ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ~+...เทพนิยาย...ประวัติศาสตร์...+~

    ลำดับตอนที่ #14 : สหภาพยุโรป

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 616
      0
      2 ก.ย. 50

    ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 : สหภาพยุโรป

    หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุโรปอยู่ในสภาพที่บอบช้ำและเสียหายอย่างหนักในทุกด้าน จึงทำให้มีผู้นำทางการเมืองเกิดแนวความคิดที่จะสร้างอนาคตที่มีสันติภาพอย่างถาวร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปรองดองกันระหว่างสองรัฐที่เคยได้ทำสงครามที่สร้างความหายนะแก้ทวีปทั้งทวีป คือ ฝรั่งเศส กับเยอรมนี ซึ่งบุคคลที่ได้เสนอแนวคิดนี้ คือ นาย Jean Monnet (ชาวฝรั่งเศส) และถูกนำมาขยายผลโดยนาย Robert Schuman (รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศส) โดยวิธีการของการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจกันระหว่างฝรั่งเศสกับเยอรมนีให้ใกล้ชิดกันจนกระทั่งทั้งสองประเทศจะไม่สามารถทำสงครามระหว่างกันได้ แต่ในขณะเดียวกันก็มีเป้าหมายในระยะยาวที่จะสร้างความเป็นเอกภาพระหว่างประชาชนชาวยุโรป เพื่อมิให้มีการแตกแยกและนำไปสู่การทำสงครามระหว่างกันในอนาคตด้วย

    แนวคิดดังกล่าว ได้นำไปสู่การจัดตั้ง ”ประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (European Coal and Steel Community)” ในปี พ.ศ. 2494/ค.ศ.1951 โดยสนธิสัญญากรุงปารีส ซึ่งแรกเริ่มมีประเทศสมาชิก 6 ประเทศ คือ (ฝรั่งเศส เยอรมนี เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบอร์ก และอิตาลี) ทั้งนี้ เนื่องจากถ่านหินและเหล็กกล้าถือเป็นยุทธปัจจัย การจัดตั้งประชาคมเพื่อบริหารทรัพยากรดังกล่าวจึงเสมือนเป็นก้าวแรกที่จะทำให้สงครามระหว่างฝรั่งเศสกับเยอรมนีไม่สามารถเกิดขึ้นได้อีก หลังจากนั้น ได้มีการจัดตั้งประชาคมขึ้นอีก 2 ด้าน คือ ด้านปรมาณู (Euratom) ในปี พ.ศ. 2497/ค.ศ.1954 และที่สำคัญ คือ ด้านเศรษฐกิจ (European Economic Community) ในปีพ.ศ. 2500/ค.ศ.1957 โดยสันธิสัญญากรุงโรม

    ทั้งสนธิสัญญากรุงปารีสและสนธิสัญญากรุงโรม ถือเป็นพื้นฐานสำคัญของสหภาพยุโรปที่ยังคงใช้จนถึงทุกวันนี้ เพราะเป็นการวางรากฐานในการจัดตั้งสถาบันบริหารกิจการของประชาคม คือ คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) คณะมนตรี (Council) ศาลตุลาการยุโรป (European Court of Justice) และสภายุโรป (European Parliamentary Assembly ต่อมาเปลี่ยนมาเรียกว่า European Parliament) และยังวางรากฐานของการบริหารอธิปไตยร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกโดยผ่าน ”ประชาคม” อีกด้วย

    ทั้งนี้ เป้าหมายที่สำคัญของการร่วมมือครั้งนี้ คือ การจัดตั้ง “ตลาดร่วม” ของประเทศสมาชิก กล่าวคือ ดำเนินการเพื่อให้การเคลื่อนย้ายสินค้าระหว่างประเทศสมาชิกเป็นไปโดยไร้อุปสรรคอย่างสิ้นเชิง ซึ่งนอกจากหมายถึงการยกเลิกด่านศุลกากรระหว่างกันแล้ว ยังหมายถึงการประสานกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายสินค้าทั้งหมด อาทิ การรับรองมาตรฐานสินค้า ระบบการตรวจสอบสินค้าเข้าจากต่างประเทศ ฯลฯ ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวได้เสร็จสิ้นภายหลังโครงการ “Single Market Act” (เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 259/ค.ศ.1986) และสำเร็จเมื่อปี พ.ศ. 2535/ค.ศ.1992 พัฒนาขั้นต่อไปที่สำคัญ คือ การลงนามในสนธิสัญญาจัดตั้งสหภาพยุโรป (Treaty of European Union) ลงนามที่เมืองมาสตริคต์ในปี พ.ศ. 2535/ค.ศ.1992 (จึงมักเรียกสั้นๆ ว่า Maastricht Treaty) ซึ่งถือเป็นจุดกำเนิดของ “สหภาพยุโรป”ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน สาระสำคัญของการจัดตั้งสหภาพยุโรป คือ นอกจากคงไว้ซึ่งโครงสร้างความร่วมมือเดิมภายใต้ประชาคมทั้งสามที่มีอยู่เดิมแล้ว ยังขยายความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกไปอีกสองด้าน คือ (1) ความร่วมมือด้านการต่างประเทศและความมั่นคง กับ (2) ความร่วมมือด้านมหาดไทยและยุติธรรม อย่างไรก็ดี เนื่องจากทั้งสองด้านดังกล่าว เป็นเรื่องที่บางรัฐสมาชิกมีความกังวลเกี่ยวกับประเด็นด้านอธิปไตย จึงมิใช่ความร่วมมือในลักษณะ “ประชาคม” (หมายถึงการแบ่งอำนาจอธิปไตยมาบริหารร่วมกัน) แต่เป็นการร่วมมือและประสานนโยบายระหว่างรัฐบาล (Inter-Governmental Cooperation) “สนธิสัญญามาสตริคต์” ถูกแก้ไขและปรับปรุงเพิ่มเติมโดยสนธิสัญญาสำคัญอีกสองฉบับ คือ สนธิสัญญกรุงอัมสเตอร์ดัม (Treaty of Amsterdam) ปี พ.ศ. 2540/ค.ศ.1997 และสนธิสัญญาเมืองนีซ (Treaty of Nice) ปี พ.ศ. 2544/ค.ศ.2001 ซึ่งขยายขอบเขตสาขาความร่วมมือภายใต้นโยบายร่วมของสหภาพยุโรป (โดยเฉพาะในด้านมหาดไทยและยุติธรรม) พร้อมกับปรับปรุงสถาบันและแนวปฏิบัติเพื่อให้สามารถรองรับจำนวนรัฐสมาชิกที่เพิ่มขึ้นต่อไป

    จากเดิมซึ่งมีสมาชิกเพียง 6 ประเทศ สหภาพยุโรป ได้รับรัฐสมาชิกเพิ่มขึ้นเรื่อยหลายครั้ง คือ ปีพ.ศ. 2516/ค.ศ.1973 เดนมาร์ก ไอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร ปีพ.ศ. 2524 ค.ศ.1981 กรีซ ปีพ.ศ. 2529/ค.ศ. 1986 สเปนและโปรตุเกส ปีพ.ศ. 2538/ค.ศ.1995 ออสเตรีย ฟินแลนด์ สวีเดน และล่าสุดปีพ.ศ. 2547/ค.ศ.2004 ถือเป็นการขยายจำนวนสมาชิกครั้งใหญ่ที่สุดถึง 10 ประเทศ คือ ไซปรัส สาธารณรัฐเช็ค เอสโตเนีย ฮังการี ลัตเวีย ลิทัวเนีย มอลต้า โปแลนด์ สาธารณรัฐสโลวัก และสลีวีเนีย

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×