ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #125 : รามเกียรติ์ in เวอร์ชั่น : อยุธยา

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 919
      16
      2 ก.ค. 62

    รามายณะเริ่มเข้าสู่สยามเมื่อใดยังไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด แต่มันได้หยั่งรากลึกเข้าสู่สังคมไทยมานานนับหลายสหัสวรรษ ซึ่งต่อมา พี่ไทยเราได้นำมาฟิคขึ้นมาใหม่ตามร้องกรองแบบไทย


    ซึ่งทุกคนเรารู้จักแต่ฉบับพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 1 แต่ความจริงแล้ว... 
    มันมีหลายฉบับที่ผ่านกาลเวลามามากมายเหลือเกิน!!


    วันนี้ เราจะไปทำความรู้จักกับรามเกียรติ์เวอร์ชั่นต่างๆ ในสมัยอยุธยา (ซึ่งอาจจะนับได้ว่าเก่าแก่ที่สุดในสยามประเทศจะรู้จักรามเกียรติ์เลยก็ว่าได้)


    1. บทละครรามเกียรติ์ ฉบับอยุธยา

    มีความแตกต่างกับฉบับที่เราคุ้นเคยอยู่มาก เริ่มเรื่องตั้งแต่เมื่อ ลอร์ดรามได้เมืองขีดขิน สุครีพให้องคตไปตามหนุมานมาเข้าเฝ้า พี่เผือกขอให้รามช่วยแก้คำสาปพระแม่อุมา จากนั้น สุครีพ องคตและพี่เผือกไปเจรจากับเมืองชมพู พญาชมพูไม่ยอม พี่เผือกจำต้องลอบอุ้มมาตอนกลางคืน 

    ระหว่างทาง พี่เผือกได้สังหารอสูรฤทธิกัน แล้วนำตัวพญาชมพูมาเฝ้าพระราม พญาชมพูยอมสวามิภักดิ์พร้อมมอบลูกชายชื่อ นิลนนท์ พากองทัพมาช่วยสมทบอีกแรง

    จากนั้นก็เป็นการผจญภัยของสามลิง (พี่เผือก องคต ชมพูพาน) องคตฆ่าอสูรที่อยู่ในสระน้ำ และช่วยพญานกสัมพาที สัมพาทีจึงพาพี่เผือกไปยังกรุงลงกา แต่เฮียดันเลยไปยังเกาะที่นางบุษมาลีอยู่ เผือกจึงได้ซั่มนางและส่งนางกลับสวรรค์ ก่อนจะเจอฤษีนารท และเรื่องราวที่เรารู้ๆกันก็ดำเนินมาตั้งแต่ถวายแหวน เผาลงกาจนมาถึงตอนองคตส่งสาส์น

    ตอนท้ายมีข้อความว่า 
    "นายฉายโศรฐเขียนจบในเดือนเจดไม่หมดเเสดรื่องราวรามมะเกรียร" อาจเป็นไปได้ว่าใช้เพื่อแสดงละครในคณะของตน


    2. รามเกียรติ์คำฉันท์

    เรื่องรามเกียรติ์ฉบับนี้ถูกกล่าวถึงไว้ในหนังสือจินดามณีของพระโหราธิบดี คาดว่าน่าจะเอามาจากบทพากย์เก่าที่เอาไว้สำหรับเล่นโขน ซึ่งเหลือเพียงที่นำมาเป็นตัวอย่างในหนังสือจินดามณีแค่ 4 บทเท่านั้น ได้แก่ 

    - บทพระอินทร์ให้พระมาตุลีนำรถมาถวายพระราม 
    - บทพระรามพระลักษมณ์คร่ำครวญติดตามนางสีดา 
    - บทพรรณนาถึงมหาบาศลูกทศกัณฐ์ 
    - บทพิเภกครวญถึงทศกัณฐ์


    3. นิราศสีดา (ราชาพิลาปคำฉันท์)

    เป็นการแสดงความคร่ำครวญของพระรามที่มีต่อนางสีดา เริ่มเรื่องตั้งแต่ รามพระลักษณ์ออกตามหานางสีดาจนถึงลำธารแห่งหนึ่ง พบนกยูงและนกยางกำลังตำหนิพระราม

    ลอร์ดรามเตรียมจะสังหารนกทั้งสอง แต่นกทูลให้พระรามคลายความโกรธลง พลางทูลว่าทศกัณฐ์เป็นผู้ลักนางไปและให้พระรามเดินทางต่อไปจะพบลิงดำ 

    เมื่อรามลักษณ์พบลิงดำ ลิงถวายผ้าสไบที่นางสีดาฝากไว้และบอกทางให้เดินทางไปจนได้พบยักษ์กุมพล พระลักษณ์ใช้ตรีสังหารยักษ์กุมพล ต่อมาทั้งสองพบนกสดายุซึ่งคาบธำมรงค์ไว้รอถวายพระราม เมื่อเล่าเรื่องจบแล้วสดายุก็สิ้นใจ พระรามเสียพระทัยมากจึงจัดการปลงศพโดยแผลงศรเป็นไฟเผาสดายุ จากนั้นก็เดินทางจนได้พบหนุมาน 


    4. โคลงทศรถสอนพระราม
    แต่งโดย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เนื้อเรื่องเป็นคำสอนเกี่ยวกับหลักปฏิบัติอันดีงามเหมาะสมที่พระมหากษัตริย์ควรทรงยึดมั่นและนำมาใช้ในการปกครองอาณาประชาราษฎร์


    5. โคลงพาลีสอนน้อง
    แต่งโดย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เนื้อเรื่องเป็นการสั่งสอนข้อปฏิบัติตนที่จะรับราชการ
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×