คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : ประวัติและความเป็นมาของคณะ
ความเป็นมาและปัจจุบัน .......
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดตั้งขึ้นโดยมติคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 11 มกราคม 2497 และได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2497 โดยมีหลักการและเหตุผลว่าเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐอันเกี่ยวกับการประชาสงเคราะห์และการประกันสังคม และเพื่อส่งเสริมมาตรฐานการศึกษาในด้านสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ การประกันสังคม และการประชาสัมพันธ์ อันเป็นวิทยาศาสตร์ทางสังคม ให้เทียบเท่ามหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ดังนั้น คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ จึงถือเอาวันที่ 25 มกราคม เป็นวันสถาปนาคณะนับจากวันนั้นเป็นต้นมา
ในระยะแรก การศึกษาของคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 แผนกวิชาคือ แผนกสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ และแผนกวารสารศาสตร์ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2508 เพิ่มแผนกสังคมวิทยาและ มานุษยวิทยาขึ้นมาอีกแผนกหนึ่ง เมื่อระยะเวลาผ่านไปการศึกษาแต่ละแผนกวิชาได้เจริญก้าวหน้าขึ้นโดยลำดับ แผนกวารสารศาสตร์ จึงได้แยกไปตั้งเป็นแผนกอิสระวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน เมื่อ พ.ศ.2513 และยกฐานะเป็นคณะวารสารศาสตร์และ สื่อสารมวลชน เมื่อ พ.ศ.2522 ส่วนแผนกสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ได้แยกไปตั้งเป็นแผนกอิสระสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา เมื่อ พ.ศ.2520 และยกฐานะเป็นคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา เมื่อ พ.ศ.2527 แม้ว่าแผนกวารสารศาสตร์ และแผนกสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาจะแยกไปตั้งเป็นแผนกอิสระและยกฐานะเป็นคณะแล้วก็ตาม คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ก็ยังพัฒนางานทางด้านบริการการศึกษา บริการทางวิชาการ และบริการสังคมด้วยดีมาเป็นลำดับ และตั้งแต่ พ.ศ.2537 เป็นต้นมา คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 ภาควิชา คือ ภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ และภาควิชาการพัฒนาชุมชน สำหรับภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
นั้นยังแบ่งออกเป็นอีก 2 กลุ่มชำนาญการคือ
1) กลุ่มชำนาญการตามกลุ่มเป้าหมายหรือพื้นที่การปฏิบัติงาน ประกอบด้วย 5 กลุ่ม คือ สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ สังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ สังคมสงเคราะห์ทางการศึกษา สังคมสงเคราะห์ในกระบวนการยุติธรรม และพัฒนาแรงงานและสวัสดิการ
2) กลุ่มชำนาญการด้านวิธีการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย 4 กลุ่ม คือ การปฏิบัติงานตรง (Direct Practice) วิจัย (Research)นโยบายสวัสดิการสังคม (Social Welfare Policy) และการบริหารงานสวัสดิการสังคม (Social Welfare Administration)
ปัจจุบัน คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ได้เปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอกและในระดับปริญญาโทได้เปิดสอนทั้งภาคปกติ และภาคพิเศษซึ่งนอกเหนือจากเปิดการเรียน การสอนในส่วนกลาง (ท่าพระจันทร์ และศูนย์รังสิต) แล้วยังได้ขยายโอกาสการ ศึกษาไปสู่ ส่วนภูมิภาค โดยเปิดการเรียนการสอนระดับ ปริญญาตรีหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต ณ จังหวัดลำปาง ในปีการศึกษา 2541 และเปิดการเรียน การสอนระดับปริญญาโทหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ ศาสตรมหาบัณฑิต ณ จังหวัดอุดรธานี ในปีการศึกษา 2538 และจังหวัดนราธิวาสในปีการศึกษา 2544 เป็นต้นมา
ที่มา : http://www.tu.ac.th/org/socadm/about/about.htm
ความคิดเห็น