คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #6 : ความเชื่อและศาสนา
ก่อนที่ชาวโรมันจะติดต่อและมีความสัมพันธ์กับกรีก มีความเชื่อในเรื่องอำนาจเหนือธรรมชาติ โชคลาง และภูตผีปีศาจ เจ้าที่เจ้าทางที่ประจำอยู่ในธรรมชาติต่อเมื่อชาวกรีกได้เข้ามาตั้งอาณานิคม ในตอนใต้ของคาบสมุทรอิตาลิได้นำความเจริญของกรีกเข้ามาเผยแผ่ และเมื่อโรมัน สามารถผนวกกรีกให้เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิชาวโรมันจึงรับเอาแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องเทพเจ้าของกรีกมาทั้งหมดโดยเปลี่ยนชื่อมาจากภาษากรีก เป็นภาษาลาติน การประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับเทพเจ้ามิได้รับมา ทั้งนี้ชนกลุ่มหนึ่งเทียบได้กับพระทำหน้าที่ทางศาสนาโดยมี Pontifex Maximus เป็นประมุขซึ่งมักจะได้แก่กงสุลในสมัยสาธารณรัฐและจักรวรรดิในสมัยจักรวรรดิ
จากการที่อาณาจักรโรมันไม่มีศาสนาเป็นของตัวเอง ดังนั้นเมื่อยึดครองดินแดนไม่ปล่อยให้ประชนในแต่ละท้องถิ่นปฏิบัติตามแนวความคิด ความเชื่อทางศาสนาของตนเอง เช่นเดียวกับชาวยิวในดินแดนปาเลสไตน์ยังคงสามารถนับถือศาสนายิวหรือยูดายมาโดยตลอดในช่วง ค.ศ.1 พระเยซู ได้ถือกำเนิดขึ้นมาเบธเลเอ็ม (Bethlehem) และความเติบโตที่เมืองนาซาเลส (Nazareth) พระองค์ได้ศึกษาคัมภีร์ (The old tcstmcnt) ซึ่งเป็นคัมภีร์เก่าแก่ของศาสนายูดาย และฝากตัวเป็นศิษย์ของโยฮัน เมื่อมีอายุประมาณ30 ปีได้เลื่อนประกาศศาสนา สั่งสอนประชาชนชาวยิว ทรงเรียกตนว่าเป็นบุตรพระเจ้า การประกาศศาสนาของพระเยซูในครั้งนี้ไปสอนคล้องกับความคิดความเชื่อของชาวยิว ในขณะที่เชื่อว่าจะมีพระผู้ไถ่บาป (The messiah) มาช่วยให้ยิวพ้นทุกข์ พระเยซูดำเนินประกาศศาสนาได้เพียง3ปี ก็ถูกประหารด้วยการตรึงไม้กางเขน หลังจากนั้นศิษย์ได้ดำเนินการเผยแผ่ศาสนาไปยังสถานที่ต่างๆ ลูกศิษย์คนสำคัญคือ ปีเตอร์หรือเซนต์ปีเตอร์ ผู้ดำเนินการประกาศศาสนาในกรุงโรมเป็นการตั้งรากฐานคริสต์จักร เป็นครั้งแรกในจักรวรรดิโรมัน ส่วนศิษย์อีกคนหนึ่งคือ ปอล หรือ เซนต์ปอล ได้ดำเนินการประกาศศาสนาคริสต์ในดินแดนตะวันออกกลาง และคำสอนของเซนต์ปอล ได้แผ่ไปถึงกรีกเซนต์ปอล ได้ทำให้ศาสนาคริสต์แผ่หลายไปยังดินแดนต่างๆมากยิ่งขึ้นโดยวางหลักปฏิบัติทางศาสนาด้วยการจัดตั้งองค์การศาสนาและระบอบการบริหารงานให้มีประสิทธิ์ภาพ นอกจากนี้แล้วเซนต์ปอลยังได้เสนอแนวความคิดว่าศาสนาคริสต์มีความเป็นสากลเพราะพระเยซูคริสต์ มิได้มาไถ่บาปได้เพียงเฉพาะชาวยิวเท่านั้น หากแต่ทรงมาไถ่บาปให้แก่มวลมนุษย์ ซึ่งมีบาปติดมาแต่กำเนิดมนุษย์ จะรอดพ้นจากบาปก็การมีศรัทธาและความเชื่อต่อพระเจ้าที่พระเยซูทรงสั่งสอน คำสอนของพระเยซูถูกบันทึกไว้ในคัมภีย์ (The newtestamnt) ซึ่งคำสอนเหล่านี้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้อง ศาสนายูดายกล่าวคือ
1. เชื่อในพระเจ้าองค์เดียวคือพระยะโฮวาห์ซึ่งแบ่งเป็นสามิติคือพระบิดา(The father) พระบุตร (The son) พระจิต (The holyghost) เรียกว่าไตรเทพ นอกจากนี้ยังเชื่อในคำพยากรณ์ทางศาสนา พยากรณ์อื่นๆในคัมภีย์เก่า
2. เน้นคุณค่าของความรักซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะตัวของศาสนาคริสต์มีความเมตตามีความเอื้อเฟื้อต่อกัน มีความห่วงใยฉันท์พี่น้องสิ่งเหล่านี้พระเจ้าประทานให้แก่มนุษย์เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ทรงประทานให้กับมนุษย์ทุกคนล้วนหน้าเสมอกัน ไม่ว่าจะเป็นคนดี คนเลวคนรวยหรือคนจน ก็ตาม ซึ่งเป็นการยกระดับฐานะบุคคลในสังคมให้ทัดเทียมเสมอภาค นอกจากนี้ยังสร้างความหวังในโลกหน้าโดย ได้ให้สัญญาแห่งความรักของพระเป็นเจ้าและการมีสิทธิจะมีสิทธินิรันดร์ ในอาณาจักรของพระองค์
3.เน้นการมีศรัทธาต่อพระผู้เป็นเจ้า การกระทำเป็นสิ่งที่แสดงออกถึงความศรัทธาต่อพระผู้เป็นเจ้าอย่างแท้จริง ด้วยการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวัน ประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้านอกจากนี้ยังปิบัติตามหลักการอื่นๆที่ปรากฎในพระคัมภีย์
4.พระเยซูเป็นบุตรของพระเจ้าเป็นผู้ไถ่บาปของมวลมนุษยชาติ ผู้ที่เจ้าเข้าถึงและปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระเยซู เท่านั้นที่จะผ่านเข้าสูอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้า และพระองค์เป็นผู้ปลดบาปที่ติดตัวมนุษย์มาแต่กำเนิด นอกจากนี้ยังยอมรับแนวคิดเรื่องวันตัดสินครั้งสุท้ายซึ่งเป็นวันที่พระผู้เป็นเจ้าทรงตัดสินว่าใครมีสิทธิใช้ชีวิตในอาณาจักรได้นิรันดร์
ด้วยแนวคิดในคำสอนของพรเยซูคริสต์และการเผยแผ่ศสานาของสานุศิษย์คนสำคัญดังกล่าว ยังมีผลให้ศาสนาคริสต์แพร่หลายไปยังชุมชนต่างๆโดยในระยะแรกเริ่ม แพร่หลายในหมูคนยากจนและค่อยๆขยายสู่พ่อค้าประชนทั่วไปที่ไม่ได้มีอภิสิทธิ์ในสังคมเข้าสู่ช่วงปลายของจักรวรรดิโรมัน ศาสนาคริสต์ที่นับถือจำนวนมากได้มีการเอาทฤษฎีการแข่งขันยุติธรรมของจักรวรรดิ กาเลติตุส ใน ค.ศ.311 ยอมให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาโดยเปิดเผยครั้นเมื่อจักรวรรดิ คอนแสตนดิน ครองอำนาจทรงประกาศองค์การแห่งมิลาน (Edict of
อย่างไรก็ตามลัทธิความเชื่อทางศาสนาที่กฎในจักรวรรดิโรมันมิได้มีเพียงแต่ศาสนาคริสต์เท่านั้น ยังมีลัทธิความเชื่ออื่นๆ อีกที่ควรกล่าวถึง คือ ลัทธิเพลได้ใหม่ ต(Neoplatonism) ผู้เสนอแนวคิดนี้คือ โพลไทนัส(ค.ศ.205-207) ได้กล่าวถึงความเป็นหนึ่งเดียวคือ สัจจะและความเป็นจริง ซึ่งเป็นเป็นความเต็มเปี่ยม เป็นเอกภาพ ความจริงดังกล่าวเป็นอนันตภาพไม่มีขอบเขตและอยู่เหนือความเข้าใจของมนุษย์ โพลไทนัส เรียกสิ่งนั้นว่าหนึ่งเดียวหรือThe one มนุษย์อาจรู้จักและเข้าถึงได้ด้วยการเข้าณาญเท่านั้น แนวความคิดดังกล่าวนี้สะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของโรมันในเวลานั้นว่า เหตุผลไม่อาจเข้ามาปลอบประโลมความผิดหวังต่อการมีชีวิตในโลกได้ ลัทธิเหตุผลนิยมของกรีกหาความหมายอะไรมิได้ ความจริงที่มีคุณค่าควรแก่การเรียนรู้อาจมีอยู่จริงแต่สิ่งนั้นอยู่เหนือความรู้ความเข้าใจของมนุษย์ คนทั่วไปในยุคนี้จึงไม่คิดหาเหตุผลเพื่อสนับสนุนความเชื่อทางศาสนาใดๆ แต่สิ่งที่ปรารถคือ การสามารถรวมตัวเข้ากับพระผู้เป็นเจ้าในแบบลึกลับต่างๆ
ส่วนทางด้านปรัชญาความคิด รับแนวความคิดทางปรัชญามาจากกรีกโดยเฉพาะแนวคิดของพวกสโตอิด เรื่องความมีเหตุผลความยุติธรรมตามธรรมชาติและความเท่าเทียมกันมาใช้ในกฎหมายโรมัน กลุ่มนักปรัชญา คือ
กลุ่ม Scipionic cricle ได้เสนอแนวคิดเรื่องความเท่าเทียมกันของมนุษย์ซึ่งทำให้เกิดความยุติธรรมในรัฐ และเสนอเรื่องความเป็นหนึ่งอันเดียวกันของเชื่อชาตินอกจากนี้ โพลีบิอุส เสนอแนวคิดว่า ระบบการปกครองแบบผสมเป็นระบบการปกครองที่ดีที่ป้องกันมิให้เสื่อมไปตามธรรมชาติ โดยกล่าวว่าโลกที่โรมันปกครองเป็นรัฐโลกเพราะได้ปรับอำนาจของสถานบันปกครองให้มีความสมดุล โดยที่กงสุลมีลักษณะเป็นแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สภาเซเนทมีลักษณะเป็นแบบอภิชนาธิปไตย สภาราษฎร์มีลักษณะเป็นแบบประชาธิปไตย ทั้ง 3 สถานบัน ต่างมีอำนาจตรวจสอบซึ่งกันและกัน อันเป็นการจัดสมดุลอำนาจทางการเมืองในระบบ Check and Balance
ซิเซโร เห็นด้วยกับความคิดว่าระบบการเมืองแบบผสมทำให้เกิด Check and Balance ผลสำคัญของซิเซโรคือการเอาความคิดเรื่องกฎธรรมชาติมาผนวกกับลัทธิสโตอิดโดยถือว่ากฎธรรมชาติ คือ รัฐธรรมนูญของรัฐโลก กฎนี้ไม่เปลี่ยนแปลงและใช้สำหรับทุกคน (ในแง่นี้ทุกคนจึงเท่าเทียมกัน) สิ่งใดที่ขัดกับกฎนี้จะถือเป็น กฎหมายมิได้
ซิเซโรมองว่าการมีคนมารวมกันเป็นประชาคมจะต้องการยอมรับกฎหมายสิทธิและประโยชน์ส่วนร่วม ซึ่งทำให้เกิด 3 ประการ คือ
1.รัฐและกฎหมายเป็นสมบัติของประชาชน เกิดจากการรวมกันแห่งอำนาจของประชาชน
2.อำนาจการเมืองที่ใช้อย่างถูกต้องจะสอดคล้องกับอำนาจขอประชาชน
3.รัฐและหมายของรัฐอยู่ใต้กฎของพระเจ้าในลักษณะเช่นนี้เป็นการยอมรับว่าประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจ และการปกครองต้องได้รับความยินยอมจากประชาชน
เซเนกา ได้รับอิทธิพลจากลัทธิสโตอิกเช่นเดียวกับซิเซโร แต่ได้เน้นสังคมมากกว่ารัฐและมีความผูกพันกับศีลธรรมมากกว่ากฎหมายการเมือง นอกจากนี้ยังได้แยกประโยชน์ทางโลกออกจากประโยชน์ทางวิญญาณ ลักษณะความคิดของเซเนกาเป็นศาสนา 2 ประการ คือถือว่าบาปเป็นธรรมชาติของมนุษย์ และเน้นที่ความเข้าใจกันความสุภาพ คุณธรรม
ความคิดเห็น