ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    อารยธรรม โรมัน

    ลำดับตอนที่ #2 : ข้อมูลเบื้องต้น

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 5.58K
      2
      13 ต.ค. 49

          1.1  สภาพภูมิศาสตร์

                จุดเริ่มต้นของอารยธรรมโรมัน  ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอิตาลี  มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงโรม  ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำไทเบอร์  และอยู่ห่างจากชายฝั่งทะเลประมาณ 15 ไมล์  ที่ตั้งของกรุงโรมมีเนินเขา 7 ลูก เป็นแนวป้องกันไม่ให้ศัตรูรุกรานได้ง่าย  คาบสมุทรอิตาลีมีลักษณะทางภูมิศาสตร์ 4 แบบคือ

                1.  ทางตอนเหนือมีที่ราบอยู่ระหว่างภูเขาแอลป์กับภูเขาแอปเพนไนส์  คือ  ที่ราบลอมบาร์ดี

                  2.  ตอนกลางของคาบสมุทรอิตาลีมีแนวภูเขาแอปเพนไนส์  ทอดยาวในแนวเหนือ-ใต้  มีความยาวประมาร  800  ไมล์

                3.  ที่ราบด้านตะวันออกของภูเขาแอปเพนไนส์ขนานยาวไปกับชายฝั่งทะเล

                4.  ที่ราบด้านตะวันตกของภูเขาแอปเพนไนส์ขนานยาวไปกับชายฝั่งทะเล  บริเวณตอนกลางมีที่ราบลุ่มบริเวณแม่น้ำไทเบอร์   เรียกว่าที่ราบลุ่มละติอุม  ซึ่งเป็นที่ตั้งของกรุงโรม

                จากลักษณะทางภูมิศาสตร์ดังกล่าวคาบสมุทรอิตาลีสามารถทำการติดต่อคมนาคมและมีความอุดมสมบูรณ์กว่าคาบสมุทรกรีก  ภูเขามิได้เป็นอุปสรรคกีดขวาง  แต่เป็นเสมือนกระดูกสันหลัง

                ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบเมดิเตอร์เรเนียนเหมือนกับคาบสมุทรกรีก  ดังนั้น  บริเวณนี้จึงเหมาะแก่การเพาะปลูกองุ่นและมะละกอ  ซึ่งชาวกรีกได้นำเข้ามาเผยแพร่

     

     

         1.2  ชนเผ่า

                ชนเผ่าที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณคาบสมุทรอิตาลีเป็นชนเผ่าอินโดยูโรเปียนที่อพยพเข้ามามี 3 ช่วง  คือ  ในช่วงระยะประมาณ 2,000-800  ปีก่อนคริสต์ศักราช  ชาวอินโดยูโรเปียนได้อพยพมาจากลุ่มแม่น้ำดานูบเข้าสู่คาบสมุทรอิตาลีและตั้งถิ่นฐานบริเวณตอนเหนือและตอนกลาง  โดยผสมผสานกับชาวพื้นเมืองดั้งเดิมที่อยู่ในบริเวณดังกล่าวมาก่อนหน้านี้แล้ว  ทำให้ชนกลุ่มใหม่ที่เรียกว่าพวกอิตาลิค  โดยส่วนใหญ่พวกนี้จะตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณที่ราบลุ่มละติอุม  ด้วยเหตุนี้จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  พวกลาติน

                ต่อมาในช่วงระยะเวลา  900 ปีก่อนคริสต์ศักราช  พวกอีทรัสกันได้อพยพเข้ามาตั้งรกรากในคาบสมุทรอิตาลีทางด้านตะวันตก  ตั้งแต่แม่น้ำโปไปจนถึงเนเปิลส์  พวกอิตาลิคหรือลาตินถูกพวกอีทรัสกันปกครอง  ซึ่งพวกนี้ได้น้ำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ชาวลาติน  ทั้งเรื่องการค้า  ความรู้  และทักษะการหลอมโลหะ  การนับถือเทพเจ้า

                ส่วนพวกกรีกได้เข้ามาตั้งอาณานิคมในดินแดนทางตอนใต้ของคาบสมุทรอิตาลี  เมื่อประมาณศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสต์ศักราช  มีอาณานิคมที่สำคัญคือ  แมกนา  กราเซีย  และเมืองเนเปิลส์  ชาวกรีกนำความเจริญมาเผยแพร่ในดินแดนแถบนี้  ทั้งทางด้านศิลปวิทยาการ  ตัวอักษร  ยุทธวิธีการรบ  ตลอดจนนำพืชผลทางการเกษตรมาปลูกคือ  องุ่นและมะละกอ

           1.3  ภาษา

                มีความแตกต่างกันไปตามกลุ่มชนที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในคาบสมุทรอิตาลี  คือ  ในกลุ่มพวกลาตินใช้ภาษาซึ่งมีรากฐานภาษาอินโดยูโรเปียน  ต่อมาเรียกว่าภาษาโปรโตลาติน  หรือภาษาลาตินก่อนยุคคลาสิค  ส่วนพวกอีทรัสกันมีตัวอักษรที่คล้ายคลึงกับภาษากรีก  และพวกกรีกใช้ภาษาของตนเองในการติดต่อสื่อสาร  ต่อมาเมื่อพวกลาตินสามารถครอบครองคาบสมุทรอิตาลีและสร้างจักรวรรดิโรมัน  ภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารคือภาษาลาติน  ซึ่งกลายเป็นภาษาที่ได้รับความนิยมแพร่หลายไปในดินแดนต่างๆและเป็นรากฐานของภาษาต่างๆในโลกชาติตะวันตก

          1.4  พัฒนาการของจักรวรรดิโรมัน

                ชาวลาตินถูพวกชาวอีทรัสกันปกครองในช่วง  900-510  ปีก่อนคริสต์ศักราช  ซึ่งพวกอีทรัสกันนำระบบกษัตริย์มาใช้ในการปกครองดินแดนตอนเหนือ  และตอนกลางของคาบสมุทรอิตาลี  ชาวลาตินอยู่ในฐานะผู้ถูกปกครอง  แต่ได้เรียนรู้และรับความเจริญจากพวกอีทรัสกันในหลายๆด้าน  เช่น  การแต่งการด้วยเสื้อโทก้า  การใช้อาวุธมัดหวายมีขวานปักอยู่ตรงกลาง

                ต่อมาประมาณปี 509 ก่อนคริสต์ศักราช  ชาวลาตินรวมตัวกันโค้นล้มอำนาจของกษัตริย์อีทรัสกัน  และได้จัดการปกครองแบบสาธารณรัฐ  จากนั้นพวกลาตินได้แผ่ขยายอำนาจไปยังดินแดนต่างๆ  จนกระทั่งสามารถครอบครองดินแดนได้ตลอดคาบสมุทรอิตาลีในปี 265 ก่อนคริสต์ศักราช

                สาเหตุที่ทำให้ชาวโรมันสามารถขยายอำนาจได้อย่างกว้างขวางมี 4 ประการ คือ

                ประสิทธิภาพของกองทัพ  ในระยะแรกโรมันได้มีการจัดรูปแบบกองทหารแบบฟาแลงก์  โดยแบ่งทหารกองละ 100 คน  กองหน้าจะมีอาวุธและเสื้อเกาะที่มีประสิทธิภาพ  ส่วนกองหลังถืออาวุธเบา  การจู่โจมศัตรูกองทหารเดินหน้าเข้าหาศัตรูพร้อมกัน  ต่อมาได้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพของกองทัพให้ดียิ่งขึ้น  โดยจัดกองทหารแบบลีเจน  โดยแบ่งกองทหารประมาณ 60-120 คน  ทหารทุกคนมีเกราะ  โล่  หอก  และดาบ  แต่มีอาวุธใหม่  คือ หอกปลายเหล็ก  กองทหารแต่ละกองแยกย้ายกันจู่โจมศัตรู  นอกจากการจัดการระบบกองทัพแล้ว  ในกองทัพยังวางกฎระเบียบวินัยที่เคร่งครัดอีด้วย  ประการสำคัญผู้ที่จะเป็นทหารโรมันได้ต้องเป็นพลเมืองโรมันที่มีอายุระหว่าง 17-46 ปี  ทำให้ทหารโรมันมีความพร้อมที่จะทำสงครามเพื่อชาวโรมัน

                การสร้างถนน  ภายหลังจากที่โรมันได้ชัยชนะเหนือดินแดนใดแล้ว  ได้ดำเนินการสร้างถนนจากดินแดนนั้นๆมุ่งหน้าเข้าสู่กรุงโรม  ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นเส้นทางควบคุมดินแดนต่างๆมิให้แยกตัวจากโรมัน  ถนนที่สร้างนี้มีความแข็งแกร่งทนทานเพราะใช้ส่งกำลังพลและเสบียงอาหาร  ในยามสงบใช้เป็นเส้นทางการค้า  การมีถนนทำให้กรุงโรมติดต่อสื่อสารระหว่างดินแดนต่างๆ  ได้อย่างรวดเร็ว  จึงง่ายต่อการควบคุมปกป้องดินแดนเหล่านี้

                ป้อมปราการ  ในบริเวณชายแดนเมืองหน้าด่านมีการสร้างป้อมไว้คอยป้องกันศัตรูจากภายนอก  นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ปกป้องดูแลเมืองต่างๆ  ในบริเวณใกล้เคียงอีกด้วย

                คุณสมบัติของชาวโรมัน  ชาวโรมันมีคุณสมบัติหลายประการที่ส่งเสริมความยิ่งใหญ่ คือ การอุทิศตนต่อหน้าที่ มีความอดทน มีระเบียบวินัยเชื่อฟังผู้บังคับบัญชา มีอุปนิสัยไม่ยอมแพ้ เป็นนักมองความจริง เรียนรู้บทเรียนจากอดีต มีขันติธรรมต่อต่างชาติ

                ภายหลังจากที่ชาวโรมันมีอำนาจเหนือคาบสมุทรอิตาลีแล้ว ได้แผ่ขยายอำนาจออกนอกคาบสมุทรอิตาลี  โดยทำสงครามคาร์เทจ (ระหว่างปี264-146 ก่อนคริสต์ศักราช) เรียกว่า สงครามปิวนิค ซึ่งมี 3 ครั้ง ด้วยกัน  สงครามสิ้นสุดลงด้วยการผ่ายแพ้ของคาร์เทจ ส่งผลให้โรมันได้ครอบครองดินแดนต่างๆที่อยู่ในความครอบครองของคาร์เทจมาก่อน เช่น เกาะคอร์ซิกา และ ซาร์ดิเนีย ดินแดนในสเปน ดินแดนทางตอนเหนือของทวีปอัฟฟริกา จากนั้นชาวโรมันได้ขยายอำนาจไปทางด้านตะวันออก โดยได้ครอบครองดินแดนซิเรีย มาซิโดเนีย  รัฐต่างๆในเอเชียไมเนอร์

                ต่อมาโรมันได้ขยายอาณาเขตขึ้นไปทางตอนเหนือภายใต้การนำกองทัพของ จูเลียต ซีซาร์  ในช่วงระหว่างปี 58- 50 ก่อนคริสต์ศักราช  ทำให้โรมันสามารถครอบครองแคว้นโกล มีอาณาบริเวณจดแม่น้ำไรน์ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ และ ช่องแคบอังกฤษทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือ  และสามารถเข้าไปปกครองดินแดนภาคตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะอังกฤษอยู่ชั่วระยะเวลาสั้นๆ

                สำหรับดินแดนอียิปต์  โรมันสามารถรวมไว้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับอาณาจักรโรมันใน 30 ปีก่อนคริสต์ศักราช ภายหลังจากออคตาเวียได้รับชัยชนะในยุทธการทางเรือที่แอคตีอุมใน 31 ปีก่อนคริสต์ศักราช  และ เมื่อออคเตเวียขึ้นมามีอำนาจปกครองโรมันได้จัดรูปแบบการปกครองใหม่เป็นจักรวรรดิ(27ปีก่อนคริสต์ศักราช) โดยตนเองดำรงตำแหน่งจักรพรรดิองค์แรกมีพระนามว่า ออกุสตุส ซีซาร์  ส่วนรูปแบบการปกครองสาธารณรัฐก็ยังรักษารูปแบบไว้  แต่ในทางปฏิบัติอำนาจสูงสุดอยู่ที่ออกุสตุส ซีซาร์ครองอำนาจอยู่นั้นเป็นชิวงระยะเวลาที่มีความสงบสุข ปราศจากการทำสงครามครั้งใหญ่ๆ จึงเป็นสมัยแรกของสันติภาพโรมัน ซึ่งจะคงอยู่ต่อไปอีก200ปี

                กล่าวโดยสรุปได้ว่า การขยายอาราเขตของโรมันเมื่อสิ้นสุดสมัยออกุสตุสใน .. 14  โรมันครอบครองดินแดนเรเซีย นอริคุม แพนโนเมีย อียิปต์ มอริตาเนีย และเมื่อสิ้นสมัยมาร์คุสออเรอุสใน ..180  ได้ครอบครองดินแดนดาเซีย เทรซ คัมปาโดเซีย และ อาระเบีย

                ด้วยอาณาเขตที่กว้างใหญ่ไพศาลนับจากการขยายตัวใน264 ปี ก่อนคริสต์ศักราช จนถึง ..180 โรมันค่อยๆขยายตัวจากอาณาจักรมาเป็นจักรวรรดิที่มีความยิ่งใหญ่ ไม่มีจักรวรรดิอื่นใดมาเทียบเคียง  และมีอำนาจมากที่สุดในโลก สามารถครอบครองดินแดนต่างๆรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จนได้รับสมญานามว่าเป็น เจ้าแห่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและโพลีบิอุสยอมรับว่าโลกที่โรมันปกครองเป็นรัฐโลก

                หลังจากสิ้นสมัยจักรพรรดิมาร์คุส ออเรลีอุส  ใน ..180 จักรวรรดิโรมันค่อยๆเสื่อมทีละเล็กทีละน้อย ทั้งจากการรุกรานของพวกอนารยชน  ความเสื่อมทางเศรษฐกิจ สังคม และปัญหาความแตกแยกภายในทางการเมือง  การสืบทอดตำแหน่งรัชทายาท ระบบทางการปกครอง แต่ว่าในบางช่วงจักรพรรดิบางองค์สามารถรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลางได้ เช่น สมัยจักรพรรดิดิโอคลีเซียน แต่ก็ดูเหมือนว่าจักรวรรดิแบ่งเป็น2ภาค คือ ภาคตะวันตก และ ภาคตะวันออก และพระองค์ได้แต่งตั้งตำแหน่งออกุสตุส (จักรพรรดิผู้ช่วย) ให้ดูแลภาคตะวันตกส่วนภาคตะวันออกพระองค์ดูแลเอง ครั้นสิ้นสมัยของพระองค์เกิดการแย่งอำนาจ จนกระทั่งมาถึงสมัยจักรพรรดิคอนสแตนตินทรงปกครองใน ..313 พระองค์สามารถรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลางได้อีกครั้ง พระองค์ทรงปรับปรุงเมืองไบแซมติอุม และ เปลี่ยนชื่อเป็นคอนสแตนติโนเปิล แล้วยกฐานะให้เป็นศูนย์กลางของภาคตะวันออกเมื่อสิ้นสมัยจักรพรรดิคอนสแตนติน

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×