ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    อารยธรรม โรมัน

    ลำดับตอนที่ #5 : เศรษฐกิจ

    • อัปเดตล่าสุด 13 ต.ค. 49


                โดยพื้นฐานแล้วชาวโรมันประกอบอาชีพทางการเกษตรกร    โดยเฉพาะการทำนา  ซึ่งทำกันมากบริเวณที่ราบละติอุมมาตั้งแต่ก่อนถูกพวกอีทรัสปกครองและเมื่อถูกปกครองโดยอีทรัสกันแล้ว  ชาวโรมันส่วนใหญ่ก็ยังยึดอาชีพเดิมแม้ว่าจะได้เรียนรู้เทคนิค วิธีการค้าบางส่วนจากอีทรัสกันบ้างก็ตาม  ต่อมาเมื่อชาวโรมันเป็นอิสระจากการปกครองของอิสรัสกันและสถาปนาการปกครองสาธารณรัฐ  ขณะเดียวกันได้เผยแผ่ขยายอาณาเขตของงตนจากที่อยู่เฉพาะในบริเวณที่ราบละติอุม  โดยมีกรุงโรมเป็นศูนย์กลางไปสู่การปกครองดินแดนต่างๆ ตลอดทั้งคาบสมุทรอิตาลินั้นสาเหตุปัจจัยหนึ่งมาจากความต้องการที่ดินเพื่อใช้ในการเกษตรกรรม  ในระยะนี้เป็นเกษตรกรรมขนาดเล็กที่เกษตรกรรายย่อยต่างมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินของตนเองและใช้แรงงานในครอบครัวเป็นหลัก  ครั้นเมื่อโรมันทำสงครามปูนิค สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากความต้องขจัดคู่แข่งทางการค้า  ภายใต้การสนับสนุนของพ่อค้าองุ่นและผลไม้ มีการทำสงครามครั้งนี้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงลักษณะทางการเกษตรไปทีละเล็กละน้อย  จากการเกษตรขนาดเล็กไปสู่ขนาดใหญ่ (Latifundia)  ที่ต้องอาศัยเงินทุนจำนวนมาก  และมีการใช้แรงงานทาสที่ได้จากเชลยสงคราม  ขณะเดียวกันเกษตรกรรายย่อยค่อยๆสูญเสียที่ทำกิน อันเนื่องมาจากการที่ทำกินขาดความสมบูรณ์ ทำการเกษตรไม่ได้ผล  เพราะพื้นที่ทำกินกลายเป็นสมรภูมิมาเป็นเวลานาน  ส่งผลให้เกษตรกรรายย่อยขายที่ดินให้เกษตรกรรายใหญ่ และได้อพยพไปพำนักในกรุงโรมเป็นจำนวนมากเกษตรกรที่สูญเสียที่ดินเหล่านี้มิได้ประกอบอาชีพใดๆ จึงเป็นภาระของรัฐในการเลี้ยงดูและหาสิ่งบันเทิงใจให้กับคนเหล่านั้น  เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ก่อจลาจล

                ในลักษณะเช่นนี้ทำให้ประชาชนพลเมืองโรมันส่วนใหญ่มีฐานะยากจนไม่มีทั้งที่ทำกินและที่อยู่อาศัย  ความแตกต่างของฐานะทางเศรษฐกิจระหว่างพวกแพทริเชียนกับเพลเบียนมีมากขึ้นทุกที และได้มีความพยายามในการแก้ปัญหาเหล่านี้ เช่น

    1.  การออกกฎหมายลิคซีเนียน (Licinian  Law) ซึ่งเป็นกฎหมายจำกัดการครอบครองที่ดินได้มาจากการทำสงคราม แต่ด้วยอิทธิพลของชนชั้นสูงกฎหมายดังกล่าวจึงไม่มีผลบังคับใช้

    2.  การปรับปรุงทางเศรษฐกิจของพี่น้องตระกูลกรักกุส  ที่พยายามจำกัดการครอบครอง  ที่ดินของเจ้าของที่ดินรายใหญ่และให้ที่นาแก่เกษตรรายย่อยในดินแดนที่ยึดครองมาได้  การปรับปรุงดังกล่าวนี้แม้ว่าจะไม่สัมฤทธิ์ผลทั้งหมด แต่ข้อเสนอบางอย่างได้ถูกนำมาใช้ในระยะเวลาต่อมา

    อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีความพยายามแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจด้วยมาตรการต่างๆก็ตาม  สถานะของพวกเพลเบียนก็ไม่ดีขึ้นไปกว่าเดิมเท่าไหร่นัก  การแก้ไขปัญหาของรัฐในแต่ละช่วงสมัยเป็นปัญหาเฉพาะหน้าเช่น ซีฮาร์แก้ปัญหาความยากจนและความขาดแคลนของพลเมืองดรมันด้วยการรับเลี้ยงดูคนเหล่านั้น จัดหาอาชีพได้แก่การก่อสร้างทางหลวง การชลประทาน

                ขณะที่พวกเกษตรกรรายย่อยต่างๆ ล่มสลายกลายเป็นคนยากจนไม่มีที่ทำกินและอาชีพนั้นได้เกิดคนกลุ่มหนึ่งที่ค่อยๆสร้างฐานะและเข้ามามีบทบาททางการค้าและในที่สุดได้มีบทบาททางการเมืองด้วย  คนกลุ่มนั้นคือพวกพ่อค้าและนักธุรกิจที่ร่ำรวยเรียกว่า อีเควสเทเรียน

                ต่อมาเมื่อโรมันสามารถขยายอาณาเขตได้กว้างใหญ่ไพศาลจนไม่มีรัฐใดมีอำนาจเทียบเทียมได้ในระยะเวลานั้น โรมันได้เปลี่ยนแปลงสถานะจากอนาจักรมาเป็นจักรวรรดิ และเปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากสาธารณรัฐมาเป็นจักรวรรดิตั้งแต่27 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นต้นมา ได้ส่งผลทำให้ลักษณะทางเศรษฐกิจของโรมันเปลี่ยนแปลงไปด้วยกล่าวคือ การเกศตรกรรมค่อยๆ ลดบทบาทลงไปการค้าค่อยๆเข้ามาแทนที่ ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากการที่โรมันได้ครอบครองดินแดนเป็นจำส่วนมากทำให้เส้นทางการค้ามีความมั่นคง ปลอดภัย ประชาชนที่อยู่ในความครอบครองของจักรวรรดิโรมันสามารถเดินทางติดต่อไปมาค้าขายได้สะดวก ปราศจากโจรผู้ร้าย เช่น ในสมัยออกุตุส ซีซาร์ขึ้นครองอำนาจได้จัดให้มีกองทัพบกประจำตามแนวพรมแดน กองทัพเรือประจำอยู่ในเมืองท่าสำคัญๆทำให้น่านน้ำในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนปลอดภัยจากพวกโจรสลัด ความเจริญทางการค้าจึงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสภาพความมั่นคงของจักรวรรดิเป็นอย่างมาก

                สภาพการค้าในจักรวรรดิโรมันแบ่งออกเป็น2 ลักษณะ คือการค้าภายในและการค้าภายนอก ซึ่งมีเงินตราเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

                การค้าภายใน(กรุงโรม) มีเอกชนเป็นผู้ประกอบการ ซึ่งประกอบอาชีพหลากหลายแล้วแต่ความสามารถและความถนัดของแต่ละคน เช่น ตัดเย็บเสื้อผ้า ก่อสร้าง ปิ้งขนมปัง รับจ้างขนถ่ายสินค้า ศิลปิน เป็นต้น

                การค้าภายนอก(ดินแดนต่างๆภายในจักรวรรดิและนอกจักรวรรดิ)มีกรุงโรมและเมือง อเล็กซานเดรีย(ในอียิปต์)เป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ มีสินค้าจากดินแดนต่างๆเป็นจำนวนมากได้แก่ ข้าว อาหาร (เนื้อสัตว์และขนสัตว์) ผ้าไหม ลินิน เครื่องแก้ว เพชรพลอยจากตะวันออก เครื่องเทศจากอินเดีย ผ้าทอ เครื่องชามจากอิตาลี โกล และสเปน งานหัตถกรรมจากกรีก

    ส่วนรายได้ของรัฐบาลจากการจัดเก็บภาษีจากประชาชนที่ประกอบอาชีพต่างๆ การจัดเก็บค่าเช่าจากเจ้าของที่ดิน การจัดเก็บภาษีการค้า นอกจากนี้แล้วโรมันยังมีรายได้หลักที่มาจากการทำสงครามขยายอาณาเขตไปยังดินแดนต่างๆ ได้แก่ทรัพย์สินเงินทอง แรงงานทาสจากเชลยศึกสงคราม ที่ดิน และภาษี ซึ่งในดินแดนบางแห่งจัดเก็บภาษีทางตรงบางแห่งจัดเก็บภาษีทางอ้อมในรูปของการเสียภาษีทางการค้า  การเกณฑ์ทหารหรือแรงงานสำหรับรายจ่ายใช้จ่ายในการจัดกองทัพ  การว่าจ้างกองทัพทหารต่างชาติ  การเลี้ยงดูประชากรที่ไร้ที่ทำกิน  ก่อสร้างและบำรุงดูแลสิ่งสาธารณูปโภค และงานสาธารณะต่างๆ

                ในช่วงปลายของจักรวรรดิโรมันสภาวะทางเศรษฐกิจค่อยๆเสื่อมลงทีละน้อย  จากการที่โรมันเสียดุลการค้ากับดินแดนต่างๆที่อยู่ในความครอบครองของโรมัน  เพราะดินแดนเหล่านี้สามารถทำการทำการผลิตสินค้าในแต่ละชนิดแต่ละประเภทได้ดีกว่าโรมัน จึงส่งสินค้ามาตีตลาดในกรุงโรม  กรุงโรมกลายสภาพเป็นตลาดสินค้าจากดินแดนต่างๆทำให้รัฐบาลต้องใช้รายได้ของรัฐจ่ายค่าสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นจำนวนมากจนต้องลดค่าเงินเหรียญโรมัน และนำไปสู่การเกิดเงินเฟ้อ  เงินเหรียญโรมันไม่มีค่า เมื่อระบบเศรษฐกิจเงินตราล่มสลายไป เกิดลักษณะทางเศรษฐกิจในระบบการแลกเปลี่ยนสินค้าและแรงงานแทนที่

                นอกจากนี้แล้วบรรดาชาวนาและสามัญชนทั่วไปต้องรับภาระในการเสียภาษีที่ไม่เป็นธรรมให้แก่รัฐ  เพราคนเหล่านี้มีฐานะยากจนอยู่แล้ว แต่ต้องเสียภาษีเป็นจำนวนมาก  ไม่มีอภิสิทธิ์ใดๆที่จะยกเว้นการเสียภาษีเหมือนเช่นชนชั้นสูงและกองทัพ  ประกอบกับในระยะหลังของสมัยจักรวรรดินิรัฐไม่มีรายได้ที่มาจากการทำสงคราม แต่ขณะเดียวกันก็คงมีรายจ่ายเป็นจำนวนมาก ดังนั้นพวกชาวนา  พวกพ่อค้ารายย่อยๆและสามัญชนทั่วไปจึงถูกขูดรีดภาษีอย่างหนัก

                ด้วยสภาวะเศรษฐกิจดังกล่าวทำให้ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนมีมากขึ้น และจำนวนคนจนมีเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากจนเป็นภาระอย่างหนักให้กับรัฐ  การที่รัฐไม่สามารถจัดการกับปัญหาทางเศรษฐกิจได้  ทำให้สภาพทางเศรษฐกิจของโรมันอ่อนแอ และในที่สุดนำไปสู่การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันซึ่งถ้าหากโรมันสามารถจัดการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ และจัดวางระบบการบริหารทางเศรษฐกิจอย่างดีแล้วย่อมรักษาความมั่งคั่งและมั่นคงให้กับจักรวรรดิได้ดียิ่งขึ้น เพราะจักรวรรดิโรมันมีความได้เปรียบในแง่ความสามารถควบคุมพื้นที่ต่างๆที่เป็นเส้นทางการค้าที่เชื่อมโยงดินแดนต่างๆภายในจักรวรรดิด้วยการสร้างถนนที่ได้ชื่อว่ามีประสิทธิภาพดีที่สุด แต่เนื่องจากปัญหาภายในโดยเฉพาะทางด้านการเมือง  ทำให้จักรวรรดิโรมันไม่สามารถทำการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง  ปล่อยให้ปัญหาทางเศรษฐกิจสั่งสมมาทีละเล็กทีละน้อยจนในที่สุดกลายเป็นเครื่องบั่นทอนจักรวรรดิโรมันให้อ่อนแอ  ที่ดินรายใหญ่ที่อาศัยแรงงานทาส และมีเงินทุนจำนวนมาก

    ในการลงทุนทางด้านการเกษตรกรรมจึงต้องขายที่ดินให้กับเจ้าของที่ดินรายใหญ่และตนเองมุ่งหน้าสู่กรุงโรมเพื่อหางานทำ  แต่ก็ต้องประสบกับปัญหาการว่างงาน  พวกชาวนาเหล่านั้นจึงหาทางออกด้วยการเข้าไปอยู่ในอุปการะของคนที่ร่ำรวย  นักการเมือง สมาชิกสภาเซเนท เพื่อคอยให้การสนับสนุนในทางการเมืองด้วยการลงคะแนนให้กับเจ้านายของตน

                ในช่วงระยะขยายไปสู่ความเป็นจักรวรรดิได้เกิดชนชั้นใหม่ขึ้นมาคือพวกอีเควสเทเรียน  ได้แก่พ่อค้าและนักธุรกิจที่ร่ำรวย  คนเหล่านี้มีอยู่ในทุกระดับของสังคม  มีความขยันขันแข็งทำงานหนัก  ประการสำคัญได้เข้ามามีบทบาท  มีอิทธิพลในสังคม  และการเมืองด้วยการสร้างความสัมพันธ์กับชนชั้นผู้ไร้สมบัติเพื่อเป็นพื้นฐานเสียงให้กับตนเอง

                ส่วนเรื่องการขยายสิทธิความเป็นพลเมืองโรมันในระยะนี้มิได้จำกัดเพียงเฉพาะผู้ที่นับถือกำเนิดเป็นชาวโรมันเท่านั้นหากได้ขยายไปสู่ชนเหล่านี้กลายเป็นผู้มีอภิสิทธิ์ในการเมือง เศรษฐกิจและสังคมทำให้ชนกลุ่มอื่นที่อยู่ตามจังหวัดต่างๆไม่พอใจชาวโรมันที่มิได้รับสิทธิความเป็นพลเมือง โรมันจึงอพยพไปตั้งถิ่นฐานในดินแดนต่างๆและพัฒนาขึ้นมาจนมีความเจริญ มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจทัดเทียมกับอิตาลีแต่ชนเหล่านั้นก็ยังมิได้รับสิทธิทางการเมืองการบริหารจึงทำให้เกิดความไม่พอใจมากยิ่งขึ้นสิ่งเหล่านี้จึงเป็นช่องทางที่ทำให้ชนกลุ่นนั้น คลายความจงรักภักดีต่อกรุงโรมไม่เป็นประโยชน์ส่วนรวมความเป็นอันหนึ่งงันเดียวกันของโรมัน ซึ่งแทบจะไม่ค่อยมีอยู่แล้วกลับยิ่งเหินห่างมากยิ่งขึ้น  ทุกคนทำเพื่อส่วนตัว  ความเสื่อมคลายของประชาชนที่มีต่อโรมัน เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้นำมาซึ่งความล่มสลายของจักรวรรดิโรมันในที่สุด

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×