ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ~+...เทพนิยาย...ประวัติศาสตร์...+~

    ลำดับตอนที่ #107 : หินโรเซตตา(ของอียิปต์)

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.09K
      0
      2 ต.ค. 50

    หินโรเซตตา




    นับเป็นเวลาหนึ่งพันปีที่นักวิชาการต่างพยายามค้นหาความหมายจากตัวอักษรของชาวอียิปต์โบราณ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จนกระทั่งอียิปต์ตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส (ค.ศ. 1798 - 1805)
    เดือนสิงหาคม ค.ศ.1799 นายร้อยบูชาร์ด แห่งกองทัพนโปเลียน กำลังคุมงานก่อสร้าง ณ เมืองโรเซตตา ได้ค้นพบหินบะซอลต์สีดำแผ่นหนึ่งโดยบังเอิญ ด้านที่จารึกตัวอักษรนั้นมีทั้งหมด 3 ชนิด ทำให้เห็นการแบ่งเป็นสามตอนได้อย่างชัดเจน ศิลาจารึกแผ่นนี้รู้จักกันในเวลาต่อมาว่าหินโรเซตตา ซึ่งอักษรที่สลักลงไปนี้ มีใจความกล่าวถึงปี 196 ก่อนคริสตกาล นักบวชในเมืองเมมฟิสช่วยกันทำศิลาจารึกแผ่นนี้เพื่อเป็นการสรรเสริญความดีความชอของปโตเลมีที่ 5 ซึ่งทรงทำคุณงามความดีมากมาย
    ราวปี ค.ศ.1811 ชองโปลียอง ศึกษางานที่ยังทำค้างไว้จากนายแพทย์โทมัส ยัง ซึ่งด่วยจากโลกไปเสียก่อน ตัวอักษรของชาวอียิปต์โบราณมีวิวัฒนาการในการเขียนจากยาก (เหมือนวาดรูป) ค่อย ๆ ไปหาวิธีง่ายขึ้นและใช้ได้ทั่วไปซึ่งนักวิชาการแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน อันได้แก่ ฮีโรกลีฟิก ฮีราติก เดโมติก และคอปติก ซึ่งเป็นวิวัฒนาการขั้นสุดท้าย จะปรากฏเป็นตัวหนังสือมากกว่ารูปภาพ
    สองคำแรกที่เขาอ่านออกคือ ปโตเลมี และคลีโอพัตรา ซึ่งจารึกอยู่ในคาร์ทูช นี่เป็นจุดเริ่มต้นความสำเร็จในการไขความเร้นลับ ของดินแดนไอยคุปต์

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×