ลำดับตอนที่ #1
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : ดินแดนแห่งความตาย
ดินแดนแห่งความตาย
เมื่อเดินทางจากปากทางสู่ยมโลก ก็จะพบแม่น้ำแอคเคอรอน (Acheron) แม่น้ำแห่งความวิปโยคหรือความเจ็บปวด
แม่น้ำสายนี้เป็นสีดำสนิท ไหลไปบรรจบกับแม่น้ำโคไซตัส (Cocytus) หรือ โคซีตุส (Cocetus) แม่น้ำแห่งความกำสรวล
เป็นแม่น้ำที่เกิดจากน้ำตาของผู้ถูกทรมานในนรก จึงมีรสเค็ม (แล้วใครหนอที่กล้าชิมน่ะ)
จุดบรรจบกันของแม่น้ำสองสายนี้มีคนแจวเรือ ชื่อ เครอน หรือ ชารอน (Charon) คอยพาวิญญาณข้ามฟากไปสู่นรก
ด้วยค่าจ้างเที่ยวละ 1 โอโบล (ราว 1 เพ็นนีครึ่ง) วิญญาณดวงใดไม่มีค่าจ้างจ่ายให้ (คือวิญญาณที่ไม่ได้ประกอบพิธีศพ
ญาติไม่ได้ให้ "เงินปากผี" มาด้วย) ก็จะถูกปล่อยให้รออยู่ 100 ปี ชารอนจึงยอมพาข้ามให้ฟรีๆ (งกแฮะ)
นอกจากแม่น้ำสองสายนั้นแล้ว ก็ยังมีแม่น้ำอีก 3 สายในนรก
- แม่น้ำสติกซ์ (Styx) แม่น้ำแห่งความเกลียด เป็นแม่น้ำสาบานของเหล่าทวยเทพ ซึ่งถ้าอ้างคำสาบานต่อ
แม่น้ำสายนี้ แล้วจะผิดคำสาบานไม่ได้ (อันนี้กระผมก็ไม่รู้ว่าเพราะอะไร แต่ขนาดเทพซีอุสเอง ยังต้องยอมปล่อยให้
ชายาองค์หนึ่งที่กำลังตั้งครรภ์ ตายไปต่อหน้าต่อตา เพียงเพราะไม่ต้องการผิดคำสาบานต่อแม่น้ำนี้) และแม่น้ำนี้เอง
ที่นางอัปสรธีทิสเอาลูกๆทั้ง 7 (หนึ่งในนั้น คือ อคิลลิส (Achilles)) จุ่มลงไปเพื่อให้คงกระพันเป็นอมตะ ลูก 6 คนเป็นอมตะหมด
เพราะ ได้รับการจุ่ม 2 ครั้ง ครั้งแรกจับข้อเท้าแล้วจุ่มตัวลงไป ครั้งที่ 2 ก็จับส่วนอื่น เพื่อจุ่มเท้าลงไปแทน จึงเป็นอมตะทั้งตัว
แต่อคิลลิสมีจุด อ่อนตรงข้อเท้าเพราะถูกจุ่มลงไปครั้งเดียว พอจะจุ่มครั้งที่ 2 พ่อกลับมาขัดขวางไว้ (ผัดไว้เล่าคราวหน้าครับ
เดี๋ยวหมดเรื่องไว้หากิน แหะๆ) ในหนังสือ โลกที่เราไม่ได้เลือก ของเสริมศรี เอกชัย กล่าวว่า ชารอนพายเรือพาข้ามแม่น้ำ
สติกซ์นี้ต่างหาก
- แม่น้ำลีธี หรือ เลเธ (Lethe) แม่น้ำแห่งความลืม เมื่อดวงวิญญาณดื่มน้ำในแม่น้ำนี้ ก็จะลืมอดีตทั้งหมด
(บางทีผมก็อยากได้สักอึกหนึ่งเหมือนกันครับ)
- แม่น้ำเฟลจีธอน หรือ เฟลเกทธอน (Phlegethon) เป็นแม่น้ำไฟ ที่มีเปลวไฟลุกท่วมตลอดเวลา
ล้อมรอบนรกขุมที่ลึกที่สุด... ทาร์ทะรัส
วิญญาณที่ข้ามแม่น้ำมาแล้ว ก็จะพบประตูสู่แดนอีเรบุส หรือ เออรีบัส (Erebus) ที่มีเซอร์บีรัส
สุนัข 3 หัว หางมังกร เฝ้าอยู่ มันจะยอมให้เพียงคนตายเท่านั้นที่ผ่านเข้าไป และไม่ยอมให้ย้อนกลับมาเด็ดขาด
(แล้ว คนเป็นๆ 5 คนที่ผ่านไปเจอฮาเดสได้ล่ะ เฮรากลิสใช้กำลังจับเซอร์บีรัสไป กับออร์ฟิอัสดีดพิณ
กล่อมเซอร์บีรัสจนหลับ นี่ยังพอเข้าใจ แต่ไซคี แค่โยนขนมให้กิน ก็ผ่านไปได้แล้ว สุนัขที่ไหนก็ยังคงเป็นสุนัขเนาะ (- -"))
เมื่อผ่านประตูมาก็จะถูกตัดสินบาป จาก 3 ตุลาการแห่งยมโลก ได้แก่ ราดาแมนทิส (Rhadamanthys)
ไมนอส (Minos) และ อีเอคุส (Eacus หรือ อือคัส (Aeacus)) ผู้ทำบาปไว้มากก็จะถูกส่งไปลงโทษ
ส่วนผู้ทำความดี หรือผู้ที่มีเชื้อสายเทพเจ้า (เด็กเส้น (- -")) จะถูกส่งไปที่ทุ่งเอลีเซียน (Elysian) ซึ่งเป็นทุ่งที่มี
ดอกไม้สวยงามบานอยู่ตลอดเวลา หรือเป็นแดนสุขาวดีของกรีก (สวรรค์บนยอดเขาโอลิมปัส สงวนไว้ให้ซีอุส
และ วงศ์วานว่านเครือเท่านั้น)
ในยมโลกแบ่งเป็นหลายแดน มีทั้งแดนกักกัน ที่ขังวิญญาณเพื่อรอลงทัณฑ์ หรือแดนพักฟื้น สำหรับ
วิญญาณ ที่รอไปเกิด แต่วังของฮาเดสไม่มีตำราไหนกล่าวถึงว่าตั้งอยู่ตรงส่วนไหน นอกจากนี้ ฮาเดส ยังถือเป็น
เจ้าแห่งทรัพย์ด้วย เพราะแร่ธาตุมีค่าทั้งหมดใต้ดินก็ถือเป็นของเทพฮาเดส ชาวโรมันจึงเรียกฮาเดสอีกชื่อหนึ่งว่า
ดิส (Dis) แปลว่าทรัพย์
นอกจากตุลาการทั้ง 3 แล้ว ในยมโลกยังมีเทวีทัณฑกร หรือภูตพยาบาทอีก 3 องค์
เรียกว่า อีริเนียส (Erinyes) หรือ ฟิวริส (Furies (ภาษาอังกฤษ), Furiae (ภาษาละติน))
ซึ่งเกิดจากเลือดของยูเรนัส เมื่อครั้งถูกเคียวของโครนัส ฟิวริสทำหน้าที่ลงทัณฑ์วิญญาณบาป
และแม้ กระทั่งคนบาปที่ยังไม่ตายก็อาจถูกตามล่ารังควาญ เพื่อเอาตัวไปลงโทษได้เช่นกัน
มีกันอยู่ 3 นาง พี่น้อง ได้แก่
- อเล็กโต (Alecto) เป็น ผู้ตามล่า
- มีเกร่า (Megaera) เป็น ผู้เคียดแค้น
- ทิซิโฟน (Tisiphone) เป็น ผู้ล้างแค้น
ทั้ง 3 นางมีลักษณะดุร้ายน่ากลัว แต่งกายด้วยผ้าสีดำ หน้าเหมือนสุนัข ลิ้นยาวห้อยร่องแร่งถึงทรวงอก
นัยน์ตากลวงโบ๋กลอกกลิ้งได้ มีงูพิษพันยั้วเยี้ยบนศีรษะ มีปีกเหมือนค้างคาว เล็บงองุ้มเหมือนเหยี่ยว
มือ หนึ่งถือขวาน มือหนึ่งถือคบไฟ
ข้างบัลลังก์ของฮาเดส ยังมีหญิงชราพี่น้อง อีก 3 นาง รวมเรียกว่า โชคชะตา (Fates)
- คนเล็กปั่นฝ้าย หมายถึง การสร้างเส้นชีวิต
- คนกลางฟั่นเป็นเชือก หมายถึง การทำชีวิตให้มั่นคง
- คนโต ตัดเชือกนั้นด้วยกรรไกร หมายถึง ความตาย
http://hot.ohozaa.com/002296-%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99-%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99-%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A2.html
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น