ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    อารยธรรม โรมัน

    ลำดับตอนที่ #4 : สังคม

    • อัปเดตล่าสุด 13 ต.ค. 49


    ชาวโรมันเป็นคนเชื้อสายอินโด-ยุโรเปียน แต่เป็นคนละกลุ่มกับพวกกรีก พูดภาษากรีกเรื่องราวของชาวโรมันเริ่มจากที่มีชาวอินโด-ยุโรเปียนกลุ่มหนึ่งเดินทางเข้ามาบุกรุกดินแดนของแหลมอิตาลีในราวประมาณ 2000 ปี ก่อนคริสตกาล คนกลุ่มนี้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณอิตาลีทางตอนเหนือและตอนกลาง และต่อมาก็ได้ผสมกลมกลืนกับชาวพื้นเมืองเดิม จนเกิดเป็นชนกลุ่มใหม่ซึ่งเรียกกันรวมๆว่า อิตาลิค (Italics) ชนเผ่าอินโด-ยุโรเปียนนี้นอกจากมีการพัฒนาการที่เจริญกว่าชนเผ่าเดิมในแหลมอิตาลี ยังเอาเทคนิคทางการเกษตร การใช้โลหะ เช่น ทองแดง  บรอนซ์ และเหล็กมาใช้ในอิตาลี มีผลให้ประชากรในอิตาลีมีความก้าวหน้ากว่าเดิมอย่างมาก ในระยะ 1000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช   พวกหนี้ตั้งถิ่นฐานส่วนใหญ่อยู่บริเวณลาติอุม (Latium) ทางตอนใต้ของแม่น้ำไทเบอร์  ด้วยเหตุนี้จึงได้รับชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า พวกลาติน (Latins)

    ในระยะต่อมาประมาณปี 650 ก่อนคริสตกาล เมื่อชาวโรมันสถาปนาระบอบสาธารณรัฐเป็นผลสำเร็จแล้วก็มีการสงวนสิทธ์ในการปกครองไว้เฉพาะกลุ่มน้อยซึ่งเป็นผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากตระกูลเก่าแก่ ในช่วงระยะนี้สังคมโรมันแบ่งคนออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

    พวกแพทริเชียน(patricians)ได้แก่กลุ่มผู้ดีมีสกุล มีความมั่งคั่งร่ำรวย ชนกลุ่มนี้ประกอบด้วยครอบครัวที่มีสายสกุลเดียวกัน มีหัวหน้าครอบครัวซึ่งมีอำนาจเหนือสมาชิกครอบครัวพวกแพทริเชียนมีอำนาจในการปกครองสาธารณรัฐ และพยายามรักษาอำนาจของตนไว้ด้วยการห้ามปะปนสายโลหิตกับชนชั้นสามัญ

    พวกเพลเบียน(plebeians)หรือสามัญชน คือ ประชาชนส่วนใหญ่ของชุมชน อันได้แก่ ชาวนา พ่อค้า ช่างฝีมือ ฯลฯ ที่แทบจะไม่มีอำนาจหรือสิทธิ์ทางการเมืองและสังคมเลย ยกเว้นสิทธิ์ที่ปรากฏในสภาสามัญ ถึงกระนั้นก็ดี เพลเบียนจำนวนไม่น้อยพยายามยกฐานะของตนโดยการสมัครเข้าเป็นสมุนบริวาร (clients)ของพวกแพทริเชียน โดยการยอมรับภาระโดยการให้บริการแก่เจ้านายและได้รับการพิทักษ์ความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดจนประสบความสำเร็จ ในการหาเลี้ยงตนเองและครอบครัวจากเจ้านาย

                ชน 2 พวกนี้จะมีสิทธิ์ทางการเมืองและสังคมไม่เท่ากัน ทั้งนี้เพราะผู้มีสิทธิ์ในการบริหารบ้านเมือง โดยผ่านทางวุฒิสภาและสภาสามัญนั้นส่วนมากอำนาจตกอยู่แก่ชนชั้นสูงและผู้มั่งคั่งร่ำรวยมากกว่าสามัญชนและคนจน ด้วยเหตุนี้จึงเกิดความพยายามในหมู่เพลเบียน ที่จะหาทางแก้ไขปฏิรูปสถาบันทางการเมืองและกฎหมาย เพื่อเปิดโอกาสให้เพลเบียนมีสิทธ์แท้จริงในการปกครองประเทศตลอดจนรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มตน ความพยายามดังกล่าวประสบความสำเร็จตามลำดับดังตัวอย่างเช่น ประมวลกฎหมายในปี 450 ก่อนคริสตกาล ที่เรียกว่ากฎหมายสิบสองโต๊ะ

    (Law of the Twelve Tables) ซึ่งจารึกบนแผ่นไม้ ประมวลกฎหมายสิบสิงโต๊ะถือกันว่า เป็นกฎบัตรแห่งเสรีภาพของประชาชนโรมัน ในแง่ที่มีกำหนดข้อบังคับบ้านเมืองเด่นชัดเป็น

    ครั้งแรก  ใช้เป็นแม่บทในการพิจารณาคดีต่างๆ ด้วยความจำหรือขนบธรรมเนียมโบราณ ที่ประชาชนไม่อาจรู้แจ้งได้ และนอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งสภาเผ่าพันธุ์ ( Assembly of the ribes) อันเป็นสภาของกลุ่มเพลเบียนโดยเฉพาะ เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมความเดือดร้อนนานาประการของสามัญชน  สภาเผ่าพันธุ์มีสิทธิ์ออกกฎหมายข้อบังคับต่างๆ เช่นเดียวกัน  ระเบียบข้อบังคับของสภาเผ่าพันธุ์ เรียกว่า โองการของสามัญชน  (Decree of Plebiscitum)

    นอกจากโรมันจัดรูปแบบบริหารการปกครองที่มีความแตกต่างและหลากหลายแล้ว โรมันยังออกกฎหมายที่มีลักษณะเฉพาะ  เพื่อใช้ควบคุมประชาชนที่อยู่ในจักรวรรดิกล่าวคือ

    The  Jus Cilvile (Civil Law) เป็นกฎหมายที่ใช้กับพลเมืองโรมัน มีทั้งที่เขียนและไม่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร  รวมทั้งกฎหมายของสภาเซเนท กฤษฎีกาของจักรวรรดิ คำสั่งของผู้ช่วยกงสุล และขนบธรรมเนียมประเพณีโบราณบางอย่างที่กฎหมายบังคับใช้

    The Jus Gentium (Law of People) เป็นกฎหมายที่ใช้กับประชาชนทั่วไปไม่จำกัดเชื้อชาติ

    The Jus Natural(Natural Law) กฎธรรมชาติ ซึ่งเป็นอิทธิพลของนักปรัชญาสโตอิค ที่ทำให้หลักการของกฎหมายวางอยู่บนพื้นฐานของกฎธรรมชาติ  โดยถือว่ากฎหมายคือสิ่งที่พระเจ้าสร้างขึ้น กฎหมายจึงสามารถใช้ครอบคลุมมนุษย์ทุกคน และทุกรัฐอย่างเท่าเทียมกัน ลักษณะเด่นของกฎหมายโรมันที่เป็นมรดกตกทอดมาจนถึงปัจจุบันคือ การให้ความสำคัญเรื่อง

    สิทธิส่วนบุคล ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของกฎหมายโรมัน ที่ทุกคนได้รับความเท่าเทียมกันตามกฎหมาย แม้แต่ทาสก็ได้รับความคุ้มครองด้วยเช่นกัน

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×