    : ความกล้า , ความสุภาพ , ความรัก 

    สามสิ่งควรชม 
    : อำนาจทางปัญญา เกียรติยศ มีมารยาทดี 

    สามสิ่งควรเกลียด 
    : โหดร้าย , ความหยิ่ง , อกตัญญู

    สามสิ่งควรติเตียน 
    : ชั่วช้าเลวทราม , มารยา , ริษยา 

    สามสิ่งควรเคารพ 
    : ศาสนา , ความยุติธรรม , การทำตัวให้เป็นประโยชน์

    สามสิ่งควรยินดี 
    : ความงาม , ความซื่อตรง , อิสระ

    สามสิ่งควรปรารถนา 
    : สุขภาพ , เพื่อน , มีจิตใจสำราญ

    สามสิ่งควรอ้อนวอนขอ 
    : ศรัทธา , ความสงบ , จิตใจที่บริสุทธิ์

    สามสิ่งควรนับถือ 
    : ปัญญา , ความรอบคอบ , ความมั่งคง

    สามสิ่งควรจะชอบ 
    : ความจริงจัง , อารมณ์ดี , สนุกสนาน 

    สามสิ่งควรสงสัย 
    : คำเยินยอ , เสแสร้ง , ความรักแบบฉับพลัน

    สามสิ่งควรละ 
    : ความขี้เกียจ , การพูดมาก , คำหยาบโลน 

    สามสิ่งควรทำให้มี 
    : หนังสือดี , เพื่อนดี , อารมณ์ดี 

    สามสิ่งควรหวงแหน 
    : ชื่อเสียง , บ้านเมือง , เพื่อน 

    สามสิ่งควรควบคุม 
    : อารมณ์ , ความมักง่าย , วาจา 

    สามสิ่งควรเตรียมเผื่อ 
    : ความเปลี่ยนแปลง , ชรา , ความตาย 


    6. โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ : เอามาจากสุภาษิตฝรั่ง อันแปลว่า ประพฤติแล้วจะไม่เสียใจ ดังนี้
    ๑. ทำความดี
    .ไม่พูดร้ายต่อใคร
    ๓. ฟังความก่อนตัดสิน
    ๔. คิดก่อนพูด
    ๕. ไม่พูดเวลาโกรธ
    ๖. กรุณาต่อผู้อื่น
    ๗. ขอโทษทุกครั้งที่ทำผิด
    ๘. มีความอดกลั้น
    ๙. ไม่ฟังคำนินทา
    ๑o. ไม่หลงเชื่อข่าวร้ายๆ


    7. โคลงว่าด้วยความสุข : พระราชนิพนธ์เมื่อปี 2431 โดยให้พิมพ์เป็นส่วนหนึ่งใน พิพิธพากย์สุภาษิต ซึ่งเป็นตอนหนึ่งในหนังสือวชิรญาณ กล่าวถึงเรื่องของความสุข


    8. โคลงวชิรญาณสุภาษิต : เมื่อปี 2432 โปรดให้จัดงานฉลองหอพระสมุดวชิรญาณ จึงกำหนดให้วันบรมราชาภิเศกของรัชกาลที่ 4 เป็นวันฉลอง แล้วโปรดให้สมาชิกหอพระสมุดช่วยกันแต่งสุภาษิตรวบรวมเป็นหนังสือ วชิรญาณสุภาษิต พระราชทานในงานฉลอง


    9. โคลงพระปรารภความสุขทุกข์ ร.ศ.112 : เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 รัชกาลที่ 5 ทรงโทมนัสเป็นอย่างมากจนถึงขนาดแต่งโคลงว่าด้วยความสุขทุกข์ของคน [รายละเอียดสามารถดูเพิ่มได้ที่ตอนที่ 57 : “ขัตติยพันธกรณี” ความระทมของรัชกาลที่ 5]


    10. โคลงสุภาษิตพิพิธธรรม : เป็นโคลงที่พระราชนิพนธ์ไว้ 40 บท ตามเนื้อหาดังนี้ 

    ความสุภาพ, ความรู้, ความฉลาด, ปัญญา, สติ, ความสงสัย, ความฟุ้งซ่าน, ความเลือกเฟ้น, ตระหนี่, นินทา, สรรเสริญ, ความเสือกสน, อลัชชี, ศรัทธา, หน้าด้าน, ทิฐิ, ความดุ, ความกรุณา, ความตื่น, เล่น, วาจาร้าย, ผู้ดี, ความทะเยอทะยาน, ความประมาณตัว, ความเกิด, ตัณหา, แม่นยำ, ยอ, ประจบ, หนักแน่น, ความสำรวย, ความละเลิง, เซอะเซิง, ความโสมม, ความสะอาด, ความระลึก, มายา, ยั้งใจ และ สามัคคี
    .
    .
    .
    .
    .
    นอกจากนี้ยังพบ อิศปปกรณำ ซึ่งเป็นเรื่องที่รัชกาลที่ 5 ร่วมกับ กรมหลวงพิชิตปรีชากร พระยาศรีสุนทรโวหาร และพระราชสัมภารากร ช่วยกันแปลนิทานอีสปเป็นภาษาไทย พร้อมแต่งเป็นโคลงสุภาษิตกำกับอยู่ตอนจบ มีอยู่ด้วย 24 เรื่องดังนี้

    1. ราชสีห์กับหนู (The Lion and the Mouse)
    2. บิดากับบุตรทั้งหลาย (The Old Man and his Sons)      
    3. สุนัขป่ากับลูกแกะ (The Wolf and the Lamb)      
    4. ค้างคาวกับวีเซล (The Bat and The Weasels)
    5. ลากับตั๊กแตน (The Donkey and The Grasshopper)
    6. สุนัขป่ากับนกกระเรียน (The Wolf and the Crane)
    7. คนเผาถ่านกับช่างฟอก (The Charcoal-Burner And The Fuller)
    8. เด็กจับตัวเพลี้ย (The Boy Hunting Locusts)
    9. ไก่กับพลอย (The Cock and the Jewel)
    10. มดกับตั๊กแตน (The Ant and the Grasshopper)
    11. พระราชอาณาจักรแห่งราชสีห์ (The Kingdom of The Lion)
    12. นายประมงเป่าขลุ่ย (The Fisherman and his Flute)
    13. กระต่ายกับเต่า (The Rabbit and The Turtle)
    14. คนเดินทางกับสุนัขที่เลี้ยง (The Traveler and His Dog)
    15. เฮอร์คิวเลศกับคนขับเกวียน (Hercules and the Wagoner)
    16. สุนัขกับเงา (The Dog and The Shadow)
    17. ลูกตุ่นกับแม่ตุ่น (The Mole and His Mother)
    18. นกแซงแซวกับกา (The Bird-catcher and the Blackbird)
    19. ชาวนากับงู (The Farmer and the Viper)
    20. นายโคบาลกับโคที่หายไป (The Herdsman and The Lost Bull)
    21. ชาวไร่กับนกดอกบัว (The Farmer and the Stork)
    22. ลูกเนื้อกับแม่เนื้อ (The Fawn and His Mother)
    23. ต้นทับทิม ต้นแอ็ปเปิ้ล กับต้นแบรมเบล (The Pomegranate, Apple Tree & Bramble)
    24. ภูเขาเจ็บท้อง (The Mountain in Labour)


    * หมายเหตุ - ภาษิตทั้งหมดนี้ กรมวิชาการได้ทำการรวบรวมและจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มชื่อว่า ประชุมโคลงสุภาษิตในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×