ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ~+...เทพนิยาย...ประวัติศาสตร์...+~

    ลำดับตอนที่ #62 : อิสราเอล1 ดินแดนแห่งพระคริสต์

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 393
      0
      2 ต.ค. 50

    1. ปฐมกาล

     

     

     

     

     

     

     

     

    อ่านพระธรรมปฐมกาล 1-11


              อาณาบริเวณของโลกส่วนที่ปรากฏในพระคัมภีร์นั้นไม่สู้จะกว้างใหญ่ไพศาลนัก คือประกอบภาคใต้ของทวีปเอเซียและภาคเหนือของอัฟริกาเท่านั้น บริเวณดังกล่าวมีที่ดินซึ่งเหมาะสำหรับเกษตรกรรมไม่มากนัก ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นภูเขาและทะเลทราย พอจะมีที่ดินอุดมสมบูรณ์อยู่บ้างก็เฉพาะบริเวณหุบเขาอันเป็นที่ราบลุ่มชายฝั่งแม่น้ำต่าง ๆ

              ตัวอย่างเช่น ที่ประเทศอียิปต์มีที่ดินอุดมสมบูรณ์อยู่ตามชายฝั่งแม่น้ำไนล์ ถ้าดูตามแผนที่จะเห็นเป็นแถบสีเขียวอ่อนขนานกันไปกับลำน้ำไนล์ บริเวณดังกล่าวจะเป็นไร่นาเรือกสวนมีผาสูงประกอบด้วยหินแกรนิตสีชมพูหรือเนินกรวดหินดินทรายเป็นขอบอยู่ด้านนอกทั้งสองฟากน้ำ

              เมื่อดูที่สองฝั่งแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีสทางทิศตะวันออกของภูมิภาคนั้น ก็จะเห็นเป็นแถบสีเขียวอ่อนเช่นกัน บริเวณนี้เคยเรียกกันว่า “เมโสโปเตเมีย” แปลว่า “แผ่นดินระหว่างแม่น้ำสองสาย” เมโสโปเตเมียในสมัยพระคัมภีร์เป็นแผ่นดินอุดมสมบูรณ์ มีอาณาบริเวณกว้างขวางและยาวเหยียด ด้านหนึ่งจรดเทือกเขาเปอร์เซีย อีกด้านหนึ่งจรดทะเลทรายอาระเบีย เส้นแบ่งเขตระหว่างแผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์กับทะเลทรายนั้นชัดเจนจนแทบจะพูดได้ว่าสามารถเดินเพียงไม่กี่ก้าวก็พ้นจากหุบเขาดินดำที่มีต้นพืชขึ้นงอกงาม เข้าสู่บริเวณทะเลทรายที่แห้งแล้งเต็มด้วยเนินทรายเรียงรายกันเป็นทิวแถวยาวเหยียด

    จุดเริ่มต้นของอารยธรรม

              ในบริเวณแถบสีเขียวอ่อนทั้งที่อียิปต์และเมโสโปเตเมียนี่เอง ที่อารยธรรมของมนุษยชาติเริ่มต้นขึ้น ประมาณ กคศ. 4500 ผู้คนที่อาศัยอยู่เป็นหลักแหล่งได้เริ่มสร้างเขื่อนและขุดคลองส่งน้ำและท้องร่อง

              น้ำจากแม่น้ำต่างๆ ในบริเวณหุบเขาช่วยทำให้แผ่นดินอุดมสมบูรณ์แต่ก็ชื้นแฉะ ทุกปีน้ำจะล้นฝั่ง กระแสน้ำมักจะเปลี่ยนทิศทางทำให้เกิดบึงขนาดใหญ่ ผู้คนที่อยู่ตามบริเวณที่ราบลุ่มในหุบเขาต้องสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมและขุดคลองระบายน้ำออกจากบึง เพื่อจะดำรงอยู่ที่นั่นต่อไปได้ งานนี้หนักหนาเกินกว่าที่คน ๆ เดียวจะทำได้ หลายครอบครัว หลายเผ่าต้องเรียนรู้ที่ช่วยกันสร้างทำนบ ขุดคลองและบำรุงรักษา ด้วยเหตุนี้จึงต้องฝึกวิศกรให้รู้จักวางแผน หาทางสร้างเขื่อน และขุดคูระบายน้ำ นี่เป็นวิธีหนึ่งในหลาย ๆ วิธีที่ทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นสังคม มีรัฐบาล และมีกฎหมายปกครอง

              การขุดคลองมีวัตถุประสงค์สามอย่างคือ 1) ระบายน้ำออกจากบึง 2) ควบคุมอุทกภัย และ 3) สร้างเส้นทางคมนาคมทางน้ำเพื่อติดต่อค้าขายและเดินทาง ก่อนหน้านั้นมนุษย์จะใช้ถนนเป็นเส้นทางสัญจรและขนส่งสินค้า แต่ลำคลองช่วยให้การเดินทางได้รวดเร็วและราบเรียบ การปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารก็ได้ผลมากจนเหลือเก็บ สามารถนำไปซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนกับสินค้าที่ผลิตจากแหล่งอื่นๆ เช่น เครื่องเทศ ไม้หอม เพชรนิลจินดา หอกดาบและอาวุธอื่น ๆ ที่ทำด้วยโลหะ เป็นต้น

              ผลก็คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในหุบเขาตามที่ราบลุ่มริมแม่น้ำกลายเป็นคนมั่งคั่งร่ำรวย จึงเป็นเสมือนเหยื่ออันโอชะของบรรดาเผ่าเร่ร่อนตามภูเขาและในทะเลทราย ซึ่งอดอยากและยากจนคอยจ้องจับเป็นเหยื่อ เช่น ที่เมโสโปเตเมียเคยถูกชนหลายเผ่าเข้ารุกรานครั้งแล้วครั้งเล่า บางครั้งเกิดสงครามยืดเยื้อจนเขื่อนและลำคลองถูกทอดทิ้งไม่มีการบูรณะซ่อมแซมเป็นเวลานาน จนที่ราบลุ่มริมน้ำก็กลายเป็นบึง ต้องรอจนกว่าจะมีผู้ปกครองคนใหม่มาซ่อมแซมเขื่อนและขุดลอกคูคลองให้ใช้การได้อีก
    บริเวณสมบูรณัฒจันทร์ (Fertile Crescent)

              กษัตริย์ทั้งที่อียิปต์และเมโสโปเตเมียค่อย ๆ มีอำนาจมากขึ้นทุกที ทั้งสองฝ่ายต่างก็ขยายอำนาจของตนออกไป จนบางครั้งเกิดสงครามและสันติภาพสลับกันไป ผู้เดินทางสัญจรและกองทัพไม่สามารถเดินทางฝ่าทะเลทรายอาระเบียซึ่งแห้งแล้งปราศจากน้ำไปได้ พวกเขาต้องเดินทางอ้อมไปทางบริเวณสีเขียวในหุบเขาซีเรีย หรือไม่ก็เดินทางเลาะไปทางชายฝั่งทะเลที่ปาเลสไตน์ด้านตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ปาเลสไตน์จึงกลายเป็นเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างเมโสโปเตเมียและอียิปต์มาตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ และเป็นสถานที่บรรจบกันของเส้นทางคมนาคมของโลกสมัยโบราณ

               เพราะที่ดินบริเวณนี้อุดมสมบูรณ์กว่าบริเวณรอบข้าง จึงได้รับการขนานนามว่า สมบูรณัฒจันทร์ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในปาเลศไตน์และซีเรียได้รับอิทธิพลทางความคิดและขนบประเพณีจากเมโสโปเตเมียและจากอียิปต์
    จึงไม่น่าแปลกใจที่ได้ยินเสียงจากเมโสโปเตเมียสะท้อนอยู่ในพระคัมภีร์ เมื่อพวกฮีบรูพูดถึงการเนรมิตสร้างโลกว่า “พระเจ้าตรัสว่า น้ำที่อยู่ใต้ฟ้าจงรวมกันอยู่แห่งเดียวกัน ที่แห้งจงปรากฏขึ้น” พวกเขาคงระลึกชีวิตเมื่อครั้งที่ตนเคยอยู่ในที่ราบลุ่มในเมโสโปเตเมียตอนล่าง


    ตำนานเรื่องน้ำท่วมครั้งใหญ


              ที่เมโสโปเตเมียก็มีตำนานเรื่องน้ำท่วมครั้งใหญ่ และเรื่องของบุรุษผู้รอดชีวิตมาได้ บุรุษผู้นั้นชื่อว่า อุท-นาปิชทิม เรื่องเล่าว่าเทพเจ้าองค์หนึ่งโกรธจึงตัดสินใจทำลายโลก แต่เทพเจ้าอีกองค์หนึ่งซึ่งเป็นมิตรกับมนุษย์ บอกให้อุท-นาปิชทิมสร้างเรือขนาดใหญ่และพาครอบครัวของเขาลงไปอยู่ในเรือ อุท-นาปิชทิมเชื่อและทำตามคำแนะนำของเทพเจ้าองค์นั้น ต่อมาก็เกิดพายุใหญ่และน้ำท่วมผู้คนทั้งปวงตายหมด นอกจากพวกที่อยู่บนเรือ เมื่อผ่านไปหลายวันอุท-นาปิชทิมได้ส่งนกออกไปหาแผ่นดินแห้ง ต่อมาน้ำก็ลดลง เรือลำดังกล่าวติดอยู่บนยอดเขา อุท-นาปิชทิมจึงถวายเครื่องเผาบูชา บรรดาเทพเจ้าผู้หิวโหยเพราะได้กลิ่นเนื้อย่าง จึงให้สัญญาแก่เขาว่าจะไม่ส่งน้ำมาท่วมโลกอีก

               เรื่องอุท-นาปิชทิมมีหลายอย่างที่เหมือนกับเรื่องของโนอาห์ ในเมโสโปเตเมียนั้นบรรดาเทพเจ้าประพฤติตนเหมือนกับพวกเด็ก ๆ ที่ชอบทะเลาะกันเอง แต่พระเจ้าในพระคัมภีร์ทรงเป็นพระเจ้าผู้เที่ยงธรรม ที่พระองค์ทำลายมนุษย์โดยให้เกิดน้ำท่วมโลกก็เพราะมนุษย์มีความโหดเหี้ยมมากขึ้นจนสุดทน มีแต่โนอาห์ผู้ซื่อสัตย์รอดชีวิตมาได้ จึงได้เป็นบิดาของมนุษยชาติรุ่นต่อไป


    เรื่องหอบาเบล


     
    อีกเรื่องหนึ่งในพระคัมภีร์ที่เป็นภาพสะท้อนมาจากเมโสโปเตเมียคือเรื่องหอบาเบล ชาวสุเมอร์ซึ่งเคยอาศัยอยู่ตามลุ่มน้ำยูเฟรติสตอนล่างสมัยก่อนโน้น และชาวบาบิโลนซึ่งอาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกันในสมัยต่อมา ต่างก็มีนิสัยชอบสร้างหอสูง ๆ ที่เรียกกันว่า ซิกกูรัต ตามปกติซิกกูรัตจะก่อด้วยอิฐเป็นรูปสี่เหลี่ยมสูงลดหลั่นขึ้นไปเจ็ดชั้น มีทางเดินเวียนไปรอบ ๆ ตั้งแต่ชั้นล่างจนถึงยอดหอ

               ชาวบาบิโลนใช้ซิกกูรัตเป็นที่ประกอบศาสนพิธี แต่หอบาเบลในพระธรรมปฐมกาลเป็นสัญลักษณ์ของความทะเยอทยานที่มนุษย์เผยออยากจะมีฐานะเท่าเทียมกับพระเจ้า
    ดูเหมือนว่า เรื่องเหล่านี้ชาวฮีบรูจะรวบรวมมาจากตำนานสมัยโบราณแล้วเรียบเรียงเสียใหม่ โดยเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ ๆ เรื่องดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นเพียงนิทานโบราณคดีเกี่ยวกับน้ำท่วม แผ่นดินไหวธรรมดาอีกต่อไป แต่ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในประวัติความเป็นมาของมนุษยชาติ

               อรรถบทสำคัญในพระธรรมปฐมกาลได้แก่ประวัติความสัมพันธ์ที่พระเจ้าทรงมีต่อมนุษย์ ในเรื่องพระธรรมปฐมกาลตั้งแต่พระเจ้าทรงเนรมิตสร้างโลกจนถึงหอบาเบล พยายามจะแสดงให้เห็นว่า เมื่อมนุษย์ลืมพระเจ้าตัวเองก็หลงทางและประสบความทุกข์ความระทมขมขื่น

              ในตอนต่อไปพูดถึงการเริ่มต้นใหม่ เรื่องเล่าว่าพระเจ้าทรงพยายามจะช่วยมนุษยชาติให้พ้นจากความพินาศและความตาย จึงทรงเรียกอับราฮัมเพื่อให้ทำตามแผนการของพระองค์ เรื่องนี้เป็นเรื่องยาวที่จะพูดถึงในตอน

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×