ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ระบบสุริยะ&ดวงจันทร์

    ลำดับตอนที่ #2 : ดวงจันทร์อุบัติขึ้นมาได้อย่างไร

    • อัปเดตล่าสุด 17 ก.ย. 52


     

     ดวงจันทร์อุบัติขึ้นมาได้อย่างไร

    เมื่อดวงอาทิตย์เกิดขึ้นมาตรงศูนย์กลางของหมอกไฟที่กำลังยุบแฟบลง แก๊สและธุลีต่างจับตัวเข้าด้วยกันกลายไปเป็นเทหวัตถุหินเรียกว่า ดาวเคราะห์ดาวน้อยยิ่ง โลกยุคแรกเริ่มเกิดขึ้นในส่วนกลางของระบบสุริยะโดยมีเศษหินหมุนวนอยู่รอบๆ

    ทฤษฎีหนึ่งให้ข้อเสนอแนะว่าหลังจากโลกเกิดขึ้นมาไม่นานนักก็ถูกชนโดย
    ดาวเคราะห์ดวงน้อยยิ่งซึ่งมีขนาดพอๆ กับดาวอังคาร การชนกันได้หลอมชิ้นส่วนนอกของโลกซึ่งเป็นหินและระเบิดเอากลุ่มหมอกเมฆขนาดใหญ่ของวัตถุออกไปโคจรรอบๆ  โลกที่อายุยังน้อย ภายในสองสามพันปีแรงโน้มถ่วงได้ดึงเศษหินเข้าด้วยกันกลายไปเป็นดวงจันทร์ยุคต้น

    1. การชนกันในจักรวาล

    เทหวัตถุขนาดใหญ่อาจพุ่งเข้าชนโลกหลังจากการก่อตัวของระบบสุริยะเพียงเล็กน้อย ในแถบบริเวณที่มีดาวเคราะห์ดวงน้อยยิ่งมากมายโคจรรอบๆ ดวงอาทิตย์

    2. การพุ่งชนอย่างแรง

    การชนกันด้วยความเร็วสูงได้หลอมส่วนแมนเทิลของโลก หินความหนาแน่นต่ำถูกพ่นออกจากพื้นผิว

    3. วงแหวนของเศษหินธุลีและแก๊ส

    ซึ่งแตกกระจายจากการชนกันถูกแรงโน้มถ่วงของโลกจับเข้ามารวมกันอีกครั้ง แล้วรวมกันโคจรเป็นรูปวงแหวน

    4. การเกิดของดวงจันทร์

    แรงโน้มถ่วงดึงวงแหวนของของเศษหินเข้าไว้ด้วยกันอย่างรวดเร็ว เกิดเป็นดาวเคราะห์ดวงน้อยยิ่งที่รวมตัวเข้ากันเป็นดวงจันทร์ยุคต้น

    ทฤษฎีทั้งสาม

    นักวิทยาศาสตร์คิดว่าทฤษฎีของการชนกันอธิบายการเกิดของดวงจันทร์ได้ดีที่สุด แต่มีบางส่วนที่คิดแตกต่างไป

    ทฤษฎีที่น้องได้เสอนว่าโลกและดวงจันทร์ต่างเกิดแยกจากกันในช่วงเวลาและสถานที่เดียวกัน

    ทฤษฎีของการแบ่งแยกตัวเสนอว่า โลกยุคต้นที่หมุนอย่างเร็วได้ทำให้เกิดการแตกและแยกออกเป็นส่วนต่างๆ แล้วเหวี่ยงก้อนวัตถุร้อนออกมากลายเป็นดวงจันทร์

    ทฤษฎีของการจับเข้าไว้อธิบายว่าดวงจันทร์ซึ่งเกิดขึ้นจากที่ใดที่หนึ่งในระบบสุริยะถูกจับเข้าไว้ด้วยแรงดึงจากแรงโน้มถ่วงของโลกที่มากกว่า

    แต่ละทฤษฎีมีจุดแข็งและจุดอ่อนแม้นว่าทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการชนกันดูจะเป็นทฤษฎีที่น่าเชื่อถือที่สุดแต่ก็ยังไม่อาจพิสูจน์ได้แน่ชัด

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×