การวาดภาพ 2 มิติ 3 มิติ และภาพฉาย - การวาดภาพ 2 มิติ 3 มิติ และภาพฉาย นิยาย การวาดภาพ 2 มิติ 3 มิติ และภาพฉาย : Dek-D.com - Writer

    การวาดภาพ 2 มิติ 3 มิติ และภาพฉาย

    โดย YEP201

    ผู้เข้าชมรวม

    3,340

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    8

    ผู้เข้าชมรวม


    3.34K

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  29 ก.พ. 55 / 14:29 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
     
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
       วิธีการเขียนภาพ  2  มิติ
      ภาพ  2 มิติ มีความกว้างกับความยาวไม่มีความหนาเกิดจากเส้นรอบนอกที่แสดงพื้นที่ขอบเขตของรูปต่าง ๆ เช่น รูปวงกลม  รูปสามเหลี่ยม หรือ รูปอิสระที่แสดงเนื้อที่ของผิวที่เป็นระนาบมากกว่าแสดงปริมาตรหรือมวล

      วิธีการเขียนภาพ 3 มิติ
        ภาพสามมิติหมายถึง การเขียนภาพโดยการนำพื้นผิวแต่ละด้านของชิ้นงานมาเขียนประกอบกันเป็นรูปเดียว ทำให้สามารถมองเห็นลักษณะรูปร่าง พื้นผิว ได้ทั้งความกว้าง ความยาว และความหนาของชิ้นงาน ทำให้ภาพสามมิติมีลักษณะคล้ายกับการมองชิ้นงานจริง ภาพสามมิติที่เขียนในงานเขียนแบบมีหลายประเภท แต่ละประเภทก็มีความแตกต่างกันในการวางมุมการเขียน และขนาดของชิ้นงานจริง กับขนาดชิ้นงานในการเขียนแบบซึ่งผู้เขียนแบบต้องศึกษาลักษณะของภาพสามมิติแต่ละประเภทต่างๆ ให้เข้าใจ เพื่อสามารถปฏิบัติการเขียนแบบได้อย่างถูกต้อง 

      ภาพฉาย   
      หมายถึง  การแสดงรูปร่างลักษณะตลอดจนรายละเอียดต่างๆ ของชิ้นงานหรือวัตถุลงในกระดาษ  เพื่อใช้ในการส่งงานหรือนำไปใช้ประกอบการทำงานตามแบบ  ภาพฉายช่วยให้งานเขียนแบบในบางส่วนมีความชัดเจนยิ่งขึ้น 
      หลักการเขียนภาพฉาย
      ในการเขียนภาพฉาย  ในงานเขียนแบบเป็นการแสดงลักษณะของสัดส่วนรูปร่างตลอดจนรายละเอียดของชิ้นงาน  โดยการเขียนเป็นภาพแต่ละด้านของชิ้นงาน ซึ่งโดยปกติจะแสดงไว้ 3ด้านด้วยกัน คือ ภาพด้านหน้า (  Front  View ) ภาพด้านบน ( Top  View ) และภาพด้านข้าง ( Side View ) การเขียนภาพทั้งสามด้านนี้เขียนโดยการมองจากชิ้นงานจริงแล้วทำการเขียนรูปร่างขนาดและส่วนของชิ้นงานจริงออกทีละด้านจนครบ 3 ด้าน
      วิธีการเขียนภาพฉาย
      ในการเขียนภาพฉายจะต้องกำหนดรูปด้านของงานนั้น  การกำหนดรูปด้านหน้าเป็นหลักโดยแสดงให้เห็นลักษณะของการมองภาพอย่างน้อย 3ด้าน  ด้วยกัน  คือ  ด้านบน  ด้านหน้า ด้านข้าง  ทั้งนี้เพราะการเขียนภาพฉายจะทำให้การมองภาพสามารถเข้าใจถึงลักษณะ รูปร่างของชิ้นงานจริงๆ 

      ที่มา:
      http://kwang.myreadyweb.com/article/topic-9449.html 

      ด.ญ. ชลลดา เทพอุด ชั้น ม.2/1 เลขที่ 5

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×