ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สืบแบบเชอร์ล๊อค โฮล์มส์ [Sherlock Holmes]

    ลำดับตอนที่ #3 : SH : เชอร์ล็อค โฮล์มส์ - นักวิทยาศาสตร์

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 800
      1
      4 ธ.ค. 53

    ภาค 1 ทักษะของนักสืบ :

     

    เชอร์ล็อค โฮล์มส์  - นักวิทยาศาสตร์

     

     

     

    เขาไม่ค่อยจะตอบคำถามผม และหมกตัวอยู่กับตัวเองตลอดเย็นวันนั้น

    ง่วนอยู่กับการวิเคราะห์เคมีที่เร้นลับ เห็นมีความร้อนในหลอดแก้ว

    กับกลุ่มไอระเหยที่พุ่งพวยออกมาจากการกลั่น

    ตบท้ายด้วยกลิ่นแรงที่แทบจะขับให้ผมต้องเผ่นออกจากห้อง

     

    (ดร.วัตสัน ใน The Sign of the Four)

     

                    เป็นที่ทราบกันดีว่า เชอร์ล็อค โฮล์มส์ เป็นนักศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์จนได้กลายเป็นเจ้าแห่งการสำรวจเสาะหา ตอนที่หมอวัตสันพบกับเขาใน A Study in Scarlet โฮล์มส์กำลังง่วนอยู่กับการทดลองในห้องแล็บวิทยาศาสตร์เคมี คำพูดประโยคแรกที่เขาโพล่งออกมาหลังจากนิ่งเงียบกับงานคือ ผมค้นพบ ผมได้ค้นพบมันแล้ว โฮล์มส์วิ่งโร่เข้าไปหาหมอวัตสัน พร้อมทั้งถือหลอดแล้วทดลองอยู่ในมือ นักสืบนักสอบสวนหนุ่มร้องด้วยความตื่นเต้นว่า ผมได้พบเอเย่นต์ตัวใหม่ที่ตกตะกอนด้วยเฮโมโกลบินของเลือด ที่มิได้มาจากตัวอื่น เพื่อนสนิทร่วมชั้นเรียนกล่าวว่า โฮล์มส์ออกจะเป็นคนประหลาดที่ค่อนข้างลึกลับ แม้จะมีความกระตือรือร้นในวิชาวิทยาศาสตร์หลายแขนง แต่บอกได้อย่างแน่ ๆ ว่า เขาเป็นนักเคมีที่เก่งมากกว่าอื่นใด โฮล์มส์มิได้เข้าเรียนการแพทย์อย่างเป็นระบบ แต่สิ่งที่เพื่อนร่วมเรียนมิอาจจะล่วงรู้ได้ก็คือ โฮล์มส์มุ่งหน้าที่จะได้มาซึ่งทักษะที่เป็นเอกลักษณ์ สำหรับพาตัวมุ่งไปสู่ความเป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้ชำนาญการทางด้านนิติเวชวิทยาชั้นแนวหน้าของโลก จากคำพูดที่หลุดออกจากปากของเขาเอง เพื่อฆ่าเวลาว่างที่ผมมีอยู่มากมายด้วยการศึกษาวิชา แขนงต่าง ๆ ของวิทยาศาสตร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานให้มากขึ้น ด้วยการนำเอาวิธีการของวิทยาศาสตร์มาใช้กับงานสืบสวนและสอบสวนในฐานะนักสืบและในเวลาต่อมา โฮล์มส์ก็ได้ปรับตัวเข้ายุคสมัยจนกลายเป็นนักสืบคดีอาชญากรรมที่มีประสิทธิผลยอดเยี่ยมที่สุด

     

                    ในแขนงต่าง ๆ ของธรรมชาติวิทยา วิชาเคมีเป็นวิชาที่โฮล์มส์ชอบมากที่สุดเขาใช้เวลาว่าส่วนใหญ่ให้หมดไปกับการทดลองด้านเคมีในอพาร์ตเมนต์ที่ถนนเบเกอร์ และระหว่าง 3 ปีที่ค่อนข้างลึกลับของเขา ตามติดไปถึงตอนที่เขาแกล้งตายหลอกใน The Final Problem เขาใช้เวลาหลายเดือนในฝรั่งเศสวิจัยเกี่ยวกับแหล่งที่มาของถ่านหินยางมะตอย “coal-tar derivatives” ว่าด้วยการแปรรูปของอนุพันธ์ถ่านหิน ที่แตกพันธุ์ออกมาจากของเดิม (ลูกศิษย์โฮล์ม โจเซฟ เดนซ์ได้อธิบายว่า แขนงเคมีที่โฮล์มส์วิจัยอยู่นั้น ล้วนเป็นสิ่งที่ส่งผลเป็นแม่บทของการศึกษาวิชาเคมีที่มีค่ายิ่งในเวลาต่อมา) ต้องเข้าใจกันก่อน ณ จุดนี้ว่า วิชาเคมีในยุคสมัยวิคตอเรีย ยังไม่มีเครื่องมือหรืออุปกรณ์รวมทั้งวิธีการที่ทันสมัยเหมือนทุกวันนี้ แต่วิชาเคมีในยุคสมัยของโฮล์มส์ เป็นที่ยอมรับของนักเคมีสมัยใหม่ ถือว่าเป็นยุคทองของการค้นพบสิ่งใหม่ ๆ ที่เอื้อประโยชน์แก่วิชาเคมีได้มากที่สุดทุกปี สารอนุพันธุ์ธรรมชาติหลายตัวได้ถูกค้นพบนักเคมีไม่ต้องใช้เวลามากมายกับการกำหนดและแยกสายพันธุ์อีกต่อไป

     

                    ยุคของโฮล์มส์ ธรณีวิทยาศาสตร์เป็นวิชาฮิตที่มีคนอยากเรียนมากที่สุด ข้อถกเถียงที่ว่าด้วยอายุของโลก (ซึ่งมิได้มีการกำหนดอย่าแม่นยำถูกต้องชัดเจนจนกระทั่งถึงช่วงกลางของศตวรรษที่ 20) มีการประเมินอายุความเก่าแก่ของโลกให้อยู่ในระหว่าง 100,000 ปีถึงกลายเป็นหลายพันล้านปี นักธรณีวิทยาถูกแบ่งออกเป็นสองพวก พวกแรกเป็นพวกที่เชื่อในเรื่องของความวิบัติหายนะ โดยเชื่อว่าโลกมิได้มีอายุเก่าแก่อย่างที่เราเข้าใจกัน แต่โลกถูกกำหนดโดยปรากฏการณ์วิบัติหายนะหลายครั้ง (ดังที่ระบุเรื่องน้ำท่วมโลกในคัมภีย์ไบเบิล) และพวกยูนิฟอร์มิแทเรียนท์ที่เชื่อว่า โลกกำเนิดมาแต่ดึกดำบรรพ์ มีวิวัฒนาการอย่างเชื่องช้าตามลำดับ และใช้เวลานาน (ซึ่งผสมเข้ากันได้กับทฤษฎีของชาร์ลส์ ดาวิน) แต่เชอร์ล็อค โฮล์มส์ กลับไม่มีความคิดเห็นอะไรเป็นพิเศษเกี่ยวกับเรื่องนี้ หมอวัตสันได้ประเมินเอาไว้ว่า โฮล์มส์เข้าใจเรื่องของธรณีวิทยาอยู่เพียงแต่เขาเชื่อว่าทุกอย่างเป็นไปได้ทั้งนั้นแต่ความเชื่อนี้ต้องอยู่ในขีดจำกัด ที่แน่ ๆ ก็คือหลังจากที่เดินย่ำไปที่ใดมา มองเพียงแวบเดียวก็จะรู้ว่าฝุ่นดินที่ติดขากางเกง จะมีความแตกต่างกัน เขาสามารถบอกได้ว่า สีกับลักษณะของฝุ่นดินมาจากไหน ส่วนไหนของลอนดอน ในความที่เป็นคนหัวรั้น โฮล์มส์จะเทความสนใจให้กับเรื่องเหล่านี้ เพื่อโยงเข้าไปสู่การคลี่คลายคดีฆาตกรรม หรือแม้แต่การขยายผลเจอะลึกเข้าไปสู่พฤติกรรมอันเกิดจากความชั่วช้าของมนุษย์

     

              พฤษศาสตร์เป็นอีกวิชาหนึ่งที่โฮล์มส์มีความชำนาญ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับเหล่าพืชมีพิษ เช่น ฝิ่นกับยาพิษต่าง ๆ เขาไม่รู้อะไรมากเกี่ยวกับวิธีการเพาะปลูกพืชเหล่านี้ แต่หมอวัตสันยืนยันว่า โฮล์มส์ให้ความสนใจ และเวลาสอบสวนคดีต่าง ๆ เขามักจะเจาะลึกเข้าไปถึงเหยื่อฆาตกรรมที่อาจจะตายจากพิษร้ายอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ แต่ก็ไม่มากกว่าความรู้ของการปลูกพืชเหล่านี้ในสวนหรือในหม้อดิน นักพฤษศาสตร์อาชีพสมัยโฮล์มส์ วิชาเคมีกับฟิสิกส์ ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น ส่วนวิชาพฤษศาสตร์นั้น นักศึกษาส่วนใหญ่เชื่อกันว่า ศาสตร์นี้ได้ถูกค้นพบความจริงกันหมดแล้ว

     

                    หมอวัตสันยังได้พบอีกว่า โฮล์มส์เป็นคนที่ มีความแม่นยำ แต่ขาดระบบความรู้ทางด้านกายวิภาค สันนิษฐานว่าความรู้เหล่านี้เขาเรียนศึกษาได้มาด้วยตนเอง ซึ่งเห็นได้จากรายงานที่ระบุว่า โฮล์มส์หนุ่ม ได้ใช้ไม้เท้าหวดตีอาจารย์ใหญ่ในห้องผ่าตัดศพ เพื่อพิสูจน์ว่ารอยฟกช้ำของศพจะเกิดขึ้นได้มากน้อยแค่ไหน หลังจากที่คน ๆ นั้นได้เสียชีวิตไปแล้วเขาไม่มีความรู้ในเรื่องกายวิภาค หรือแม้แต่องค์ประกอบของสุริยจักรวาล หมอวัตสันแปลกใจ พร้อมทั้งตอบข้อซักภามว่า มนุษย์คนใดก็ตามที่มีแล้วซึ่งความศิวิไลซ์ที่เกินในศตวรรษที่ 19 อย่างน้อยที่สุดก็น่าจะมีความคุ้นเคยกับปรากฏการณ์เหล่านี้ รวมทั้งศาสตร์อื่น ๆ ที่นักสืบผู้ยิ่งใหญ่อย่างโฮล์มส์ยอมรับโดยไม่เขินอายว่า เขาไม่รู้และไม่คุ้นเคยกับมัน โฮล์มส์กล่าวเรียบสั้นแต่เพียงว่า คน ๆ หนึ่งควรจะใช้สมองเล็ก ๆ ส่วนบนของเขาสำหรับเป็นที่เก็บเฟอร์นิเจอร์ที่เขาจะต้องใช้เท่านั้นและให้มีสิ่งอื่น ๆ ที่มิได้ใช้ให้เหลือน้อยที่สุด

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×