ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ~+...เทพนิยาย...ประวัติศาสตร์...+~

    ลำดับตอนที่ #116 : คิงส์ อาเธอร์(อันนี้น้อยๆก่อน)

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 780
      1
      2 ต.ค. 50

    นับตั้งแต่ครั้งโบราณกาลมาแล้วประเทศอังกฤษได้ให้กำเนิดวีรบุรุษหลายต่อหลายคน ซึ่งไม่ว่าผู้ใหญ่หรือเด็กๆ ทั่วโลกล้วนณุ้จักชื่อเสียงเรียงนามเป็นอย่างดีเช่น
    ไอแวนโฮ โรบินฮูด กษัตริย์ริชาร์ดใจสิงห์ กษัตริย์อาเธอร์ และบรรดาอัศวินโต๊ะกลมทั้งหลาย เรื่องราวเหล่านี้บ้างก็เชื่อว่าเป็นนิทานปรัมปราหรือเรื่องเล่าขานจากปากต่อปากโดยไม่มีตัวตนที่แท้จริง ในขณะเดียวกันก็ยังมีผู้คนอีกมากหลายพากันเชื่อ
    ตรงกันข้ามซะนี่ และพยายามหาหลักฐานหักล้างให้กลายเป็นเรื่องจริงเต็มร้อยจนได้
    ด้วยวิธีนี้นี่เอง … กษัตริย์อาเธอร์จึงน่าจะมีตัวตนจริงๆ เรื่องราวของกษัตริย์หนุ่มยอดนักสู้แห่งเกาะอังกฤษผู้นี้เป็นที่รู้จักแพร่หลายครั้งแรกจากบทโศลกขับร้องของชาวเวลส์ เมื่อ ค.ศ. 600 เรื่อง Y GODODIN จากนั้นก็มีปรากฎอยู่ในหนังสือประวัติศาสตร์ ที่จารึกเป็นภาษาละตินในราวคริสต์วรรษที่ 9 - 10พอถึงศตวรรษที่ 11 ก็มีหนังสือ MOBINOGION ชุมนุมเรื่องเล่าของชาวเวลส์ ซึ่งเริมกล่าวถึงพระนางจินนีเวียร์ราชินีของกษัตริย์อาเธอร์เป็นครั้งแรกพร้อมกับเหล่าอัศวินโต๊ะกลมที่ชื่อ เซอร์เคย์ เซอร์กาเวน 9ล9 ต่อมาในปี 1135 จอฟฟรีย์แห่งมอนมัธบาทหลวงนักบันทึกประวัติศาสตร์ชาวเวลส์ ได้แต่งหนังสือเรื่อง "ประวัติปวงกษัตริย์แห่งบริเตน " ( HISTORIA REGUM BRITANNIAE ) เล่าว่า อาเธอร์เป็นราชโอรสของอูเธอร์เพนดรากอน กษัตริย์กังกฤษ และนับเป็นหนังสือเล่มแรกที่เอ่ยถึง พ่อมดเมอร์ลิน การคบชู้สู่สวาท ของราชินีจินนีเวียร์ เกาะอวาลอน - เกาะศักดิ์สิทธิ์ที่กษัตริย์อาเธอร์ใช้พำนักรักษาบาดแผลฉกรรจ์อันเกิดจากการสู้รบครั้งสุดท้ายตลอดจนการปราบกบฎมอร์เดรดผู้เป็นหลานพระองค์เองอีกด้วย
    พระราชินีแต่งตั้งอัศวินของอังกฤษในยุคกลาง
    สำหรับดาบ เอ็กซ์คาลิเบอร์ที่เสียบอยู่ในหินเพื่อรออาเธอร์มาดึงออกโดยเฉพาะ หรือวีรกรรมอันห้าวหาญของขุนศึกอัศวินโต๊ะกลมล้วนถูกต่อเติมเสริมแต่งขึ้นภายหลังเมื่อเวลาผ่านไปอีก 350 ปี ด้วยฝีมือประพันธ์ของ เซอร์โธมัส มัลลอรี่ ในหนังสือเรื่อง LA MORTED ' ARTHUR ( การสิ้นพระชนม์ของคิงอาเธอร์) ซึ่งถึงตอนนี้เรื่องของความรักสามเส้าและการต่อสู้ของกษัตริย์อาเธอร์กับบรรดาอัศวินโต๊ะกลมก็ดังระเบิดเถิดเทิงเป็นที่รู้จักกันดีทั่วทวีปยุโรปมีทั้งฉบับภาษา ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี 9ล9แถมยังข้ามน้ำข้ามทะเลโด่งดังไปถึงอเมริกา เมื่อ มาร์ก ทเวน แต่งเรื่อง A CONNECTICUT YANKEE AT KING ARTHUR ' S COURT ในปี 1880หลังจากบาทหลวงจอฟฟรีย์แห่งมอนมัธผู้เปิดศักราชเรื่องของกษัตริย์อาเธอร์ได้อย่างน่าเชื่อถือ มรณภาพไปแล้ว 30 ปี หรือตรงกับ ค.ศ. 1154 รัชสมัยของกษัตริย์เฮนรี่ที่ 2 ของอังกฤษนั้นความที่พระองค์ทรงโปรดปรานการเดินทางเยี่ยมเยีนทุกข์สุขของทวยราษฎร์เป็นอันมากทำให้ได้รับทราบจากปากของวณิพกเฒ่าชาวเวลส์ว่า
    พระศพของกษัตริย์อาเธอร์ฝังอยู่ที่ลานหน้าวิหารกลาสตันบิวรี่นั่นเอง โดยฝังลึกถึง 16 ฟุต เพื่อป้องกันชาวแซกซอนศัตรูคู่แค้นของพระองค์ขุดศพไปทำลาย
    วณิพกผู้นั้นระบุสถานที่ของสุสานอย่างชัดเจน ถึงขนาดว่า - อยู่ระหว่างกลางของพีระมิดสองแห่งกษัตริย์เฮนรี่ทรงเลื่อมใสความเก่งกล้าสามารถของกษัตริย์อาเธอร์เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
    ว่ามีความยิ่งใหญ่ไม่ด้อยไปกว่าจูเลียส ซีซาร์ เพราะทรงรบชนะ ไอร์แลนด์ สกอตแลนด์ สแกนดิเนเวีย ฝรั่งเศส และกำลังบุกกรุงโรมอยู่พอดีตอนที่มอร์เดรดก่อการกบฎ อีกทั้งกษัตริย์เฮนรี่เองก็เคยได้ยินเรื่องของสุสานกษัตริย์อาเธอร์มาบ้างแล้ว พระองค์จึงรีบแจ้วข่าวดีนี้ให้เจ้าอาวาสแห่งวิหารกลาสตันบิวทรี่ทราบทันที แต่โชคร้ายที่เจ้าอาวาสไม่ยินดียินร้ายกับข่าวนี้เอาซะเลย เพราะตอนนั้นผู้คนศรัทธาวัดกลาสตันบิวรี่เยอะอยู่แล้ว ปีหนึ่งๆได้รับเงินบริจาคจาก
    สาธุชนมากมายจนเกินพอ ไม่จำเป็นต้องนำเรื่องสุสานกษัตริย์อาเธอร์มาช่วยโปรโมตให้วัดโด่งดังยิ่งขึ้นไปอีก ประกอบกับเมื่อได้ยินว่าสุสานตั้งอยู่ระหว่างพีระมิดทั้งสองแห่งก็ถอดใจ อะไรกันวุ้ย... มันช่างเป็นเรื่องที่เหลวไหลสิ้นดี วิหารกลาสตันบิวรี่มีพีระมิดกันเมื่อไรเล่ากษัตริย์เฮนรี่จึงทรงพระแห้วไปตามระเบียบ ไม่สามารถบีบบังคับเจ้าอาวาสได้เพราะตอนนั้นศาสนจักรมีอำนาจเหนือพระราชาอยู่เป็นอันมาก
    กาลเงลาผ่านเลยไปอีก 30 ปี วันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1184 ได้เกิดไฟไหม้ใหญ่ ทำให้วิหารกลาสตันบิวรี่วอดวายเหลือเพียงซากดำเป็นตอตะโก
    กษัตริย์เฮนรี่ที่ 2 ทรงรับเป็นองค์อุปถัมถ์บูรณะฟื้นฟูวิหารจนใช้การได้ดังเดิมโดยใช้เวลาถึง 7 ปี ในช่วงนั้นเองให้บังเอิญมีพระรูปหนึ่งมรณะภาพ และแจ้งความประสงค์ไว้ก่อนหน้าว่าขอให้ฝังศพของท่านที่ลานหน้าวิหารระหว่างไม้กางเขนสองอัน ซึ่งตั้งเทินอยู่บนฐานหินอีกทีหนึ่ง
    ภาพประกอบในหนังสือโบราณ แสดงถึงภารกิจของอัศวินที่ต้องรับใช้ศาสนาและพระมหากษัตริย
    ฐานหินออ่นที่ว่านี้มีลักษณะฐานกว้างใหญ่แล้วค่อยๆสูงขึ้นไปเรียวเล็กตรงปลายไม่ผิดเพี้ยนอะไรกับรูปทรงพีระมิด
    ชะรอยพระที่ช่วยกันขุดหลุมศพคงนึกถึงเรื่องเล่าขานเก่าแก่เกี่ยวกับสุสานกษัตริย์อาเธอร์ขึ้นมาได้ จนเร่งขุดหลุมจนถึงความลึก 7 ฟุต ซึ่งผู้ขุดต้องเย็นสันหลังวาบในทันทีเมื่อปลายจอบกระทบถูกแผ่นหิน พวกพระช่วยกันแงะขึ้นมาดูก็พบว่า ด้านหลังสลักเป็นรูปไม้กางเขนจารึกข้อความภาษาลาตินเอาไว้ว่า " HIE JACETSEPULTUS INCLYTUS REX ARTORIUS IN INSULA AVALONIE " ( ณ ที่นี้คือสถานที่ฝังพระศพของกษัตริย์อาเธอร์ผู้เรืองนามแห่งเกาะอวาลอน )
    พวกพระระดมกำลังเพิ่มเร่งขุดต่อไปอีกเป็นวันๆโดยขยายฐายหลุมให้กว้างขึ้น ในที่สุดเมื่อขุดลึกถึง 16 ฟุต ตามที่วณิพกเฒ่าชาวเวลส์เคยบอกไว้ ก็พบโลงไม้โอ๊กขณาดใหญ่โตกว่าปรกติภายในโลงบรรจุโครงกระดูกบุรุษร่างสูงใหญ่ซึ่งหลายแห่งกระดูดแตกหักเสมือนหนึ่งถูกกระแทกจนบาดเจ็บสาหัสก่อนตายพระองค์หนึ่งปอยผมสีทองอยู่ในโลง เมื่อเอามือไปแตะปอยผมก็แหลกละเอียดเป็นผุยผง นอกจากนี้ ในโลงยังมีโครงกระดูกอีกหนึ่งโครงเล็กกว่ามาก สันนิษฐานว่าเป็นราชินีจินนีเวียร์ รวมถึงปอยผมสีทองข้างต้นด้วยจีราลดัส แคมเบรนซิส นักประวัติศาสตร์ในยุคนั้น ผู้ทันได้เห็นโครงกระดูกและไม้กางเขนกับตาตัวเองยืนยันว่า ข้อความที่จารึกไว้นั้นมีชื่อ WENNEVERIA (พระราชินีจินนีเวียร์)อยู่ด้วยส่วนเกาะอวาลอนก็คือเมืองกลาสตันบิวรี่ทางภาคตะวันตกของอังกฤษนั่นเองนักโบราณคดียุคปัจจุบันเชื่อคำยืนยันของแคมเบรนซิสมาก เพราะเขาเป็นหนึ่งในจำนวนไม่กี่คนของยุคนั้นที่ไม่เชื่อว่ากษัตริย์อาเธอร์มีตัวตนจริงๆ เขาเคยกล่าวหาว่าหนังสือ " ประวัติปวงกษัตริย์แห่งบริเตน"เป็นเพียงนิยายประโลมโลกเหลวไหลยกเมฆทั้งเพส่วนไม้กางเขนในหลุมพระศพได้อยู่ยั้งยืนต่อมาอีกหลายศตวรรษ เมื่อ ค.ศ. 1670 นายวิลเลียม แคมเดน นักสะสมโบราณวัตถุ ได้เคยแพร่ภาพเหมือนของไม้กางเขนนี้โดยเรียกชื่อกษัตริย์อาเธอร์ว่า " อาร์ตูริอุส " ( ARTURIUS ) อันเป็นชื่อดั้งเดิมที่ใช้เรียกขานกันในยุคของพระองค์ปี 1963 นาย ซี เอ.แรดฟอร์ด นักโบราณคดี ได้ขุดสุสานกษัตริย์อาเธอร์ที่กลาสตันบิวรี่ซ้ำอีกครั้งหนึ่งก็ยืนยันว่า พระในยุคนั้นได้เคยขุดลานหน้าวิหารลึกถึง 16 ฟุต จริง ส่วนปราสาท คาเมล็อต อันโด่งดังของคิงอาเธอร์มีจริงหรือไม่นั้นในปี 1542 นักเขียนชื่อ จอห์น เลแลนด์ ได้เคยเขียนฟันธงอย่างมั่นใจว่า ป้อมบนเนินเขาในเซาร์แคดบิวรี่ แคว้นซอมเมอร์เซ็ต คือปราสาทคาเมล็อต ซึ่งในปี 1966 นักโบราณคดีขุดค้นพบซากป้อมปราการปรากฎอยู่นั้นจริงๆ

    ดาบเอ็กซ์คาลิเบอร์ อาวุธประจำตัวของกษัตริย์อาเธอร์ นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า ไม่น่าจะเสียบอยู่ในหินรอให้อาเธอร์มากระชากออกได้แต่เพียงผู้เดียว เรื่องราวแฝงอิทธิฤทธิ์ที่เพี้ยนไปได้ไกลถึงขนาดนี้คงเกิดจากการแปลภาษาละตินเป็นภาษาอังกฤษผิดพลาดซะมากกว่า SAXO ในภาษาละตินแปลว่า หิน ซึ่งไกล้เคียงกับคำว่า SAXON ชนเผ่าที่รุกรานอังกฤษในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 - 6 เป็นอันมากจึงเป็นไปได้มากว่า อาเธอร์ฆ่าคู่ต่อสู้ที่เป็นชาวแซกซอนแล้วแย่งดาบมาเป็นของตัวเอง ส่วน จอฟฟรีย์ แห่งมอนมัธ เรียกดาบศักดิ์สิทธิ์นี้ว่า " คาลิเบิร์น " ( CALIBURN ) ตามชื่อแม่น้ำคาลี ใกล้เมืองสเตอร์มินสเตอร์ ในแค้วนดอร์เซ็ตซึ่งช่างตีดาบเหล็กเผาไฟจนแดงเล่มนี้เสร็จแล้วได้นำไปจุ่มลงในแม่น้ำที่ว่านี้เองทุกวันนี้

    วาระสุดท้ายของกษัตริย์อาเธอร์ในปี ค.ศ. 539 พระองค์บาดเจ็บสาหัสจากการปราบขบถมอร์เดรดและรอเรือมารับไปสู่เกาะศักดิ์สิทธิ์ - เกาะอวาลอน

    ประวัติของอาเธอร์ที่น่าจะมีเค้าความจริงแฝงอยู่จึงแตกต่างไปจากหนังฮอลลีวู้ดหรือหลักฐานต่างๆในอดีตที่บันทึกเป็น ภาษาละติน เสียเป็นส่วนใหญ่ เพราะนักประวัติศาสตร์เชื่อว่าอาเธอร์ไม่ได้เป็นกษัตริย์ แต่เป็นเพียง " อาร์ตูริอุส " นายทหารเอกหรือแม่ทัพของกษัตริย์อูเธอร์เพนดรากอนเกิดเมื่อปีค.ศ.470จากครอบครัวเชื้อสายอังกฤษ/โรมันช่วงที่กองทหารโรมันถอดทัพออกจากการยึดครองเกาะอังกฤษนานร่วมสี่ศตวรรษเพื่อเร่งกลับมาตุภูมิไปป้องกันกรุงโรมจากการรุกรานของพวกอารยชน ( BARBARIAN ) อาเธอร์จึงมิได้เป็นอัศวินสวมชุดเกราะเหล็กอันงามสง่า เพราะมีชีวิตอยู่ก่อนยุคกลางที่ชุดเกราะเหล็กกำลังเฟื่อง อีกทั้งไม่ได้ขี่ม้าขาวตัวใหญ่น่าเกรงขามหรือถือดาบยาวเป็นอาวุธอีกด้วยม้าประจำตัวก็คือม้าโรมันตัวจ้อยและถือดาบสั้นแบบดาบโรมันอย่างที่เห็นในหนังฝรั่งทั่วไป

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×