ลำดับตอนที่ #2
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #2 : บทที่ 3
บทที่3
วิธีการดำเนินงาน
3.1 วัสดุอุปกรณ์
ในการศึกษาเรื่องใยกล้วยขัดผิวมีวัสดุอุปกรณ์ ดังต่อไปนี้
3.1.1 ลำต้นของกล้วยมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15 เซนติเมตร ยาวประมาณ40-50 เซนติเมตร 1 ลำ
3.1.2 มีเล่มใหญ่สำหรับตัดและผ่าต้นกล้วย 1 เล่ม
3.1.3 กะละมังสำหรับแช่ต้นกล้วย 1ใบ
3.1.4 ท่อพีวีซีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง1.25นิ้ว ยาว5-6นิ้ว 1อัน
3.1.5 ท่อพีวีซีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.75นิ้ว ยาว5-6นิ้ว 1อัน
3.1.6 ยางหนังสติ๊ก 4 เส้นต่อใยขัดผิว 1 ก้อน
3.1.7 เชือกเส้นเล็ก 1ม้วน
3.1.8 ดินสอ สมุด อุปกรณ์สำหรับจดบันทึก
3.1.9 สบู่เหลว1ขวด(เล็ก)
3.2 ขั้นตอนการปฏิบัติการ
ในการศึกษาเรื่องใยกล้วยขัดผิวมีวิธีการดำเนินงาน ดังนี้
3.2.1 ศึกษาสิ่งที่มีอยู่ในปัจจุบัน ฟองน้ำใยกล้วยเป็นสินค้าที่กำลังได้รับการตอบรับ เป็นสินค้าดาวเด่นที่ต้องการมาก เนื่องจากว่าวิถีชีวิตตระหนักถึงความเป็นธรรมชาติ จากภูมิปัญญาของผู้เฒ่าผู้แก่ที่ใช้เชือกกล้วยผูกมัดสิ่งของเครื่องใช้ ครั้งแรกของการทดลองทำผลิตภัณฑ์จากต้นกล้วย การทำกระดาษจากใยกล้วย ประสบความสำเร็จไม่มากนัก ต่อมาก็พัฒนามาเป็น sponge (ฟองน้ำ) จากใยกล้วย เมื่อฟองน้ำประสบความสำเร็จก็จะพัฒนาไปสู่การทำเสื้อผ้าใยกล้วย (คล้ายเสื้อใยกันชงของทางภาคเหนือ) พัฒนาการสูงสุดของใยกล้วยที่ตั้งเป้าไว้คือเสื้อเกราะกันกระสุนและเส้นใยกล้วยคล้ายเสื้อเส้นใยสับปะรดของประเทศฟิลิปปินส์(http://www.chumchonthai.or.th ,2550)
3.2.2 ออกแบบผลิตภัณฑ์ และคิดค้นสิ่งที่จะทำหรือแบบจากสิ่งที่มีอยู่ในปัจจุบัน การออกแบบและคิดค้นใยกล้วยขัดผิวได้พัฒนามาจากฟองน้ำจากใยกล้วยให้มีการขึ้นรูปให้มีเส้นใยเหนียวละเอียดเหมาะสำหรับการใช้ในการขัดผิวที่หยาบๆเช่น มือ เท้า มีขนาดเหมาะในการขัดและมีวิธีการที่ง่ายสามารถทำได้เอง
3.2.3 ปรับปรุงรูปแบบพัฒนารูปแบบให้มีความสะดวกและมีกลิ่นหอมให้มีลักษณะน่าใช้มากขึ้นโดยนำใยกล้วยที่ขึ้นรูปอัดเป็นก้อนมาแช่ในน้ำสบู่เหลวเพื่อให้มีกลิ่นหอมมากยิ่งขึ้น
3.2.4 ลงมือทำและปรับปรุงแก้ไข ในการทำใยกล้วยขัดผิวมีวิธีการทำดังนี้
1) ตัดต้นกล้วยที่มีความสมบูรณ์ ลำต้นต้นขนาดปานกลางตัดขวางเป็นทรงกระบอกที่มีความยาวประมาณ1.5 ฟุต หรือประมาณ 45 เซนติเมตร
2) ต้นกล้วยที่ตัดมาผ่าเป็นซีกๆประมาณ6-8ซีกตามความเหมาะสมของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นกล้วย
3) นำต้นกล้วยที่ผ่าเป็นซีกๆไว้มาแช่ในกะละมังใส่น้ำให้เต็มทิ้งๆไว้ประมาณ 9-14วันตามความเหมาะสมของการเปื่อยยุ่ย
4) นำต้นกล้วยที่แช่น้ำไว้เปลี่ยนน้ำแล้วซักให้เนื้อกล้วยออกให้หมดให้เหลือแต่เส้นใยกล้วยล้วนๆ
5) นำเส้นใยกล้วยไปล้างน้ำอีก1ครั้งแล้วนำไปตากแดดให้แห้ง
6) นำท่อพีวีซีท่อใหญ่มาใช้ถุงรัดปลายท่อข้างหนึ่งด้วยยางหนังสติ๊กท่อเล็กใช้วัสดุอื่นมาใช้อุดรูให้ตันในข้างหนึ่ง
7) นำเส้นใยกล้วยที่แห้งแล้วมาใส่ในท่อพีวีซีท่อใหญ่โดยใส่ใยให้สูงประมาณ
7-9 เซนติเมตรแล้วใช้ท่อพีวีซีท่อเล็กอุดเขเท่อใหญ่กดให้แน่นหลายๆครั้ง
8) แก้หนังสติ๊กกับแกะถุงพลาสติกที่ปลายท่อใหญ่ออกแล้วนำมามัดอีกครั้งด้วยเชือก อาจนำยางหนังสติ๊กรัดก่อนเพื่อให้มัดด้วยเชือกได้ง่ายแล้วจึงนำเชือกมามัดทีหลังแล้วตักยางหนังสติ๊กออกเพื่อไม่ให้ใยกล้วยที่อัดไว้หลุดออกมา
9) นำน้ำสบู่มาแช่ใยกล้วยที่อัดไว้ให้น้ำซึมเข้าไปข้างในแล้วตากแดดให้แห้ง
10) ได้ใยกล้วยที่หอมพร้อมสำหรับใช้งาน
3.3 นำใยกล้วยที่ได้ไปทดลองใช้และเก็บข้อมูล
นำใยกล้วยที่ได้ไปทดลองใช้ ในการใช้ทำได้โดยการนำคราบสกปรกตัวอย่างเช่น เขม่าควัน เศษดิน สี ยางผลไม้ ฯลฯ มาทาบริเวณขา เท้า หรือมือ ซึ่งเป็นผิวที่มีความหนาแล้วนำมาเปรียบกับการเทียบล้างด้วยน้ำเปล่ากับการขัดด้วยใยกล้วยแล้วดูว่าใยกล้วยสามารถขัดสิ่งสกปรกได้ดีกว่าน้ำเปล่าหรือไม่ พร้อมทั้งเก็บข้อมูลทางการใช้ เช่นลักษณะรูปร่างที่ใช้ มีกลิ่นหอม ไม่เป็นอันตรายต่อผิว นิ่ม สามารถซับน้ำได้ดีเหมาะสำหรับการทำเป็นใยขัดผิวหรือไม่ และมีความทนทานและแข็งแรงเป็นอย่างไรบ้าง ใช้ได้นานแค่ไหนอย่างไร เป็นต้น
3.4 จากต้นกล้วยสู่ ใยกล้วยขัดผิว
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าต้นไม้ย่อมมีใย ดังเช่นต้นกล้วย ที่มีสารพัดประโยชน์แตกต่างกันไป เว้นเสียแต่ใยกล้วยที่ยังไม่ได้รับการพัฒนามาเป็นรูปแบบหรือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายนัก จากในสมัยก่อนผู้เฒ่าผู้แก่ที่ใช้เชือกกล้วยผูกมัดสิ่งของเครื่องใช้ ทางผู้จัดทำได้เล็งเห็นถึงประโยชน์จากเส้นใยกล้วยมาพัฒนามาเป็นเส้นใยกล้วยขัดผิวโดยใช้กรรมวิธีที่ง่ายและสามารถทำใช้ได้เองในครัวเรือน ใยกล้วยที่ได้จะนิ่มและสามารถซับน้ำได้ดีเหมาะสำหรับการทำเป็นใยขัดผิวได้ดี( http://www.chumchonthai.or.th ,2550)
3.5 ลักษณะการทำงาน
ใยกล้วยขัดผิวใช้สำหรับขัดผิวธรรมดาเหมาะสำหรับผู้ที่มีผิวไม่บางมากนัก ไม่ควรใช้ขัดบริเวณใบหน้าที่เป็นผิวอ่อน ควรใช้ขัดบริเวณผิวที่มีความหนาเช่น ขา รวมทั้งสามารถใช้ขัดในการทำความสะอาดมือและเท้าได้เป็นอย่างดี ใช้ในการขัดคราบสกปรกที่ติดตามผิวหนังที่หนาและสามารถขัดสิ่งสกปรกออกได้ดี
3.6 ขั้นการทดสอบ
คิดวิธีการโดยมีการทดสอบในการขัดผิว ทำได้โดยการนำคราบสกปรกตัวอย่างเช่น เขม่าควัน เศษดิน สี ยางผลไม้ ฯลฯ มาทาบริเวณขา เท้า หรือมือ ซึ่งเป็นผิวที่มีความหนาแล้วนำมาเปรียบกับการเทียบล้างด้วยน้ำเปล่ากับการขัดด้วยใยกล้วยแล้วดูว่าใยกล้วยสามารถขัดสิ่งสกปรกได้ดีกว่าน้ำเปล่าหรือไม่ และใช้ทดสอบโดยการแจกจ่ายบุคคลในครอบครัวและเพื่อนๆได้ทดลองใช้ ผู้ที่ทำการทดลองใช้มีจำนวนทั้งสิ้น 10 คนได้มีการให้ผู้ที่ทดลองใช้ทำแบบสอบถาม โดยมีเกณฑ์ในการเปรียบเทียบ ว่าเป็นอย่างไรแล้วเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้นำไปเรียบเทียบกับการล้างด้วยน้ำเปล่า แล้วนำผลที่ได้มาสรุปผลแล้ววิเคราะห์ผล
3.7 วิธีการบันทึกผล
บันทึกผลโดยการรวบรวมข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามในหัวข้อต่างๆที่มีในแบบสอบถามนำมาคิดเป็นเปอร์เซ็นต์มีการนำเสนอในรูปแบบของตารางและมีการเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ใช้ออกมาในการนำเสนอในรูปแบบของกราฟ
ตัวอย่างตารางการบันทึกผลการทดลองในการขัดด้วยเส้นใยและน้ำเปล่า
การทำความ สิ่งสกปรก ข้อแตกต่างระหว่างการขัดด้วยเส้นใยขัดผิวกับการล้างด้วยน้ำเปล่า
สะอาด ที่ใช้ การขัดด้วยเส้นใยขัดผิว การล้างด้วยน้ำเปล่า
เศษดิน
คราบสี
ยางผลไม้
น้ำยาลบคำผิด
คราบอาหาร
ตัวอย่างแบบทดสอบความพึงพอใจในการใช้
หัวข้อ ระดับความพึงพอใจ
4 3 2 1
1. รูปแบบเหมาะสมในการจับ
2. มีสีและกลิ่นดี
3.มีความปลอดภัยต่อธรรมชาติ
4.มีความแข็งแรงทนทาน
5.การใช้งานได้ดี
6.ใช้วัสดุอุปกรณ์เหมาะสม
7.มีความคิดสร้างสรรค์ในการทำ
รวม
***หมายเหตุ 4 = มีความพึงพอใจมากที่สุด 3 =มีความพึงพอใจมาก
2 =มีความพึงพอใจปานกลาง 1 =มีความพึงพอใจน้อย
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น