หลักการออกแบบทางเทคโนโลยี ชีวมวล หลักการของ EcoDesign - หลักการออกแบบทางเทคโนโลยี ชีวมวล หลักการของ EcoDesign นิยาย หลักการออกแบบทางเทคโนโลยี ชีวมวล หลักการของ EcoDesign : Dek-D.com - Writer

    หลักการออกแบบทางเทคโนโลยี ชีวมวล หลักการของ EcoDesign

    โดย M.2/2

    โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จ.เชียงใหม่ ช่วงชั้นที่ 3 ปีที่ 2 ครูผู้สอน ดรุณี กันธมาลา หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง การออกแบบและเทคโนโลยี (Design and Technology) ด.ญ. ธีราพร บุญธง ชั้นม.2/2 เลขที่ 2

    ผู้เข้าชมรวม

    1,003

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    0

    ผู้เข้าชมรวม


    1K

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  12 ก.พ. 55 / 10:52 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
     การออกแบบและเทคโนโลยี
    (Design and Technology)
    สาระที่ 3
    ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
    1. เข้าใจความหมายของการออกแบบทางเทคโนโลยี
    2. เข้าใจลักษณะผลผลิตของการออกแบบทางเทคโนโลยี
    3. อธิบายหลักการวาดภาพเพื่อการสื่อสาร
    4. อธิบายการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ 5W1H
    5. อธิบายหลักการออกแบบและเทคโนโลยี
    6. ชื่นชมผลงานการทำงานของผู้อื่นและตนเอง
    จุดประสงค์การเรียนรู้
    1. บอกความหมายของการออกแบบทางเทคโนโลยีได้
    2. อธิบายลักษณะผลผลิตของการออกแบบทางเทคโนโลยีได้
    3. อธิบายหลักการวาดภาพเพื่อการสื่อสารได้
    4. อธิบายการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ 5W1Hได้
    5. อธิบายหลักการออกแบบและเทคโนโลยีได้
    6. แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบในชีวิตประจำวันได้
    7. สามารถวาดภาพตามหลักการวาดภาพเพื่อการสื่อสารได้
    8. สามารถเขียนผังมโนทัศน์เกี่ยวกับความหมาย ลักษณะผลผลิตของการออกแบบทางเทคโนโลยี หลักการวาดภาพเพื่อการสื่อสาร หลักการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ 5W1Hหลักการออกแบบและเทคโนโลยีได้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
       เทคโนโลยีกับการออกแบบ
           เทคโนโลยี  หมายถึง  สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น  เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆเช่น  อุปกรณ์  เครื่องมือ  เครื่องจักร  วัสดุต่าง ๆ หรือกระบวนการต่าง ๆ เช่น  กระบวนการเทคโนโลยี  เป็นต้น
           1.  ประโยชน์และผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยี
                เราสามารถนำเครื่องใช้ที่ได้จากเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ได้ ดังนี้
                1.  ตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน  เช่น
                     -   ใช้รถบรรทุกดินมาถมที่ เพื่อสร้างอาคารบ้านเรือน หรือที่อยู่อาศัย
                     - ใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีในการผลิตเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มให้ได้ครั้งละมาก ๆ โดยใช้เวลาน้อยลง
                     - ใช้เทคโนโลยีในการผลิตอาหารให้ได้ครั้งละมาก ๆ และเก็บไว้ได้นาน ๆ
                     - นำเทคโนโลยีและกระบวนการทางเทคโนโลยีมาใช้ในการรักษาโรคให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น
                2.  ทำให้มีความสะดวกสบายในชีวิตประจำวัน  เช่น
                     -  ขับรถยนต์ไปทำงานหรือไปที่ต่าง ๆ
                     -  ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น
                     -  ใช้คอมพิวเตอร์ในการค้นหาข้อมูลเรื่องที่ต้องการทราบ
                     -  ใช้เครื่องซักผ้าแทนการซักผ้าด้วยมือ
                     -  ใช้เครื่องดูดฝุ่นแทนการกวาดพื้นด้วยไม้กวาด
      ตัวอย่าง  ผลกระทบการใช้เทคโนโลยี
            การใช้เทคโนโลยีจะช่วยให้การดำรงชีวิตของคนเราสะดวกสบายมากขึ้น  แต่เราก็ควรใช้เทคโนโลยีให้ถูกต้องและเหมาะสมด้วย  เพื่อไม่ให้เกิดความเดือนร้อน
           การใช้เทคโนโลยีที่ถูกต้อง
           -  เปิดวิทยุเสียงดังพอประมาณ ทำให้ได้รับความเพลิดเพลิน
           - ขับรถด้วยความระมัดระวัง ทำให้ชีวิตปลอดภัย
           การใช้เทคโนโลยีที่ไม่ถูกต้อง
           -  เปิดวิทยุเสียงดังมากรบกวนผู้อื่น ทำให้ผู้อื่นเกิดความรำคาญ
           - ขับรถประมาท ทำให้เกิดอุบัติเหตุ อาจสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินได้
      2.  กระบวนการเทคโนโลยี
                การนำกระบวนการของเทคโนโลยีมาใช้ในการออกแบบสร้าง และพัฒนาของใช้ มีดังนี้
      กระบวนการเทคโนโลยี
                1.  ค้นหาปัญหาหรือสาเหตุ
                2.  คิดหาวิธีแก้ปัญหาและเลือกวิธีที่ดีที่สุด
                3.  ออกแบบและปฏิบัติตามแนวทางที่คิดไว้
                4.  นำไปใช้และปรับปรุงแก้ไข
      3.  ความสำคัญและประโยชน์ของกระบวนการเทคโนโลยี
                กระบวนการเทคโนโลยีมีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อการทำงาน  ดังนี้
                1)  ช่วยให้ได้งานที่มีความสวยงาม  ทั้งรูปร่าง  รูปทรง  โดยอาศัยวิธีการออกแบบในลักษณะต่าง ๆ
                2)  ช่วยให้ได้สิ่งประดิษฐ์ที่เกิดประโยชน์  และสามารถนำไปใช้ได้จริง  เพราะว่ามีการออกแบบและปรับปรุง                       แก้ไขให้ดียิ่งขึ้น
                3)  ทำให้เกิดการหมุนเวียนของทรัพยากร  โดยนำทรัพยากรที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่
                4)  ช่วยให้ทำงาน  และพัฒนางานประดิษฐ์อย่างเป็นขั้นตอนตามลำดับและได้ชิ้นงานที่มีคุณภาพ
      ความหมายของการออกแบบ
                         การออกแบบ  หมายถึง การถ่ายทอดรูปแบบจากความคิดออกมาเป็นผลงาน     ที่ผู้อื่น สามารถมองเห็น รับรู้หรือสัมผัสได้  เพื่อให้มีความเข้าใจในผลงานร่วมกัน ความสำคัญของการออกแบบ มีอยู่หลายประการ ดังนี้
      1. ในแง่ของการวางแผนการการทำงาน งานออกแบบจะช่วยให้การทำงานเป็นไปตามขั้นตอนอย่างเหมาะสม และประหยัดเวลา ดังนั้นอาจถือว่าการออกแบบ คือ การวาง แผนการทำงานก็ได้
      2. ในแง่ของการนำเสนอผลงาน ผลงานออกแบบจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจตรงกันอย่างชัดเจน ดังนั้น ความสำคัญในด้านนี้ คือ เป็นสื่อความหมายเพื่อความเข้าใจ ระหว่างกัน
      3. เป็นสิ่งที่อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับงาน งานบางประเภทอาจมีรายละเอียดมากมาย ซับซ้อน ผลงานออกแบบจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้อง และผู้พบเห็นมีความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้น หรืออาจกล่าวได้ว่า ผลงานออกแบบ คือ ตัวแทนความคิดของผู้ออกแบบได้ทั้งหมด
      ความสำคัญของการออกแบบ
                 ถ้าการออกแบบสามารถแก้ไขปัญหาของเราได้ การออกแบบจึงมีความสำคัญ และคุณค่าต่อการดำรงชีวิตของเรา ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์  และทัศนคติ กล่าวคือ
      มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของเรา เช่น
      1. การวางแผนการการทำงาน งานออกแบบจะช่วยให้การทำงานเป็นไปตาม ขั้นตอน อย่างเหมาะสม และประหยัดเวลา ดังนั้นอาจถือว่าการออกแบบ คือ การวาง แผนการทำงานที่ดี
      2. การนำเสนอผลงาน ผลงานออกแบบจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจ ตรงกันอย่างชัดเจน ดังนั้นความสำคัญในด้านนี้ คือ เป็นสื่อความหมายเพื่อความเข้าใจ ระหว่างกัน
      3. สามารถอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับงาน งานบางประเภท อาจมีรายละเอียดมากมาย ซับซ้อน ผลงานออกแบบ จะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้อง และผู้พบเห็นมีความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้น หรืออาจกล่าวได้ว่า ผลงานออกแบบ คือ ตัวแทนความคิดของผู้ออกแบบได้ทั้งหมด
      4. แบบจะมีความสำคัญมาก ถ้าผู้ออกแบบกับผู้สร้างงานหรือผู้ผลิต เป็นคนละคนกัน เช่น สถาปนิกกับช่างก่อสร้าง นักออกแบบกับผู้ผลิตในโรงงาน หรือถ้าจะเปรียบไปแล้ว นักออกแบบก็เหมือนกับคนเขียนบทละครนั่นเอง
      มีคุณค่าต่อวิถีชีวิตของเรา คือ 
      1. คุณค่าทางกาย คุณค่าของงานออกแบบที่มีผลทางด้านร่างกาย คือคุณค่าที่มีประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวันโดยตรง เช่น ไถมีไว้สำหรับไถนา แก้วมีไว้สำหรับใส่น้ำ ยานพาหนะมีไว้สำหรับเดินทาง บ้านมีไว้สำหรับอยู่อาศัย เป็นต้น 
      2. คุณค่าทางอารมณ์ความรู้สึก คุณค่าของงานออกแบบที่มีผลทางอารมณ์ความรู้สึกเป็นคุณค่าที่เน้นความชื่นชอบ พึงพอใจ สุขสบายใจ หรือ ความรู้สึกนึกคิดด้านอื่น ๆ ไม่มีผลทางประโยชน์ใช้สอยโดยตรง เช่น งานออกแบบทางทัศนศิลป์ การออกแบบ ตกแต่ง ใบหน้าคุณค่าทางอารมณ์ความรู้สึกนี้ อาจจะเป็นการออกแบบ เคลือบแฝงในงานออกแบบ ที่มีประโยชน์ทางกายก็ได้ เช่น การออกแบบตกแต่งบ้าน ออกแบบตกแต่งสนามหญ้า ออกแบบตกแต่งร่างกายเป็นต้น
      3. คุณค่าทางทัศนคติ คุณค่าของงานออกแบบที่มีผลทางทัศนคติ เน้นการสร้างทัศนคติอย่างใดอย่างหนึ่งต่อผู้พบเห็น เช่น อนุสาวรีย์สร้างทัศนคติให้รักชาติ กล้าหาญ หรือทำความดี งานจิตรกรรมหรือประติมากรรมบางรูปแบบ อาจจะ แสดงความกดขี่ขูดรีด เพื่อเน้นการระลึกถึงทัศนคติที่ดีและถูกควรในสังคม เป็นต้น
      ประเภทของการออกแบบ
      1. การออกแบบทางสถาปัตยกรรม (Architecture Design) เป็นการออกแบบเพื่อ การก่อสร้าง สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ นักออกแบบสาขานี้ เรียกว่า สถาปนิก (Architect) ซึ่ง โดยทั่วไปจะต้องทำงานร่วมกับ วิศวกรและ มัณฑนากร โดยสถาปนิก รับผิดชอบเกี่ยว กับประโยชน์ใช้สอยและความงามของสิ่งก่อสร้าง งานทางสถาปัตยกรรมได้แก่
      - สถาปัตยกรรมทั่วไป เป็นการออกแบบสิ่งก่อสร้างทั่วไป เช่น อาคาร บ้านเรือน ร้านค้า โบสถ์ วิหาร ฯลฯ
      - สถาปัตยกรรมโครงสร้าง เป็นการออกแบบเฉพาะโครงสร้างหลักของอาคาร
      - สถาปัตยกรรมภายใน เป็นการออกแบบที่ต่อเนื่องจากงานโครงสร้าง ที่เป็นส่วนประกอบของอาคาร
      - งานออกแบบภูมิทัศน์ เป็นการออกแบบที่มีบริเวณกว้างขวาง เป็นการจัดบริเวณพื้นที่ต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยและความสวยงาม
      - งานออกแบบผังเมือง เป็นการออกแบบที่มีขนาดใหญ่ และมีองค์ประกอบซับซ้อน ซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มอาคารจำนวนมาก ระบบภูมิทัศน์ ระบบสาธารณูปโภค ฯลฯ

      2. การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) เป็นการออกแบบเพื่อการผลิต ผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆงานออกแบบสาขานี้ มีขอบเขตกว้างขวางมากที่สุด และแบ่งออกได้มากมายหลายๆ ลักษณะ นักออกแบบรับผิดชอบเกี่ยวกับประโยชน์ใช้สอยและความสวยงามของผลิตภัณฑ์ งานออกแบบประเภทนี้ ได้แก่
      - งานออกแบบเฟอร์นิเจอร์
      - งานออกแบบครุภัณฑ์
       - งานออกแบบเครื่องสุขภัณฑ์
      - งานออกแบบเครื่องใช้สอยต่างๆ
      - งานออกแบบเครื่องประดับ อัญมณี
      - งานออกแบบเครื่องแต่งกาย
      - งานออกแบบภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์ 
      - งานออกแบบผลิตเครื่องมือต่างๆ ฯลฯ

      3. การออกแบบทางวิศวกรรม (Engineering Design) เป็นการออกแบบเพื่อการผลิตผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ เช่นเดียวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกัน ต้องใช้ ความรู้ความสามารถและเทคโนโลยีในการผลิตสูง ผู้ออกแบบคือ วิศวกร ซึ่งจะรับผิดชอบ ในเรื่องของประโยชน์ใช้สอย ความปลอดภัยและ กรรมวิธีในการผลิต บางอย่างต้องทำงาน ร่วมกันกับนักออกแบบสาขาต่าง ๆ ด้วย งานอกแบบประเภทนี้ได้แก่ 
      - งานออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้า 
      - งานออกแบบเครื่องยนต์ 
      - งานออกแบบเครื่องจักรกล 
      - งานออกแบบเครื่องมือสื่อสาร 
      - งานออกแบบอุปกณ์อิเลคทรอนิคส์ต่าง ๆ ฯลฯ

      4. การออกแบบตกแต่ง (Decorative Design) เป็นการออกแบบเพื่อการตกแต่งสิ่งต่างๆให้สวยงามและเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยมากขึ้นนักออกแบบเรียนว่ามัณฑนากร (Decorator) ซึ่งมักทำงานร่วมกับสถาปนิก               งานออกแบบประเภทนี้ได้แก่
       - งานตกแต่งภายใน (Interior Design) 
      - งานตกแต่งภายนอก (Exterior Design) 
      - งานจัดสวนและบริเวณ (Landscape Design) 
      - งานตกแต่งมุมแสดงสินค้า (Display) 
      - การจัดนิทรรศการ (Exhibition) 
      - การจัดบอร์ด 
      - การตกแต่งบนผิวหน้าของสิ่งต่าง ๆ เป็นต้น ฯลฯ

      5. การออกแบบสิ่งพิมพ์ (Graphic Design) เป็นการออกแบบเพื่อทางผลิตงานสิ่งพิมพ์ ชนิดต่าง ๆ ได้แก่ หนังสือ หนังสือพิมพ์ โปสเตอร์ นามบัตร บัตรต่างๆ งานพิมพ์ลวดลายผ้า งานพิมพ์ภาพลงบนสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ งานออกแบบรูปสัญลักษณ์   เครื่องหมายการค้า ฯลฯ


      ชีวมวล
      (Biomass)
               ชีวมวล (Biomass) หมายถึง พืชและสัตว์ที่เป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญของโลก และถูกจัดเป็นพลังงานทดแทน พลังงานจากฟอสซิล ซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด และอาจหมดลงได้  แบ่งชีวมวลตามแหล่งที่มาได้ดังนี้
      1. พืชผลทางการเกษตร (agricultural crops) เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด ข้าวฟ่างหวาน ที่เป็นแหล่งของคาร์โบไฮเดรต แป้งและน้ำตาล รวมถึงพืชน้ำมันต่าง ๆ ที่สามารถนำน้ำมันมาใช้เป็นพลังงานได้
      2. เศษวัสดุเหลือทิ้งการเกษตร (agricultural residues) เช่น ฟางข้าว เศษลำต้นข้าวโพด ซังข้าวโพด เหง้ามันสำปะหลัง
      3. ไม้และเศษไม้ (wood and wood residues) เช่นไม้โตเร็ว ยูคาลิปตัส กระถินณรงค์ เศษไม้จากโรงงานผลิตเครื่องเรือน และโรงงานผลิตเยื่อกระดาษ เป็นต้น
      4. ของเหลือจากจากอุตสาหกรรมและชุมชน (waste streams) เช่น กากน้ำตาล และชานอ้อยจากโรงงานน้ำตาล แกลบ ขี้เลื่อย เส้นใยปาล์ม และกะลาปาล์ม
      พลังงานชีวมวล (Bio-energy) หมายถึง พลังงานที่ได้จากชีวมวลชนิดต่างๆ ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น โดยกระบวนการแปรรูปชีวมวลไปเป็นพลังงานรูปแบบต่างๆ มีดังนี้คือ
      1. การเผาไหม้โดยตรง (combustion) เมื่อชีวมวลมาเผา จะได้ความร้อนออกมาตามค่าความร้อนของชนิดชีวมวล ความร้อนที่ได้จากการเผาสามารถนำไปใช้ในการผลิตไอน้ำที่มีอุณหภูมิ และความดันสูงไอน้ำนี้จะถูกนำไปขับกังหันไอน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้าต่อไป ตัวอย่างชีวมวลประเภทนี้คือ เศษวัสดุทางการเกษตร และเศษไม้
      2. การผลิตก๊าซ (gasification) เป็นกระบวนการเปลี่ยนเชื้อเพลิงแข็งหรือชีวมวลให้เป็นแก๊สเชื้อเพลิง เรียกว่าแก๊สชีวภาพ (biogas) มีองค์ประกอบของแก๊สมีเทน แก๊สไฮโดรเจน แก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์
      สามารถนำไปใช้สำหรับกังหันแก๊ส(gas turbine)
      3. การหมัก (fermentation) เป็นการนำชีวมวลมาหมักด้วยแบคทีเรียในสภาวะไร้อากาศ ชีวมวลจะถูกย่อยสลายและแตกตัว เกิดแก๊สชีวภาพ (biogas) ที่มีองค์ประกอบของแก๊สมีเทนและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ แก๊สมีเทนใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์สำหรับผลิตไฟฟ้า นอกจากนี้สามารถใช้ขยะอินทรีย์ชุมชน มูลสัตว์ น้ำเสียจากชุมชนหรืออุตสาหกรรมเกษตร เป็นแหล่งวัตถุดิบ   ชีวมวลได้
      4.การผลิตเชื้อเพลิงเหลวจากพืช มีกระบวนการที่ใช้ผลิตดังนี้
                กระบวนการทางชีวภาพ ทำการย่อยสลายแป้ง น้ำตาล และเซลลูโลสจากพืชทางการเกษตร เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด ข้าวฟ่างหวาน กากน้ำตาล และเศษลำต้นอ้อย ให้เป็นเอทานอล เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงเหลวในเครื่องยนต์เบนซิน
                กระบวนการทางฟิสิกส์และเคมี โดยสกัดน้ำมันออกจากพืชน้ำมัน จากนั้นนำน้ำมันที่ได้ไปผ่านกระบวนการทรานส์เอสเตอริฟิเคชั่น (transesterification) เพื่อผลิตเป็นไบโอดีเซล
                กระบวนการใช้ความร้อนสูง เช่นกระบวนการไพโรไลซิส เมื่อวัสดุทางการเกษตรได้ความร้อนสูงในสภาพไร้ออกซิเจน จะเกิดการสลายตัว เกิดเป็นเชื้อเพลิงในรูปของเหลวและแก๊สผสมกัน
      พลังงานชีวมวลได้แก่ เอทานอล และไบโอดีเซล

      หลักการของ EcoDesign
                  EcoDesign หมายถึง วิธีการออกแบบอย่างครบวงจรเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและหลีกเลี่ยงผลกระทบที่จะทำลายสิ่งแวดล้อม อาจกล่าวได้ว่าเป็นกระบวนการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแบบบูรณาการ ซึ่งมีความหมายรวมถึง การวิเคราะห์สมรรถนะทางด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ การจัดการซากที่หมดอายุ การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในทุกช่วงของวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ควบคู่กับการวิเคราะห์ปัจจัยด้านอื่นๆ เช่น ต้นทุน การควบคุมกระบวนการผลิต การควบคุมคุณภาพ และการตลาด เป็นต้น 
                  นักวิชาการการออกแบบผลิตภัณฑ์มีความเห็นโดยพ้องกันว่า แม้ว่าต้นทุนของการออกแบบผลิตภัณฑ์ทางตรงจะมีเพียง 5-13% ของต้นทุนผลิตภัณฑ์รวม แต่ผลสืบเนื่องจากการออกแบบผลิตภัณฑ์นี้จะเป็นผู้กำหนด โครงสร้างต้นทุนถึง60-80 % ฉะนั้นการจัดการเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ก็เช่นกัน การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่มีบทบาทมากที่สุดควรเริ่มตั้งแต่กระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์ 
                  หลักการพื้นฐานของการทำ EcoDesign คือการประยุกต์หลักการของ 4R ในทุกช่วงของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ ช่วงของวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ที่ว่านี้ ได้แก่ ช่วงการวางแผนผลิตภัณฑ์ (Planning Phase) ช่วงการออกแบบ (Design phase) ช่วงการผลิต (Manufacturing phase) ช่วงการนำไปใช้ (Usage phase) และช่วงการทำลายหลังการใช้เสร็จ (Disposal phase) สำหรับหลักการของ 4R ได้แก่ การลด (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) และ การซ่อมบำรุง (Repair) ซึ่งทั้ง 4R จะมีความสัมพันธ์ กับแต่ละช่วงของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์
                  การลด (Reduce) หมายถึงการลดการใช้ทรัพยากรในช่วงต่าง ของวงจรชีวิต ซึ่งสามารถเกิดได้ในทุกช่วงของวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ โดยมากจะพบในช่วงการออกแบบ ช่วงการผลิต และ การนำไปใช้ อาทิเช่น การลดการใช้ทรัพยากรในการออกแบบ การออกแบบเพื่อลดอัตราการใช้วัตถุดิบในกระบวนการผลิต การออกแบบเพื่อลดอัตราการใช้พลังงานในกระบวนการผลิต และ การออกแบบเพื่อลดอัตราการใช้พลังงานในระหว่างการใช้งาน เป็นต้น
                  การใช้ซ้ำ (Reuse) หมายถึงการนำผลิตภัณฑ์หรือ ชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ซึ่งผ่านช่วงการนำไปใช้เรียบร้อยแล้ว และพร้อมที่จะเข้าสู่ช่วงของการทำลาย กลับมาใช้ใหม่ ทั้งที่เป็นการใช้ใหม่ในผลิตภัณฑ์เดิม หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ก็ตาม ได้แก่ การออกแบบเพื่อการนำกลับมาใช้ซ้ำ (Design for Reuse) เช่นการออกแบบให้ผลิตภัณฑ์แต่ละรุ่นมีชิ้นส่วนบางชิ้นส่วนที่ใช้ร่วมกันได้ เมื่อรุ่นแรกหยุดการผลิตแล้วยังสามารถเก็บคืนและนำบางชิ้นส่วนมาใช้ในการผลิตรุ่นต่อไปได้ เป็นต้น
                  การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) หมายถึงการนำผลิตภัณฑ์ หรือชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ ที่อยู่ในช่วงของการทำลาย มาผ่านกระบวนการแล้ว นำกลับในใช้ใหม่ตั้งแต่ช่วงของการวางแผน การออกแบบ หรือ แม้แต่ช่วงของการผลิต ได้แก่ การออกแบบให้ถอดประกอบได้ง่าย (Design for Disassembly) การออกแบบเพื่อการนำกลับมาใช้ใหม่ (Design for Recycle)เช่นการออกแบบผลิตภัณฑ์โดยใช้วัตถุดิบพลาสติกหรือ กระดาษที่ง่ายต่อการนำกลับมาใช้ใหม่ เป็นต้น
                  การซ่อมบำรุง (Repair) หมายถึงการออกแบบให้ง่ายต่อการซ่อมบำรุง ทั้งนี้มีแนวคิดที่ว่า หากผลิตภัณฑ์สามารถซ่อมบำรุงได้ง่ายจะเป็นการยืดอายุช่วงชีวิตของการใช้งาน (Extended Usage Life) ซึ่งท้ายที่สุดสามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ การซ่อมบำรุงนี้เกิดภายในช่วงชีวิตของการใช้งานเท่านั้น แตกต่างจากการใช้ซ้ำ (Reuse) ซึ่งเป็นการนำชิ้นส่วนหรือผลิตภัณฑ์ที่เสร็จจากช่วงการใช้งานแล้วมาใช้อีกครั้ง การซ่อมบำรุงนี้ได้แก่ การออกแบบให้ง่ายต่อการซ่อมบำรุง(Design for serviceability / Design for maintainability) เช่นการออกแบบให้เปลี่ยนอะไหล่ได้ง่าย เป็นต้น

      แหล่งข้อมูล :
      http://www1.mod.go.th/opsd/dedweb/energy/about/meaning%20and%20type/biomass.htm
      http://watcharapongallied.myreadyweb.com/news/topic-5546.html
      http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=1244
      http://www2.mtec.or.th/website/article_list.aspx?id=46&cate=26





      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×