ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    การรมดิน

    ลำดับตอนที่ #1 : การรมดินและเมทิลโบรไมด์

    • อัปเดตล่าสุด 19 พ.ค. 51


    สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน

    จากการศึกษาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ โดยสถาบันค้นคว้านานาชาติพบว่าตัวการสำคัญที่ให้ปริมาณโอโซนในชั้นสตราโทสเฟียร์ลดลงจนเกิด “ หลุมโอโซน ” นั้นเป็นสารเคมีในกลุ่มฮาโลคาร์บอนที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรม
    สารฮาโลคาร์บอน (HALOCARBONS) เป็นชื่อเรียกรวมๆ ของสารเคมีประเภท Halogenated Hydrocarbons โดยเป็นโมเลกุลประกอบด้วย Halogens (Cl,Br,F) และ Carbon (C) แบ่งเป็นประเภทสำคัญๆ ได้แก่



    สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbons)

    สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน หรือสารซีเอฟซี ( CFCs) เป็นสารประกอบระหว่าง คาร์บอน คลอรีนและฟลูออรีน เพื่อนำมาใช้เป็นสารทำความเย็นในเครื่องปรับอากาศแทน NH 3 หรือ SO 2 ซึ่งเป็นก๊าซที่มีพิษและเป็นอันตราย
    คุณสมบัติของสารซีเอฟซี คือ ไม่ติดไฟ ไม่กัดกร่อน มีความเป็นพิษน้อย ไม่ระเบิด และมีความคงตัวสูง จึงได้มีการพัฒนาสารซีเอฟซี อื่นๆ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในกิจการอื่นๆ เช่น กิจการแพทย์ การล้างชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น สารซีเอฟซีที่ใช้ในอุตสาหกรรม มีดังนี้
    CFC -11
    สูตรทางโมเลกุล : CCl 3 F
    จุดเดือด : 23.8 °c
    ใช้ในอุตสาหกรรม : ห้องเย็น เครื่องทำน้ำเย็นที่ใช้ในระบบปรับอากาศขนาดใหญ่ การผลิตโฟม และการผลิตกระป๋องสเปรย์
    CFC-12
    สูตรทางโมเลกุล : CCl 2 F 2
    จุดเดือด : -30 °c
    ใช้ในอุตสาหกรรม : ตู้เย็น/ตู้แช่ ระบบปรับอากาศรถยนต์ การผลิตโฟม การผลิตกระป๋องสเปรย์
    CFC-113
    สูตรทางโมเลกุล : CClF 2 CCl 2 F
    จุดเดือด : 47.6 °c
    ใช้ในอุตสาหกรรม : ล้างชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์  
    CFC-114
    สูตรทางโมเลกุล : CClF 2 CClF 2
    จุดเดือด : 3.8 °c
    ใช้ในอุตสาหกรรม : การผลิตโฟม การผลิตกระป๋องสเปรย์
    CFC-115
    สูตรทางโมเลกุล : CClF 2 CF 3
    จุดเดือด : -39.1 °c
    ใช้ในอุตสาหกรรม : ล้างชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ การผลิตโฟม

     
    สารเฮลอน (Halons)
    เป็นสารดับเพลิงชนิดหนึ่งที่มีประสิทธิภาพสูง มีน้ำหนักเบา สามารถดับเพลิงได้รวดเร็ว และไม่ทิ้งคราบตกค้างหลังการใช้งาน แต่มีศักยภาพในการทำลายชั้นบรรยากาศสูงกว่าสารซีเอฟซีมากที่สุดถึง 10 เท่า ได้แก่
    Halon -1211
    สูตรทางโมเลกุล : CF 2 BrCl
    จุดเดือด : -3.88 °c ใช้เป็นสารดับเพลิงในระบบดับเพลิงชนิดหูหิ้ว (Portable)
    Halon - 1301
    สูตรทางโมเลกุล : CF 3 Br
    จุดเดือด : -57.8 °c
    ใช้เป็นสารดับเพลิงในระบบดับเพลิงชนิดติดตั้งอยู่กับที่ (Fixed System) และในการคมนาคม เช่น เครื่องบินพาณิชย์/เครื่องบินรบ เป็นต้น


    คาร์บอนเตตระคลอไรด์ (CARBON TETRACHLORIDE)
    เป็นของเหลว ไม่มีสี หนักกว่าอากาศประมาณ 5.3 เท่า มีกลิ่นเฉพาะตัว ไม่ละลายน้ำ และไม่ติดไฟ นิยมใช้ในอุตสาหกรรมการทำความสะอาดโลหะ การผลิตยาเม็ดเคลือบน้ำตาล และใช้เป็นตัวทำละลายในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ( LAB)
    คาร์บอนเตตระคลอไรด์ เป็นสารพิษ สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ตามระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหารและผิวหนัง เมื่อเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากพอจะเป็นอันตรายต่อตับและไต ส่งผลให้ตับและไตพิการ
     
    เมทิลคลอโรฟอร์ม ( METHYL CHLOROFORM)
    เมทิลคลอโรฟอร์ม มีสูตรทางโมเลกุลว่า CH 3 CCl 3 นิยมใช้เป็นสารชะล้างในอุตสาหกรรมการผลิตพื้นรองเท้าและนำมาใช้ทำความสะอาดเฉพาะที่ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ
    เมทิลโบรไมด์ ( METHYL BROMIDE)
    สารเมทิลโบรไมด์ เป็นสารเคมีที่นิยมใช้อย่างกว้างขวางในการรมกำจัดแมลงศัตรูพืชหลังการ เก็บเกี่ยว แมลงศัตรูพืชในโรงเก็บสินค้า งานด้านกักกันพืชเพื่อกำจัดศัตรูพืชที่ติดมากับพืชนำเข้า และยังได้มีการนำมาใช้รมดิน( Soil Fumigation ) เพื่อกำจัดไส้เดือนฝอย แมลง เมล็ดวัชพืช และเชื้อโรคพืชบางชนิดก่อนการเพาะปลูก
    เมทิลโบรไมด์มีข้อได้เปรียบกว่าสารรมอื่น ๆ สามารถฆ่าแมลงได้ทุกระยะการเติบโต มีความสามารถในการฟุ้งกระจายและแทรกซึมเข้าไปในสินค้าได้ดี ขณะเดียวกันก็สามารถระบายสารออกจากกองสินค้าได้เร็วเมื่อสิ้นสุดการรม และที่สำคัญคือใช้ระยะเวลาในการรมสั้นและเป็นสารไม่ติดไฟซึ่งจะทำให้การปฏิบัติงานง่ายขึ้น ในบรรยากาศปกติ เมทิลโบรไมด์ เป็นก๊าซ มีจุดเดือดที่ 3.6 องศาเซลเซียส ไม่มีกลิ่น ที่ความเข้มข้นต่ำ แต่มีกลิ่นคล้ายคลอโรฟอร์มหรือกลิ่นหวานเอียน ที่ความเข้มข้นสูง
    เมทิลโบรไมด์เกิดจากการผสมกันระหว่างยูเรียและปูนขาว
    เมทิลโบรไมด์มีความเข้มข้นที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้ สำหรับความเข้มข้นที่ 99.4 เปอร์เซ็นต์ มักใช้ในการรมผลิตผลพืชสด เช่น ดอกกล้วยไม้และหน่อไม้ฝรั่ง เพื่อกำจัดเพลี้ยไฟ เป็นต้น จากคุณสมบัติที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น จึงได้มีการใส่ก๊าซน้ำตา ( Chloropicrin ) จำนวน 2 เปอร์เซ็นต์เข้าไปผสม เมื่อก๊าซรั่วก็จะทำให้ผู้ใช้ก๊าซทราบโดยจะรู้สึกแสบตา อย่างไรก็ตามในขณะการรมสารนั้น ไม่ควรใช้ก๊าซน้ำตาเป็นตัวชี้วัดในการรั่วไหลของก๊าซ เพราะว่าก๊าซน้ำตาจะถูกดูดซึมโดยสินค้าที่รมในปริมาณสูง ฉะนั้นเมื่อเราได้รับรู้จากการรั่วไหลของก๊าซน้ำตา หมายความว่าเกิดการรั่วไหลของก๊าซ ในปริมาณมากจนอาจเกิดอันตรายแก่ร่างกายได้
    หากได้รับพิษจากเมทิลโบรไมด์ อาการที่เกิดในระยะสั้นได้แก่ ปวดศีรษะ วิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่า ลิ้นพันกันและชัก ถ้าได้รับความเข้มข้นสูงอาจไม่ได้สติและตายได้ อาการที่เกิดขึ้นในระยะยาวจะทำลายระบบประสาทส่วนกลางทำให้ตาพร่า ลิ้นพันกัน แขน ขาชา สั่น และไม่ได้สติ อาการได้รับพิษอาจหยุดภายใน 2 - 3 วันหรือหลายเดือนจากที่ไม่ได้รับสาร โดยปกติร่างกายสามารถฟื้นคืนสภาพได้
    สารเมทิลโบรไมด์ ได้ถูกกำหนดให้เป็นสารควบคุมตามภาคผนวก อี ภายใต้พิธีสารมอนทรีออลในปี พ.ศ. 2535 ในสมัยประชุมประเทศภาคี ณ กรุงโคเปนเฮเกน และกำหนดให้ควบคุมปริมาณการใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2538 เนื่องจากพบว่าสารเมทิลโบรไมด์เป็นสารที่มีศักยภาพในการทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน และใช้อย่างแพร่หลายในการกำจัดแมลงศัตรูพืชหลังการเก็บเกี่ยว แมลงศัตรูพืชในโรงเก็บสินค้า งานด้านการกักกันพืชเพื่อกำจัดแมลงศัตรูพืชที่อาจติดมากับพืชที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร รวมทั้งใช้ในการรมดินก่อนการเพาะปลูก
    ทางเลือกทดแทนในการใช้สารเมทิลโบรไมด์ในการรมดิน
                    (Alternativesto MB uses in Soil Fumigation)
                     
               สารเมทิลโบรไมด์เป็นที่นิยมใช้ในการรมดินเป็นอย่างมาก ทางเลือกทดแทนที่มีประสิทธิภาพคือการใช้หลักการบริหารจัดการแมลงศัตรูพืช (Integrated Pest Management) ร่วมกับทางเลือกอื่น ๆ เช่น
    1. หมุนเวียนการปลูกพืช (Crop Rotation) โดยการใช้วิธีการดั้งเดิมหลาย ๆ ประการ เช่น การเลือกพันธุ์ การสลับการปลูกพืชในแต่ละรอบ การเลือกพืชเพื่อไถกลบ การขุดแปลงดินให้ลึกขึ้น เป็นต้น
    2. การปรับสภาพการใช้ปุ๋ยและสารอาหารแก่พืช (Fertilization and Plant Nutrition) เช่น การปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างในดิน การเพิ่มแร่ธาตุ การเลือกใช้ปุ๋ยจะลดการเกิดโรคให้แก่พืชได้
    3. การใช้วัตถุชนิดต่าง ๆ แทนดินในแปลงปลูกเดิม (Soil Replacement) เช่น การใช้ดินที่ย่อยสลายจากเปลือกถั่วและรำ การใช้ดินที่มีเศษใบไม้ผุปะปนเพื่อช่วยให้รากของพืชสามารถดูดซึมอากาศและน้ำได้อย่างง่ายดาย และการใช้เปลือกไม้จากป่าหลายชนิด ซึ่งมีสารยับยั้งการเติบโตของจุลชีพประเภท Phytophthora spp., Pythium spp., Rhizoctonia solani และหลาย ๆ ชนิดในตระกูล Fusarium oxysporum  เป็นต้น ดังนั้นการเลือกใช้สูตรผสมของเปลือกไม้หลาย ๆ ชนิด ในแปลงปลูกแต่ละแห่งต้องเหมาะสมกันจึงทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้
    4. การเลือกใช้สารอินทรีย์ (Organic Amendments) เช่น ปุ๋ยคอก เศษเยื่อกระดาษ กากผลไม้ที่คั้นน้ำออกไปแล้ว เศษเปลือกกุ้ง หอย เพื่อเพิ่มสารอินทรีย์ในดิน ซึ่งสามารถยับยั้งการแพร่พันธุ์ของศัตรูพืชในดิน ประสิทธิภาพของการใช้สารอินทรีย์ชนิดใด ๆ ย่อมขึ้นกับสารอินทรีย์ที่เกิดขึ้นนั้นมีผลต่อศัตรูพืชในดินบริเวณนั้น ๆ หรือไม่ เช่น การเลือกใช้สารอินทรีย์ที่มีธาตุไนโตรเจนสูง จะทำให้เกิดการสร้างสารฆ่าศัตรูพืชประเภท Nematodes และ Plant Pathogens หรือการเลือกใช้เปลือกกุ้งทะเล หอยทะเล จะให้สารประเภทไคตินสูง ซึ่งนอกจากจะสร้างไนโตรเจนในรูปแอมโมเนียแล้ว ยังสามารถกระตุ้นแมลง Chitinolytic microflora in soil ซึ่งจุลชีพชนิดนี้ จะทำลายไข่ของศัตรูพืชประเภท Nematodes และ Mycelia Phytopathogenic Fungi เป็นต้น
    5. การตัดแต่งพันธุ์พืชที่ทำให้มีความสามารถในการต่อต้านแมลงศัตรูพืชในดิน (Plant Breeding and Grafting)
    6. การใช้การควบคุมด้วยวิธีทางชีวภาพ (Biological Control) เช่น การใช้จุลชีพที่มีฤทธิ์ในการกำจัดศัตรูพืชในดินในการลดปริมาณศัตรูพืชที่มีในดิน การใช้ Fusarium spp. และ/หรือ Fluorescent Pseudomonads สามารถป้องกันศัตรูพืชตระกูล F.oxysporum ได้ หรือการใช้ประโยชน์จากแบคทีเรีย
    ประเภท Rhizobacteria เพื่อสร้างเกราะป้องกันรากของต้นไม้ ลดการเข้าทำลายจากศัตรูพืชประเภท Nematodes และ Pathogens ได้เป็นต้น
    7. การใช้แสงแดด (Soil Solarization) ส่องดินในแปลงเพาะปลูกภายใต้ผ้าพลาสติกใสเป็นระยะเวลา 4 - 8 สัปดาห์ จะช่วยให้ดินมีความสามารถในการต้านทานต่อ Pathogens และต้องการสารอาหารน้อยลง ให้อัตราการงอกของพืชสูง
    8. การใช้ความร้อนจากไอน้ำพ่นลงในดิน (Steam Treatment) ใช้อุณหภูมิประมาณ 70 - 80 องศาเซลเซียส จะให้ผลเทียบเท่าการใช้สารเมทิลโบรไมด์
    9. การใช้สารเคมีอื่น ๆ เช่น สาร 1,3-ไดคลอโรโพรพีน สารคลอโรพิครินที่มีฤทธิ์ในการฆ่าหญ้า สารเมทธิลไอโซไธโอไซยาเนต (Methyllisothiocyanate, MITC) ที่มีความสามารถในการกำจัดแมลงศัตรูพืชได้กว้างเช่นเดียวกับสารเมทธิลโบรไมด์ หรือสารประกอบจำพวกออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมตที่มีฤทธิ์ต่อ Nematodes เป็นต้น
    10.การเลือกใช้วิธีผสมผสาน เช่น การใช้ Soil Solarization ร่วมกับการใช้ Organic Amendment และการใช้สารเคมี เป็นต้น
     
    วิธีที่9 ความสำคัญและที่มาของการวิจัย
    ขิงเป็นพืชไร่เศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งของไทย ประเทศไทยมีการส่งออกขิงในปี 2525 มีมูลค่าประมาณ 150 ล้านบาท และมีแนวโน้มการส่งออกเพิ่มขึ้นมากกว่า 1,000 ล้านบาท ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (2535-2539) ได้วางแนวทางที่ส่งเสริมให้เกษตรกรมีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตขิงและกำหนดพื้นที่การผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศซึ่งมีความต้องการสูง ซึ่งการผลิตขิงเข้าโรงงานอุตสาหกรรมมีความสำคัญมาก เนื่องจากการส่งออกขิงส่วนใหญ่เป็นขิงแปรรูปและผลิตภัณฑ์ โดยมีการส่งออกในรูปขิงดองมากที่สุด โรงงานแปรรูปขิงของประเทศไทยกระจายกันอยู่ตามส่วนภูมิภาคและมีการขยายการผลิตเพิ่มขึ้นในแต่ละแห่ง ทำให้มีการจ้างงานในชนบทและมีผลดีต่อเศรษฐกิจ ขิงเป็นพืชที่มีราคาดีเกษตรกรมีรายได้จากการปลูกขิงมากกว่าพืชไร่ชนิดอื่น เนื่องจากขิงเป็นพืชที่เติบโตได้ดีในสภาพดินที่ร่วนซุย และมีปริมาณธาตุอาหารสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ใหม่ จึงพบว่ามีการขยายเนื้อที่ปลูกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ปลูกในเขตที่ลาดชัน ทำให้มีการบุกรุกทำลายป่า แต่ในปัจจุบันและอนาคตหลายพื้นที่ไม่สามารถขยายพื้นที่เพิ่มได้จึงมีการปลูกพืชซ้ำในพื้นที่เดิม และดินขาดการบำรุงรักษาทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินและผลผลิตต่อไร่ตกต่ำและมีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ ฉะนั้นการปลูกขิงในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงต่ำจึงมีความจำเป็นต้องเพิ่มธาตุอาหารให้เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของขิง เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสดหรือผสมกัน โดยใส่ขณะไถพรวนประมาณ 3,000-4,000 กิโลกรัม/ไร่ และใส่อีก 2 ครั้งเมื่อขิงอายุ 2 เดือน และ 4 เดือน ตามลำดับ
    โรคเหี่ยวเป็นโรคที่ทำลายพืชในเขตร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพืชตระกูล solanaceae ซึ่งมีพืชหลายชนิดที่สำคัญ ได้แก่ มันฝรั่ง มะเขือเทศ พริกไทย และพืชตระกูลมะเขือ นอกจากนั้นเชื้อยังทำลายพืชตระกูลขิง ถั่วลิสงและพืชอื่น ๆ อีกหลายชนิด โรคเหี่ยวเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas solanacearum E.F. smith มีการระบาดทำความเสียหายแก่พืชเป็นจำนวนมากทุกปี เชื้อมีการระบาดรวดเร็วและรุนแรงมาก (อนงค์,2533)วนิดา(2539) รายงานว่า จาการจำแนก biovar ของเชื้อ Pseudomonas solanacearum ในประเทศไทยพบว่าเป็น biovar 3 ทำให้ E.F. Smith ได้ตั้งสายพันธุ์ของเชื้อในประเทศเอเซียเป็น Pseudomonas solanacearum var. asiaticum การทราบ biovar จะมีชีวิตอยู่ในดินและทนแห้งแล้งได้ต่างกัน ในดินที่มีอินทรีย์วัตถุสูงปริมาณเชื้อ biovar 3 จะลดลงอย่างรวดเร็ว การป้องกันโรคเหี่ยวจึงจำเป็นต้องรู้ข้อมูลทางด้านนิเวศน์วิทยาของเชื้อในดินจะทำให้ปริมาณของเชื้อที่มีอยู่ในดินลดลงเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นการลดปริมาณแหล่งเชื้อและการระบาดของโรคได้อีกทางหนึ่ง สำหรับการกำจัดโรคหลังจากการติดเชื้อทำได้ยากมากและไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ
    ศศิธร (2525) ได้ทดสอบสารเคมีในการป้องกันกำจัดเชื้อ P. solanacearum โดยวิธี Petridish zonol inhibition และวิธี Tube dilution technique พบว่าสารปฏิชีวนะ ออริโอมัยซินและสเตปโตมัยซิน ที่มีความเข้มข้น 50 และ 100 ppm สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อได้แต่เมื่อนำสารเคมีมาใช้ในการแช่ท่อนพันธุ์ขิงก่อนปลูกพบว่าแม้จะใช้สารปฏิชีวนะดังกล่าวที่มีความเข้มข้นสูงถึง 2000 และ 5000 ppm ก็ไม่สามารถป้องกันขิงจากโรงนี้ได้ ดังนั้นแนวทางการป้องกันกำจัดโรคในดิน (soil-borne disease) อีกวิธีหนึ่งที่มีการศึกษาและใช้ประโยชน์อย่างมากในต่างประเทศคือ การรมดินด้วยสารเคมี แต่ทั้งนี้ต้องเลือกสารเคมีที่ไม่มีพิษค้างและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม สารเคมีที่มีคุณสมบัติดังกล่าวชนิดหนึ่งคือ ดาโซเม็ท (dazomet) ชื่อทางเคมีคือ tetra hydro-3,5-dimethyl-2H-1,3,5-thladiazine-2-thionoe สามารถกำจัดศัตรูพืชได้อย่างกว้างขวางได้แก่ เชื้อรา Pythium, Fusarium, Phytophthora, Rhizoctonia, Verticillium spp. และอื่น ๆ ไส้เดือนฝอย เช่น ไส้เดือนฝอยรากปม (Root knot Nematode) แมลงในดิน และวัชพืชใบแคบและใบกว้าง (กรมวิชาการเกษตร, 2537) ชื่อการค้า บาซามิค จี (Basamid G) อัตรา 300-400 กรัม คลุกในกองดินสูงประมาณ 20-25 เซนติเมตร ต่อพื้นที่ 10 ตรม. รดน้ำให้ชุ่มทิ้งไว้ เป็นเวลา 14-20 วัน ก่อนนำไปใช้
    BASF (1990) รายงานว่าสารดาโซเม็ทภายใต้ชื่อการค้าบาซามิดจีสามารถกำจัดแบคทีเรียบางชนิดได้ และสามารถแตกตัวให้ธาตุซัลเฟอร์และไนโตรเจนที่มีประโยชน์ต่อพืช อีกทั้งไม่ทำลายชั้นบรรยากาศหรือโอโซน สารชนิดนี้มีการใช้มากกว่า 80 ประเทศ และใช้กับพืชผักหลายชนิดได้แก่ มะเขือเทศ แตงกวา กระหล่ำปลี แครอท หัวหอมใหญ่และมันฝรั่ง เป็นต้น จากการพิจารณาคุณสมบัติของสารแล้วถ้ามีการศึกษาทดลองและคำนวณรายได้ต่อการลงทุนในการใช้สารเคมีควบคุมโรคดังกล่าวก็อาจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการช่วยเกษตรกรที่ปลูกขิงเพื่อส่งออกเป็นการค้าได้ แต่อย่างไรก็ตามวิธีการควบคุมโรคเน่าจากเชื้อแบคทีเรียวิธีที่ดีที่สุดคือการนำวิธีต่างๆ มาผสมผสานกัน เช่น การเตรียมดินที่ถูกต้อง การเลือกหัวพันธุ์ปลอดเชื้อ หรือมีความต้านทานโรค และการปฎิบัติดูแลรักษาที่ดี
    ดินเป็นปัจจัยทางสภาพแวดล้อมอย่างเดียวที่สามารถแก้ไขปรับปรุงได้ คุณสมบัติทางเคมีของดินมีผลทางตรงและทางอ้อมต่อการเจริญเติบโตและการใช้ปุ๋ยของพืช นอกจากนั้นยังมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับกิจกรรมของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อน (tropical zone) ดินมีการชะล้างและพัดพาสูงทำให้ธาตุประจุบวกถูกชะล้างและพัดพาจากเนื้อดิน จึงทำให้ดินเกิดเป็นกรดมากขึ้น นอกจากนั้นปริมาณอินทรีย์วัตถุในดินไร่มีอยู่ในเกณฑ์ต่ำ การแก้ความเป็นกรดของดินด้วยวิธีการ ใส่ปูนเป็นวิธีที่ดีวิธีการหนึ่ง เนื่องจากเป็นวิธีการที่สะดวก ทำได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย และสามารถเพิ่มธาตุอาหารบางชนิดที่เป็นประโยชน์แก่พืชด้วย (คณะกรรมการฯ, 2535)
    ในประเทศไต้หวัน (Chan และHsu, 1988) และประเทศเปรู (Eliphistone และ Aley, 1992) ได้มีการศึกษาการปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยคอก ผสมกับยูเรียและแคลเซียมออกไซด์ พบว่าสามารถลดความรุนแรงของโรคเหี่ยวในมะเขือเทศและมันฝรั่งได้ โดยอธิบายว่าการปรับปรุงดินมีผลทางอ้อมต่อจุลินทรีย์ดินอื่น ๆ ที่มีอิทธิพลต่อปริมาณของเชื้อ P. solanacearum ในดิน การใส่อินทรีย์วัตถุ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซับธาตุอาหารให้กับดินและเพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บรักษาความชื้น ช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้ดิน ช่วยดูดซับธาตุอาหารพืชไว้มากขึ้น และจะค่อย ๆ ปล่อยให้กับพืช จึงเป็นผลดีกับพืชที่ปลูก การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ส่วนใหญ่เป็นมูลสัตว์เพราะหาง่าย ราคาไม่แพง โดยใช้ควบคู่กับปูนขาวเพื่อลดความเป็นกรดของดิน การปฏิบัติติดต่อกันหลายปี ทำให้ดินมีคุณสมบัติทางกายภาพร่วนซุยเหมาะสมสำหรับการปลูกพืช การใส่ปูนมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืชทั้งทางตรงและทางอ้อมและมีความเกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ หลายอย่าง เช่น เพิ่มระดับแคลเซียมและแมกนีเซียมที่มากับปูนให้แก่พืชโดยตรง ทำให้สิ่งที่เป็นพิษต่าง ๆ ในดินที่เป็นกรดลดน้อยลงจนไม่เป็นอันตรายต่อพืช ทำให้โรคบางชนิดเจริญลุกลามได้ช้าลง ทำให้ระดับธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชบางชนิดสูงขึ้น (ประสาทและวีพล, 2535) McGuire และ Kelman (1984) รายงานว่าการเพิ่มปริมาณแคลเซียมในหัวมันฝรั่ง โดยให้ธาตุแคลเซียมในรูปแคลเซียมซัลเฟตกับต้นมันฝรั่ง ทำให้มีการสะสมของธาตุแคลเซียมในหัวมันฝรั่งและชักนำให้เนื้อเยื่อมีความต้านทานต่อการเข้าทำลายของเชื้อแบคทีเรีย Erwinia carotovora การใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเหมาะสมกับพืชที่ปลูกนอกจากจะมีผลต่อการดูดใช้ธาตุอาหารแล้วยังมีผลต่อการเพิ่มความต้านทานของพืชต่อการเกิดและการทำลายของโรคพืชชนิดต่าง ๆ โดยทางอ้อม เนื่องจากภายใต้สภาพแวดล้อมอื่น ๆ ที่เหมาะสม พืชที่ได้รับธาตุอาหารอย่างเพียงพอจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและมีสุขภาพดีทำให้สามารถปรับตัวเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน เช่น การสร้างสารบางอย่างโดยขบวนการชีวเคมี หรือการพัฒนาโครงสร้างของเนื้อเยื่อภายในพืช ฯลฯ มีผลทำให้มีความต้านทานต่อการทำลายของโรคพืชหลายชนิด (ปิยะ,2538) Piening (1989) รายงานว่า ธาตุไนโตรเจนมีผลต่อการป้องกันหรือลดความรุนแรงของโรคเทค-ออลล์และโรคเซ็บโตเรียของข้าวสาลีบางพันธุ์ นอกจากนั้นการใส่ทองแดงในดินที่ขาดทองแดงยังช่วยลดความรุนแรงของโรคเมลาโนสในข้าวสาลีบางพันธุ์ด้วย Lee และ Asher(1982) ได้ศึกษาเปรียบการให้ไนโตรเจนกับขิง ในรูปปุ๋ยยูเรีย แอมโมเนียไนเตรทและแอมโมเนียมซัลเฟต ในประเทศออสเตรีย พบว่าในการให้ปุ๋ยที่ระดับเดียวกันหลังจากเก็บผลผลิตทั้งอ่อนและผลผลิตแก่แล้วให้ผลไม่แตกต่างกันแต่ถ้าพิจารณาราคาพบว่าการใช้ยูเรียมีความคุ้มค่าต่อการลงทุนมากกว่า นอกจากนั้นยูเรียยังเป็นปุ๋ยที่ทำให้เกิดความเป็นกรดได้น้อยกว่าปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต
    การแก้ปัญหาโรคเหี่ยวจากเชื้อแบคทีเรียโดยการใช้สารเคมีไม่สามารถกำจัดเชื้อแบคทีเรียที่ติดมากับท่อนพันธุ์ได้ ดังนั้นการใช้ท่อนพันธุ์หรือต้นปลอดโรคโดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจากพันธุ์ที่มีอยู่จะสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นได้และในระยะยาวอาจจะสร้างพันธุ์ที่ต้านทานโรคและให้ผลผลิตสูงได้อีกด้วย ซึ่งได้มีการศึกษาวิธีเพิ่มปริมาณขิงในหลอดทดลองให้ได้ปริมาณมากและประหยัดค่าใช้จ่าย เพื่อเป็นแนวทางการผลิตหัวพันธุ์ขิงให้แก่เกษตรกร ต่อมานิพนธ์และคณะ ได้ทำการผลิตขิงปลอดโรคและต้านทานโรคเหี่ยวจากแบคทีเรียโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อปลายยอดได้สำเร็จขิงปลอดโรคผลิตโดยนำเอาตาขิงที่สมบูรณ์มากแช่ในสารละลายปฏิชีวนะประกอบด้วย สเตปโรมัยซินซัลเฟต 100 มก/ลิตร และเตตราซัยคลิน ไฮดรอกไซด์ 10 มก/ลิตร เป็นเวลา 10 นาที ก่อนนำไปตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วเลี้ยงในอาหาร MS ต้นเนื้อเยื่อขิงปลอดโรคจะตรวจยืนยันโดยวิธีเซรุ่มวิทยา ต้นเนื้อเยื่อขิงต้านทานโรคเหี่ยวเกิดจากแบคทีเรียได้มาจากการผันแปรของต้นเนื้อเยื่อ การใช้สารเคมี nitrosoguanidine (MNG) และการฉายรังสีด้วย Cs137
    เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียเจริญอยู่ในเศษพืชในดิน และสามารถแพร่ระบาดทางน้ำได้และเชื้อสาเหตุโรคนี้สามารถติดไปกับหัวพันธุ์ที่ใช้ปลูก ในสภาพพื้นที่ปลูกที่มีความลาดชันจึงเอื้อต่อการระบาดของเชื้อได้รวดเร็วและรุนแรงมาก ทำให้เกษตรกรต้องย้ายพื้นที่เพาะปลูก ในพืชบางชนิดต้องการพื้นที่ระบายน้ำดีและมีความอุดมสมบูรณ์สูง ทำให้เกิดการบุกรุกถางป่า การจัดการพื้นที่ การปรับปรุงดินเป็นเทคนิควิธีการอย่างง่าย ๆ มีต้นทุนต่ำและให้ผลดีกับความสมบูรณ์ของพื้นที่เพาะปลูกในระยะยาว แต่ในปัจจุบันเกษตรกรมีการปฏิบัติอยู่น้อยเนื่องจากเกษตรกรไม่เห็นความสำคัญและขาดข้อมูลทางวิชาการที่สามารถยืนยันถึงประโยชน์ของการปรับปรุงดินโดยเฉพาะ การศึกษาครั้งนี้เป็นการทดสอบผลของการจัดการดินต่อการเปลี่ยนแปลงประชากรของเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas solanacearum ในดิน ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเหี่ยวที่ทำลายผลผลิตของพืชเศรษฐกิจที่สำคัญหลายชนิด การศึกษาครั้งนี้สามารถประยุกต์ใช้ทดสอบในแปลงเพาะปลูกของเกษตรกร ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการทดลองวิจัย

    วัตถุประสงค์ของโครงการ
    1.       เพื่อลดการเกิดโรคและการแพร่ระบาดของโรคเหี่ยวเนื่องจากเชื้อแบคทีเรีย โดยการปรับสภาพดินที่ใช้เพาะปลูกให้เหมาะสม
    2.       เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงปริมาณประชากรของเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas solanacearum ที่เป็นสาเหตุโรคเหี่ยวในดิน ทั้งก่อนและหลังการปรับปรุงดิน
    ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย
    1.       ทราบผลของการปรับปรุงดินต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณประชากรเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas solanacearum ซึ่งเป็นเชื้อสาเหตุของโรคเหี่ยวของขิง ในกระถางในสภาพเรือนเพาะชำ
    2.       เป็นแนวทางประยุกต์ใช้ในสภาพไร่ เพื่อลดความเสียหายจากการทำลายของเชื้อแบคทีเรียโรคเหี่ยวของขิง ทำให้เกษตรกรสามารถใช้พื้นที่เดิมในการปลูกขิงและมีรายได้เพิ่มขึ้น และสามารถลดการบุกรุกทำลายป่า
    ปี พ.ศ.
    เป้าหมายการลดและเลิกใช้สาร
    เมทิลโบรไมด์ตามแผนฯ ของประเทศไทย
    การควบคุมปริมาณการนำเข้า
    สารเมทิลโบรไมด์ตามแผนฯ ของประเทศไทย
    2547
    0%
    183.14
    2548
    20%
    146.61
    2549
    --
    146.61
    2550
    --
    146.61
    2551
    --
    146.61
    2552
    60%
    73.26
    2553
    --
    73.26
    2554
    80%
    36.63
    2555
    90%
    18.31
    2556
    100%
    0.00
    2557
    --
    --
    2558
    --
    --
    การรมฆ่าแมลงในผลิตผล
    ทางการเกษตร
    Methyl Bromide
    สินค้าแห้ง (Durable Commodities)
    •  Gaseous Phosphine in CO 2
    •  Carbonyl Sulfide
    •  Cool Storage
    •  Heat Treatment
    •  Irradiation
    สินค้าสด (Perishable Commodities)
    •  Gaseous Phosphine in CO 2
    •  Carbonyl Sulfide
    •  Chemical Dips (Fluvalinate,Malathion)
    •  Cold Treatment ( -1 ถึง + 2 °c)
    •  Irradiation
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×