ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ~+...เทพนิยาย...ประวัติศาสตร์...+~

    ลำดับตอนที่ #34 : จูเลียส ซีซาร์...เพื่มเติมเล็กน้อย

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 309
      0
      23 ก.ย. 50

    Julius Caesar

    "ฉันได้มาถึง ฉันได้มาเห็นแล้ว และฉันก็ได้ชัยชนะ"

    "I came, I saw, I conquered"

    วาทะนี้เป็นของจูเลียส ซีซาร์ ผู้นำผู้ยิ่งใหญ่ รัฐบุรุษ นักการทหารที่ชาญฉลาด และนักคิดที่ทรงภูมิของโรมและของประวัติศาสตร์โลก กล่าวไว้ในคราวที่เขายกทัพบุกตะลุยตีซีเรีย ปอนตุส และได้รับชัยชนะในเวลาเพียงวันเดียว ผลงานชิ้นสำคัญของเขาชิ้นหนึ่งในหลายชิ้นของเขา ก็คือการยกทัพไปบุกถึงเกาะอังกฤษ ซึ่งก่อนหน้านั้นไม่เคยเป็นที่รู้จักหรือปรากฏอยู่บนแผนที่มาก่อน เขามิได้แต่เป็นเพียงแม่ทัพผู้ยิ่งใหญ่ ผู้นำโรมไปสู่ความเป็นมหาอำนาจทั้งในทางการเมืองและการทหารเท่านั้น งานหลายอย่างที่เขาทำไว้ยังเป็นรากฐานหรือต้นกำเนิดของหลายสิ่งหลายอย่างในปัจจุบัน

    จูเลียส ซีซาร์ มีชื่อเต็มว่า เคอุส จูเลียส ซีซาร์ เกิดในโรม เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม เมื่อ 100 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในตระกูลขุนนางเก่าแก่ตระกูลหนึ่ง ตั้งแต่เด็กมา เขาไม่เคยมีความคิดที่จะเป็นทหารเลย แม้ว่าเขาจะขอเข้าฝึกหัดอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง เขาตั้งใจที่จะเป็นทนายความและนักกฎหมาย ซึ่งเป็นอาชีพที่ขึ้นหน้าขึ้นตาอาชีพหนึ่งในสมัยนั้น

    การดำเนินชีวิตของเขาในตอนแรกไม่ค่อยราบรื่นนัก บิดาของเขาเสียชีวิตตั้งแต่เขาอายุยังน้อย เขาเริ่มหาเลี้ยงตนเองโดยการทำงานในวัดแห่งหนึ่งตั้งแต่อายุได้ 15 ปี เขาเป็นคนที่มีศัตรูรอบข้างและต้องย้ายที่อยู่บ่อยๆ เพื่อหลบหนีผู้ที่ปองร้ายเขา

    จูเลียส ซีซาร์ ได้ชื่อว่ามีความเก่งกาจทางด้านการทหารเป็นอย่างยิ่ง เมื่ออายุได้ 12 ปี เขาได้รับเหรียญกล้าหาญในการรบที่เมือง มีชลีน ในระยะสิบปีแห่งการทำสงคราม ซีซาร์สามารถตีชนะประเทศต่างๆ ถึง 300 ประเทศ ได้เมืองต่างๆ ไว้ในอำนาจถึง 800 เมือง และกวาดต้อนผู้คนมาเป็นทาสได้ถึง 1,000,000 คน เขาได้ครองตำแหน่งสำคัญๆ หลายตำแหน่งในกรุงโรม ได้แก่ ผู้พิทักษ์ (Tribune) เป็นนายคลังใหญ่ เป็นหัวหน้าโยธาธิการ และเป็นประมุขของศาสนาจารย์ ซึ่งในตำแหน่งนี้ ซีซาร์ได้ปฏิรูปปฏิทินเสียใหม่ ให้ 1 ปีมี 365 วัน ทุก 4 ปีเพิ่มวันขึ้นอีก 1 วัน ทั้งนี้เพื่อคำนวณวันกำหนดพิธีการได้อย่างถูกต้อง ปฏิทินนี้เรียกว่า "ปฏิทินจูเลียน" (เดือนกรกฎาคม หรือ July เป็นเดือนเกิดของซีซาร์ ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่เขา เช่นเดียวกันกับตำแหน่งซาร์ของ รัสเซีย ก็ได้มาจากชื่อของเขา นั่นคือ ซีซาร์)

    กองทัพโรมภายใต้การนำของเขาได้รับชัยชนะตั้งแต่ยุโรปตอนเหนือจรดยุโรปตอนใต้ จากสเปนไปจนถึงเอเชียไมเนอร์ และเรื่อยไปจนถึงอียิปต์ เขาทำให้อาณาจักรโรมันมีความยิ่งใหญ่จนกล่าวได้ว่าปกครองโลกมานานเป็นเวลากว่า 450 ปี

    เมื่อซีซาร์กลับจากการทำสงครามในสเปน ก็ได้จัดการปกครองโรมในรูปแบบใหม่เรียกว่า "ไตรมิตร" โดยมีซีซาร์ ปอมเปย์ และ คราสซูส เป็นผู้นำในการบริหาร ซีซาร์ได้รับตำแหน่งเป็นกงสุล ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดในการปกครองโรม และซีซาร์ได้ออกกฎหมายจัดสรรที่ดินให้แก่ทหารผ่านศึก และเขาเริ่มกลายมาเป็นคนที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในทางการเมืองเมื่อได้รับเลือกตั้งให้ เป็นสมาชิกสภาเซเนต เขาได้แสดงให้ทุกคนเห็นว่าเขาเป็นผู้นำ เป็นนักปกครอง เป็นนักเผด็จการ โดยเฉพาะเป็นนักการทหาร ที่แท้จริง สามารถที่จะฟัง อ่าน เขียน และออกคำสั่งได้ในเวลาเดียวกัน ตำแหน่งดังกล่าวทำให้เขาเป็นหนึ่งในสองของผู้ปกครองกรุงโรม

    เหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดในสมัยที่ซีซาร์ครองโรมัน ก็คือ การยกทัพเข้ารุกรานอังกฤษ เมื่อปีที่ 55 ก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งขณะนั้น ซีซาร์ได้ครอบครองอาณาจักรกอล (Gual) ซึ่งปัจจุบันคืออาณาเขตประเทศฝรั่งเศสและเบลเยี่ยม ซีซาร์เตรียมกำลังทหารจำนวน 10,000 คนเข้าโจมตีเกาะแห่งนี้ ซึ่งชาวพื้นเมืองบนเกาะก็สู้รบอย่างเต็มที่ แต่กองทัพภายใต้การบัญชาการของซีซาร์ก็สามารถขับไล่ชาวพื้นเมืองให้หนีไปได้

    การเข้ายึดอาณาจักรกอล และการยกทัพไปตีอังกฤษของซีซาร์ได้สร้างความมั่นคงในทางทหารให้แก่เขายิ่งขึ้น ปอมเปย์ หนึ่งในไตรมิตรก็เกิดริษยาในความสำเร็จของซีซาร์ ในขณะที่ซีซาร์ไม่อยู่ในโรม ปอมเปย์พยายามที่จะทำให้ประชาชนนิยมในตัวเขา โดยการสร้างโรงละคร จัดให้มีการแข่งขันกีฬาและจัดงานเลี้ยงประชาชน ภายหลังจากการตายของคราสซูส สภาก็แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายสนับสนุนซีซาร์ และ ฝ่ายสนับสนุนปอมเปย์

    แต่เมื่อซีซาร์ยกทัพเข้าสู่กกรุงโรม ปอมเปย์กลับหลบหนีจากโรมไปอยู่กรีก เมื่อซีซาร์ยึดอิตาลีได้หมด รวมทั้งเกาะซิซิลี ซาร์ดิเนีย และสเปนแล้ว ก็ยกทัพไปรบกับปอมเปย์ในกรีก ทั้งสองฝ่ายปะทะกัน ณ ทุ่งฟาร์ซาลา ในแคว้นเทสสาลี ปอมเปย์ถูกตีแตกพ่ายจนต้องหนีไปอียิปต์ พอขึ้นบกก็ถูกฆ่าตาย

    ซีซาร์ติดตามปอมเปย์ไปจนถึงอียิปต์ และได้พบกับพระนางคลีโอพัตรา ซีซาร์ตกหลุมรักนาง และได้แต่งตั้งให้เป็นราชินีแห่งอียิปต์ แล้วขับไล่ปโตเลมีที่ 12 ซึ่งเป็นทั้งพระอนุชาและสวามีของพระนางจากบัลลังก์อียิปต์ (ซีซาร์มีโอรสกับพระนาง 1 องค์ และพระนางคลีโอพัตราก็ได้ติดตามซีซาร์กลับมายังกรุงโรมด้วย แต่พอซีซาร์ถูกลอบสังหาร พระนางจึงเสด็จกลับไปครองอียิปต์ อีกครั้งหนึ่ง)

    เมื่อกลับมากรุงโรม อำนาจของซีวาร์ยิ่งใหญ่มาก สภาเซเนตตั้งให้เขาเป็นผู้บริหารมีอำนาจเต็มที่ ใครๆ พากันเรียกเขาว่า "บิดาแห่งประเทศ" แม้จูเลียส ซีซาร์จะได้ชื่อว่าทารุณโหดร้ายและมีศัตรูมากมาย แต่เขาก็เป็นแม่ทัพที่ทหารพากันจงรักภักดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ไหนมีอันตรายที่นั่นซีซาร์จะเป็นคนแรกที่บุกเข้าไป เขาเป็นที่รักของผู้คนมากมาย คนโห่ร้องต้อนรับเขาในทุกที่ที่เขาไป มีการพิมพ์เหรียญรูปของเขา จนคนกลุ่มหนึ่งคิดจะยกให้เขาขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งโรม แต่เขาปฏิเสธ ความยิ่งใหญ่ของเขาทำให้ เพื่อนสนิทของเขาหลายคนเกิดความริษยาจนกลายมาเป็นศัตรู

    และในเช้าของวันที่ 15 มีนาคม ก่อนคริสต์ศักราช 44 ปี ซีซาร์ออกเดินทางเข้าร่วมประชุมสภาเซเนต ท่ามกลางคำคัดค้านของภรรยาและเพื่อนสนิทที่ได้รับข่าวลือถึงแผนการลอบสังหารเขาในเช้าวันนั้น แต่เขาก็ดื้อรั้นจะเข้าประชุมในวันนั้นให้ได้ และเมื่อ เวลา 11.00 น. นั่นเองในขณะที่เขากำลังยืนอ่านรายงานการประชุม กลุ่มผู้บริหารที่เคยเป็นมิตรของเขาและเขาเคยให้ความ ช่วยเหลือ เช่น แคสซิอุส บรูตุส ก็เข้าห้อมล้อม แคสซิอุส หนึ่งในจำนวนผู้วางแผนก็ได้ใช้ดาบแทงที่คอของซีซาร์ จนเขาล้มลงขาดใจตาย ณ ที่นั่นเอง

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×