ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ~+...เทพนิยาย...ประวัติศาสตร์...+~

    ลำดับตอนที่ #72 : กระดาษปาปิรัส(หรือปาปิรุส นั้นแหละ)

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 2.4K
      0
      2 ต.ค. 50


    กระดาษปาปิรัส



    ขณะที่ชนชาติอื่นกำลังพัฒนาวิธีการจารึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ด้วยการขีดเขียนลงบนแผ่นศิลาบ้าง วาดภาพลงบนฝาผนังภายในถ้ำบ้าง ถึงกระนั้นคงไม่มีใครก้าวไกลไปกว่าชาวอียิปต์โบราณ เพราะรู้จักบันทึกด้วยอักษรภาพลงบนแผ่นกระดาษที่ทำจากปาปิรัส (Papyrus) มานานนับพัน ปี เสียดายที่นักโบราณคดีไม่สามารถชี้ชัดลงไปได้ว่ามีมาตั้งแต่เมื่อไหร่ เท่าที่มีอยู่ทราบเพียงว่า ปาปิรัสได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง เช่น นำมาเป็นเชื้อเพลิง สร้างบ้าน ต่อเรือ สานตะกร้า ตลอดจนตัดเย็บเสื้อผ้า
    โดยเฉพาะศิลปหัตถกรรมที่ทำกระดาษจากต้นปาปิรัสนี้ ถือเป็นความลับสุดยอดก็ว่าได้ เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้การควบคุม ดูแลอย่างใกล้ชิดของเจ้าหน้าที่ ซึ่งองค์ฟาโรห์ทรงแต่งตั้ง ทำเป็นอุตสาหกรรมกันเลยทีเดียว ชาวบ้านจึงเรียกว่า ปะ - ปี๋ - ร่า (Pa - Pe - Raa) หมายถึงกิจการที่เป็นขององค์ฟาโรห์ แต่ชาวกรีกโบราณออกเสียงเพี้ยนเป็นปาปิรัส แล้วคำคำนี้แหละ ก็แผลงมาเป็น "เปเปอร์ (Paper)"
    ปาปิรัสเป็นหญ้าอายุยืนชนิดหนึ่ง อยู่ในตระกูล Reed (ต้นอ้อ) ชอบดินชื้นแฉะ มีด้วยกันหลายสิบชนิด ความสูงอยู่ระหว่างประมาณ เมตรเศษ ถึงห้าเมตร ลำต้นสีเขียว เป็นรูปทรงสามเหลี่ยมกว้างไม่เกินสองนิ้วครึ่ง ปาปิรัสชนิดที่จะนำมาใช้ทำกระดาษ ต้องเป็น Cyperus Papyrus เท่านั้น ความสูงประมาณสองเมตร ลำต้นที่ว่าเป็นรูปสามเหลี่ยมนั้นกว้างนิ้วกว่า ๆ
    เริ่มต้นด้วยการตัดลำต้นปาปิรัสที่แก่จัดออกเป็นท่อน ๆ ความสั้นยาวขึ้นอยู่กับแผ่นกระดาษที่เราต้องการ เอามีดปอกเปลือกนอก สีเขียวทิ้ง เยื่อไม้เป็นสีนวล ๆ ฝานตามความยาวเป็นแผ่นบาง ๆ เท่าที่จะทำได้ แช่ในน้ำ 6 - 7 วัน จะกลายเป็นสีน้ำตาลอ่อน ๆ เอามาผ่านลูกกลิ้ง ยาง รีดไปรีดมาจนเรียบและแห้ง จากนั้นนำมาสาน เรียงตั้งและขวางอย่างละหนึ่ง ถ้าเป็นม้วนยาว ๆ อย่างที่นิยมกันในสมัยโบราณก็ต้องใช้ ผู้ชำนาญสานจึงจะไม่เห็นรอยต่อ เสร็จแล้ววางระหว่างผ้ากำมะหยี่ เรียงเข้าไปในเครื่องอัดแล้วผึ่งให้แห้ง อีกวันก็จะได้แผ่นกระดาษที่ต้องการ เวลาแห้งสนิทจนเป็นสีนวลแก่ ๆ ออกไปทางเหลืองน้ำชา
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×