ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ~+...เทพนิยาย...ประวัติศาสตร์...+~

    ลำดับตอนที่ #101 : การสร้างพีระมิด(น่าสนใจมากมาย)

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 364
      0
      2 ต.ค. 50

    มหาพีระมิดสร้างขึ้นได้อย่างไร ?



    พีระมิดแห่งเมืองกิซา (Giza) เป็นสิ่งมห้ศจรรย์ชิ้นหนึ่งของโลกมานานถึง 4,000 ปีแล้ว สิ่งที่น่าอัศจรรย์ที่สุด ก็คือ
    คนโบราณสร้างพีระมิดใหญ่ยักษ์ขึ้นได้อย่างไร ทั้งที่อาศัยเครื่องมือง่าย ๆ  ไม่ได้ใช้แม้กระทั่งลูกล้อ ซึ่งเพิ่งเริ่มมีใช้กันในอียิปต์
    เมื่อหลายร้อยปีหลังจากนั้น
                  ในเมืองกิซาใกล้เมืองไคโร  มีพีระมิดที่สำคัญอยู่  3  องค์ สร้างขึ้นเป็นสุสานของฟาโรห์  3  องค์ซึ่งถือกันว่าเป็นสมมติ
    เทพ พีระมิดองค์ใหญ่ที่สุดและสร้างเป็นอันดับแรกเรียกกันว่า "มหาพีระมิด" เป็นอนุสรณ์สถานของฟาโรห์คูฟู (Khufu - ชาว
    กรีก เรียกว่า คีออปส์ - Cheops) ครองราชย์ในช่วงเวลาประมาณ  2,590 - 2,567 ปีก่อนคริสต์ศักราช  มหาพีระมิดนี้สูง  146
    เมตร  ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส แต่ละด้านยาว  229 เมตร รวมเนี้อที่กว่า  33 ไร่ ใช้ก้อนหินประมาณ  2,300,000 ก้อน แต่ละ
    ก้อนหนักมากกว่า  2 ตันครื่งโดยเฉลี่ย บางก้อนหนักกว่า  15 ตัน และหลังแผ่นหินแกรนิตของห้องเก็บพระศพหนักถึง  50  ตัน
                   แต่ก่อนนักท่องเที่ยวไต่จากมุมหนึ่งของพีระมิดขึ้นสู่ยอดได้  ซึ่งช่วยให้รู้ซึ้งถึงขนาดมหึมาของก้อนหินแต่ละก้อนได้เป็น
    อย่างดี  แต่ทางการเพิ่งห้ามการปีนป่ายเมื่อไม่นานมานี้ เพราะมีนักท่องเที่ยวประสบอุบัติเหตุกันไปหลายราย  ก้อนหินแต่ละก้อน
    ที่จัดเรียงกันเป็นขั้นบันไดนี้ แต่ละขั้นสูงเท่ากับโต๊ะอาหารทีเดียว   แต่ในสมัยโบราณนั้น องค์พีระมิดจะมีหินปูนเนี้อเนียนหุ้มเอาไว้
    ซึ่งภายหลังถูกเซาะออกไปใช้สร้างอาคารอื่น  
                   พีระมิดเหล่านี้สร้างอยู่บนเนินเขาเตี้ย ๆ พื้นข้างใต้เป็นหินแกร่ง  หินที่เห็นอยู่ในบริเวณใกล้เคียงใช้เป็นฐานของรูปสลัก
    สฟิงซ์  ปัจจุบันนี้ชานเมืองกรุงไคโรขยายมาจนถึงเชิงพีระมิดแล้ว แต่ในช่วงเวลาที่สร้างขึ้นนั้นบริเวณนี้เป็นทะเลทรายอันห่างไกล
                   ระหว่างการก่อสร้างพีระมิด  คนงานต้องพักอาศัยอยู่ในบริเวณก่อสร้าง  ส่วนเครื่องยังชีพต่าง ๆ ก็ใช้ลาขน หรือใช้คน
    แบกหาม หรือใช้เลื่อนชักลากมา เพราะในเวลานั้นชาวอียิปต์ยังไม่ได้ใช้ม้าหรืออูฐเป็นพาหนะ
                   อันที่จริงระหว่างที่มีการสร้างพีระมิด  3 องค์แห่งกิซานั้น  ความคิดเรื่องพีระมิดไม่ใช่เรื่องใหม่แต่ประการใด  พีระมิดที่
    เก่าแก่ที่สุดนั้นมีลักษณะเป็นขั้นบันได สร้างขึ้นที่เมืองซักการา เมื่อ 2,660 ปี ก่อนคริสต์ศักราช  ส่วนพีระมิดตามรูปแบบที่แท้จริง
    คือ ด้านข้างมีผิวเรียบนั้นพระบิดาของฟาโรห์คูฟูเป็นฟาโรห์องค์แรกที่โปรดให้สร้างขึ้น  ณ  ทางตอนเหนือของดารูว์  แต่พีระมิด
    แห่งกิซานี้ยิ่งใหญ่กว่าพีระมิดอื่นใด  แม้แต่ดีโอโดรุส  ซิคูลุส  นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกสมัย  100  ปีก่อนคริสต์ศักราชก็ยังบันทึก
    ว่า " ความมหึมาและฝีมือช่างของผู้สร้างพีระมิดแห่งนี้ ทำให้ผู้พบเห็นตื่นตะลึงและอัศจรรย์ใจยิ่งนัก"
           
    ที่ประทับของดวงพระวิญญาณแห่งฟาโรห์
    
                      ชาวอียิปต์โบราณเชื่อมั่นว่า หลังจากที่คนเราตาย วิญญาณจะยังคงอยู่ จึงต้องเตรียมการอย่างดีที่สุด เพื่อให้ดวงวิญญ
    าณได้เสวยผลบุญจากชีวิตหลังความตาย  ยิ่งผู้ตายเป็นคนสำคัญมากเท่าใดการเตรียมการก็ต้องยิ่งประณีตละเอียดขึ้นเท่านั้น  ดัง
    นั้นสำหรับองค์ฟาโรห์แล้ว จึงเป็นธรรมดาที่ต้องเตรียมการอย่างวิจิตรพิสดารยิ่งกว่าของผู้ใด 
                       พระราชกรณียกิจแรกของฟาโรห์องค์ใหม่เมื่อขึ้นเสวยราชย์ คือ การจัดสร้างสุสานของพระองค์เอง  ซึ่งการก่อสร้าง
    อาจใช้เวลาตราบเท่าอายุขัยของพระองค์ก็ได้  ขึ้นอยู่กับว่าทรงต้องการให้วิจิตรมากน้อยเพียงใด นี่คือเหตุผลว่าทำไม สุสานหลวง
    หลายแห่งในอียิปต์จึงถูกทิ้งไว้กลางคัน เพราะเมื่อฟาโรห์เสด็จสวรรคต งานทั้งหลายก็ยุติลงด้วย ยกเว้นแต่การจัดเตรียมห้อง
    บรรจุพระศพ
                        สุสานของฟาโรห์เป็นที่สถิตของดวงวิญญาน หรือ คา (ka) ซึ่งเปรียบเสมือนกายทิพย์ที่ซ้อนอยู่กับกายเนื้อขณะเมื่อ
    ฟาโรห์ยังดำรงพระชนม์ชีพอยู่ชาวอียิปต์เชื่อกันว่า คา จะดำรงอยู่ได้ตราบเท่าที่กายเนื้อยังคงสภาพอยู่ ด้วยเหตุนี้เขาจึงอาบยา
    ร่างของผู้ตายเพื่อรักษามิให้เน่าเปื่อย  นอกจากนี้  คา  ยังต้องมีทุกสิ่งที่ผู้ตายเคยทำเคยใช้เมื่อยังมีชีวิตอยู่  ดังนั้นการเซ่นสังเวย
    อาหารจึงนับเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง
    
    
     
                         หน้าที่หลักของสุสาน คือ เพื่อปกป้องร่างและปกป้องร่างและสมบัติของผู้ตายจากมิจฉาชีพ  อีกประการหนึ่งคือเมื่อ
    แสดงอำนาจและความมั่งคั่งของเจ้าของ    ฟาโรห์เสด็จสู่ชีวิตหลังความตายพร้อมด้วยพระราฃสมบัติมหาศาล พวกชนชั้นสูงก็บรร
    จุมากมายไว้ในสุสาน  แม้แต่ผู้มีฐานะค่อนข้างต่ำต้อยก็ยังมีอาหารบรรจุหม้อไหฝังไปกับร่างด้วย
    
    คลื่นแรงงานชาวนา
    
                          หากแม้นว่าฟาโรห์จะทรงขาดแคลนอะไรไปบ้าง แต่สิ่งที่พระองค์ไม่ทรงขาดอย่างแน่นอน คือ เวลาและแรงงาน
    นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกชื่อ เฮโรโดตุส  อ้างคำบอกของพระชาวอียิปต์ในสมัยของเขาเอง (450 ปีก่อนคริสต์ศักราช)  ว่าพีระมิด
    ใช้คนงาน  100,000  คน ทำงานคราวละ 3 เดือน ซึ่งก็มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือยืนยันคำบอกเล่านี้  คือในแม่น้ำไนล์ ในแต่ละปีจะ
    ท่วมพื้นที่เพาะปลูกเป็นเวลา  3  เดือน  ทำให้ชาวนาเพาะปลูกอะไรไม่ได้  ช่วงเวลาดังกล่าวจึงมีแรงงานให้ใช้เหลือเฟือ
                            เฮโรโดตุส กล่าวว่า  การก่อสร้างมหาพีระมิดใช้เวลาถึง 20 ปี ซึ่งยังไม่รวมเวลาอีก  10  ปีในการเตรียมพื้นที่
    ก่อสร้าง ตลอดจนการสร้างวิหาร 2  หลังสำหรับพิธีศพและการสร้างทางเชื่อมต่อระหว่างวิหาร 2 หลังนั้น  ทางเชื่อมนี้ใช้ขนส่ง
    ก้อนหินจากแม่น้ำไนล์ด้วย  สันนิษฐานว่าในแต่ละช่วงเวลาคงจะมีแรงงานฝีมือประจำทำเลก่อสร้างประมาณ  4,000  คน และ
    คงจะมีอีกมากมายที่ทำงานสกัดหินอยู่ในเหมืองและลำเลียงหินไปยังกิซา
                            งานสร้างพีระมิดเริ่มด้วยการสกัดและตัดแต่งหินแต่ละก้อน  หินที่ใช้เป็นหลักคือ หินปูน   ส่วนหนึ่งนำมาจาก
    เหมืองใกล้ที่ก่อสร้าง  แต่หินปูนสีขาวเนื้อละเอียดที่ใช้หุ้มผิวนอกของพีระมิดนั้นมาจากเหมืองข้างหน้าผาที่เมืองทูรา  ซึ่งอยู่ห่าง
    ออกไป 13  กิโลเมตร ทางคนละฝั่งของแม่น้ำไนล์  สำหรับหินที่ใช้กรุภายในผนังห้อง คือ หินแกรนิต จากเหมืองที่เมืองอัสวาน
    ซึ่งอยู่เหนือลำน้ำขึ้นไป 960 กิโลเมตร
                             ร่องรอยที่หลงเหลืออยู่ตามหินแสดงให้เห็นวิธีการทำงานในเหมืองโบราณเหล่านี้ คือ คนงานจะใช้สิ่วทองแดง
    เซาะลงไปจนถึงชั้นหินปูน แล้วจึงแยกเอาหินปูนออกจากเนื้อหินทีละก้อน สิ่วทองแดงนี้ทำได้โดยการเผาเพื่อตีขึ้นรูป  แล้วจุ่มลง
    ในน้ำจนเนื้อทองแดงแกร่ง
                             หินปูนคือหินตะกอนซึ่งมักแตกออกเป็นชั้นในทางแนวนอนและเป็นรอยร้าวได้ง่ายตามแนวตั้งซึ่งคุณสมบัติทั้ง
    สองนี้ทำให้การสกัดหินสะดวกขี้น  หินแกรนิตเป็นหินอัคนี จึงไม่มีรอยแยกตามธรรมชาติแบบหินปูน วิธีสกัดคือเขาจะก่อไฟบน
    ผิวของหินแกรนิต เมื่อหินร้อนได้ที่ก็ราดน้ำเย็นลงไป  ทำให้หินส่วนบนซึ่งมีตำหนิแยกออก เผยให้เห็นเนื้อหินแกรนิตคุณภาพดี
    อยู่ข้างใต้
                              ชาวอียิปต์แยกหินแกรนิตแต่ละก้อนออกจากเนื้อหินได้โดยการใช้ก้อนหินโดเลอไรต์ตอกทั้ง 4 ด้าน เพราะหิน
    โดเลอไรต์มีเนื้อแข็งกว่าหินแกรนิต  จากนั้นก็แยกก้อนหินจากเนื้อหินข้างใต้  โดยช่างหินจะเซาะฐานล่างของก้อนหินให้เป็นร่อง
    แล้วตอกลิ่มไม้ลงไปตามร่องนี้  จากนั้นเอาน้ำราดลงไปบนลิ่มไม้  เมื่อลิ่มเปียกน้ำก็จะพองตัว และแยกก้อนหินให้หลุดออกจาก
    เนื้อหินดังกล่าว
                               ขั้นต่อไปคือ การแต่งก้อนหินปูนและแกรนิตให้เข้ารูปโดยใฃ้สิ่วทองแดงและก้อนหินโดเลอไรต์เป็นอุปกรณ์  มี
    การค้นพบก้อนหินโดเลอไรต์ที่เหมืองหินในเมืองอัสวานหลายก้อนด้วยกัน
                               การแต่งก้อนหินอย่างหยาบ ๆ คงจะทำกันที่เหมือง  แต่การตกแต่งขั้นสุดท้ายนั้น  ทำกันที่จุดก่อสร้างซึ่งมีช่าง
    ฝีมืออยู่ จากนั้นก็ยกหินใส่ในไม้โยกแล้วโยกเอาก้อนหินลงใส่ในจุดที่ต้องการ  ระหว่างการสกัดหินเป็นก้อน เขาก็เตรียมพื้นที่ก่อ
    สร้างพีระมิดไปพร้อมกันด้วย  การปรับระดับพื้นที่ก่อสร้างนั้นคงใช้วิธีเดียวกับการสกัดก้อนหิน คือ ตอกด้วยก้อนหินโดเลอไรต์
    ก่อนแล้วเซาะด้วยสิ่วทองแดง  ซึ่งคงต้องอาศัยช่างหินที่ชำนาญ แม้จะไม่มีเครื่องมือวัดระดับใช้  แต่ชาวอียิปต์ก็รู้กฎธรรมชาติว่า
    น้ำจะไหลไปรวมที่ระดับใดระดับหนึ่งเสมอ  ดังนั้นเขาจึงขุดคูล้อมรอบบริเวณเนินซึ่งจะเป็นที่ตั้งของพีระมิด  แล้วขุดคลองชักน้ำ
    จากแม่น้ำไนล์ให้ไหลมาหล่อเลี้ยงคู   เฮโรโดตุส กล่าวว่าน้ำที่ไหลเข้ามาทำให้ เนินดูดังเกาะกลางทะเล
                                จากนั้นเขาก็ก่อทำนบโคลนล้อมเนิน  แล้ววิดน้ำจากคูให้เข้ามาท่วมขังโดยอาศัย "ชาดูฟ" (shaduf)  ซึ่งเป็น
    อุปกรณ์ประเภทถังประกอบกับเครื่องถ่วงน้ำหนัก ปัจจุบันก็ยังมีใช้กันอยู่ในประเทศอียิปต์
                                หลังจากนั้นคนงานก็จะเซาะร่องแคบ ๆ หลายร่องพาดขวางทั่วบริเวณ ซึ่งจะเป็นที่ตั้งของพีระมิด  เซาะจนลึก
    ลงไปจนถีงระดับน้ำในคูรอบเนิน แล้วปล่อยให้น้ำไหลเข้าตามร่องต่าง ๆ จนน้ำปรับตัวอยู่ในระดับเดียวกันทั้งหมด  อันที่จริงสำ
    หรับมหาพีระมิด  เขาไม่ได้ปรับระดับพื้นที่ทั่วทั้งบริเวณ เพียงแต่ปรับบริเวณรอบนอก ทิ้งเนินส่วนที่อยู่ตรงกลางเอาไว้ แล้ว
    สร้างตัวพีระมิดขึ้นรอบล้อม  อันที่จริงการปรับระดับพื้นที่ฐานของมหาพีระมิดมีความผิดพลาดไปบ้าง กล่าวคือ ฐานทางด้านทิศ
    ตะวันตกเฉียงเหนือนั้น เอียงสูงกว่าทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้เล็กน้อย  สันนิษฐานกันว่าในวันที่มีการปรับระดับนี้อาจมีกระ
    แสลมแรงพัดผ่านทำให้ระดับน้ำในร่องทั้ง 2 ด้านไม่เท่ากัน
                                 การวางตำแหน่งพีระมิดต้องละเอียดถี่ถ้วน โดยเฉพาะมหาพีระมิด ด้านทั้ง 4  ตั้งประจันแนวทิศทั้ง 4 เกือบจะ
    ไม่ผิดเพี้ยน นักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ มีความชำนาญในเรื่องนี้มากและคงกำหนดตำแหน่งของพีระมิดตามตำแหน่งของดาวดวง
    สำตัญเป็นแน่  ซึ่งนักดาราศาสตร์ในปัจจุบันคิดว่าคงจะเป็นดาวแอลฟา แดรโคนิส ซึ่งสมัยนั้นอยู่ใกล้ขั้วโลกเหนือ
                                 การสร้างมุมของพีระมิดให้ได้ฉากคงมิใช่เรื่องยากสำหรับชาวอียิปต์ เพราะรู้ดีอยู่แล้วว่า รูปสามเหลี่ยมที่แต่ละ
    ด้านมีสัดส่วนเป็น 3 : 4 : 5  หน่วยนั้น จะได้มุมฉากโดยอัติโนมัติ ชาวอียิปต์คงใช้ไม้ฉากซึ่งคล้ายกับของช่างไม้และช่างปูนในปัจ
    จุบัน  การทำให้มุมของหินแต่ละก้อนได้ฉากเที่ยงตรงก็คงใฃ้กรรมวิธีเดียวกัน  ส่วนการกำหนดเส้นแนวของด้านต่าง ๆ ของพีระมิด
    ก็คงอาศัยเชือก  ช่างรังวัดของฟาโรห์คูฟูทำงานได้อย่างยอดเยี่ยมมาก  เพราะทุกด้านของมหาพีระมิดมีความยาวใกล้เคียงกันมาก
    จะผิดกันไม่เกิน 18 เซนติเมตรในความยาว 230 เมตร เขาคงใช้เชือกช่วยวัดแนวเส้นตรงขณะก่อสร้าง  ส่วนการกำหนดเส้นแนว
    ตั้งก็คงใช้ลูกดิ่งช่วย   แต่เดิมนั้นมหาพีระมิดสูง 146.6 เมตร แต่ต่อมาส่วนยอดบางส่วนและผนังรอบนอกที่ห่อหุ้มอยู่ได้หลุดออก
    ไปทำให้ปัจจุบันสูงเพียง 137 เมตร และมียอดตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสแทนที่จะมียอดแหลม
                                 ก่อนเริ่มก่อองค์พีระมิดขึ้นไปเขาจะสร้างห้องเก็บพระศพก่อนโดยเจาะโพรงลงไปในหินใต้ฐานของบริเวณที่จะ
    ก่อพีระมิด  ซึ่งก็คงจะเป็นการเตรียมการล่วงหน้า  เผื่อว่าฟาโรห์คูฟูสวรรคตลงก่อนการสร้างพีระมิด
                                 ชาวอียิปต์มีลาไว้ใช้งานกันไม่มากและอาจมีวัวใช้งานอยู่บ้าง  ดังนั้นการขนส่งก้อนหินขนาดใหญ่จากเหมือง
    สู่ทำเลก่อสร้างจึงต้องอาศัยแรงคนด้วย   ภาพวาดฝาผนังของอียิปต์แสดงภาพคนจำนวนมากกำลังช่วยกันลากหินหนัก ๆ หรือ
    ลากเรือบรรทุกหินล่องมากตามแม่น้ำอย่างยากเข็ญ
                                  พวกคนงานจะขนก้อนหินบรรทุกเลื่อนไม้ลากมาตามทางเดินจากเหมืองไปยังแม่น้ำไนล์ซึ่งอยู่ไม่ไกล  ก้อน
    หินส่วนใหญ่จะขนส่งทางน้ำและคงลำเลียงกันในช่วงที่แม่น้ำไนล์เอ่อท่วม  การยกหินลงเรือหรือแพนั้นคงอาศัยคานงัดและเชือก
    แล้วล่องข้ามแม่น้ำไปยังทางเดินบนฝั่งที่นำไปสู่บริเวณก่อสร้าง จากนั้นก็ขนต่อด้วยวิธีการเดียวกัน เพื่อไปยังโรงงานที่มีช่างหิน
    คอยรับช่วงทำงานขั้นต่อไป  เขามักใช้ทรายหรือเศษหินเนื้อแข็งเป็นผงขัดแต่งก้อนหินเพื่อให้หินแต่ละก้อนเรียงต่อกันได้สนิท
    ห่างกันไม่เกิน 0.5 มิลลิเมตร ซึ่งมิใช่แต่เพียงตามขอบนอกเท่านั้น แต่เป็นดังนี้ทั่วทั้งด้านซึ่งมีขนาด 3.25 ตารางเมตรทีเดียว
    รอยต่อของหินปูนที่หุ้มด้านนอกพีระมิดยิ่งแนบสนิทกว่านั้นขนาดแผ่นกระดาษก็ไม่สามารถลอดผ่านได้
                                   คนงานจะใช้เลื่อนบรรทุกก้อนหินลากขึ้นไปตามทางเลื่อนที่สร้างขึ้นชั่วคราว เพื่อนำก้อนหินไปวางลงในตำ
    แหน่งที่ต้องการ  ปูนเนื้อละเอียดที่ฉาบอยู่ระหว่างของก้อนหินแต่ละก้อน อาจใช้เป็นสารหล่อลื่นให้หินก้อนบนเลื่อนลงทับก้อน
    ล่างได้ง่าย   เฮโรโดตุส ได้รับการบอกเล่ามาว่า ก่อนที่จะสร้างพีระมิดเสร็จสิ้นลง  งานขั้นสุดท้ายจะทำจากยอดลงสู่ฐาน คือเมื่อ
    สร้างทางลาดสูงขึ้นเรี่อย ๆ จนจรดยอดบนและวางหินชิ้นยอดเสร็จ  ช่างหินก็จะเริ่มขัดแต่งผิวหินปูนสีขาวเนื้อละเอียดที่หุ้มพีระ
    มิดโดยเริ่มขัดจากด้านบนลงด้านล่าง เมื่อขัดแต่งบริเวณใดเสร็จ ก็จะค่อย ๆ รื้อทางลาดแต่ละระดับออกไป
    
    
    การสร้างห้องเก็บพระศพ
                                   ขณะที่สร้างองค์พีระมิดอยู่นั้น  เขาจะสร้างห้องเก็บพระศพห้องที่ 2 เหนือพื้นล่างจองพีระมิดเล็กน้อยเพื่อ
    เตรียมการล่วงหน้าไว้เผื่อฟาโรห์คูฟูสวรรคตไปก่อน  ห้องเก็บพระศพนี้มิใช่ห้องสุดท้ายซึ่งจะอยู่บริเวณใจกลางพีระมิด สูงจาก
    พื้นล่าง 42 เมตร     ทางเข้าอันลี้ลับซับซ้อนไปสู่พีระมิดท้าทายความพยายามของนักสำรวจและโบราณคดีมาช้านาน  ทางเข้า
    ดังกล่าวอยู่ทางทิศเหนือ สูงจากพื้นดินประมาณ 16.75 เมตร  
                                   จากช่องทางเข้านี้มีทางลาดลงทำมุมประมาณ 26 องศา ลงสู่ห้องเก็บพระศพใต้ดินซึ่งสร้างเป็นห้องแรก
    แต่ในที่สุดแล้วไม่ได้ใช้ เมื่อขึ้นสู่ระดับฐานของพีระมิด จะพบทางซึ่งแต่เดิมปิดอำพรางไว้ด้วยประตูหิน ทางเส้นนี้เดินขึ้นสูงชัน
    และมีเพดานต่ำมาก  ต้องค้อมจนตัวงอจึงจะผ่านไปได้  จากนั้นจะถึงทางเดินตัดผ่านในแนวราบนำไปสู่ห้องเก็บพระศพห้องที่
    2  ที่ปัจจุบันเรียกชื่อกันผิด ๆ ว่า " ห้องราชินี " แท้ที่จริงไม่มีพระศพราชินีองค์ไดเก็บไว้ในนั้น 
                                   ทางลาดอันสูงชันจะนำขึ้นสูงต่อไปจนถึง "อุโมงค์หลวง" ซึ่งยาว 46 เมตร และสูง  8.5 เมตร มีแท่นตั้ง
    เรียงอยู่ 2 ฟาก อุโมงค์หลวงนี้ เดิมเป็นที่เก็บหินแกรนิตขนาดมหึมา 3 ก้อนโดยวางไว้บนนั่งร้านเหนือแท่นดังกล่าว หิน 3
    ก้อนนี้ภายหลังใช้ปิดปากทางเข้า  สุดอุโมงค์หลวงเป็นห้องเก็บพระศพห้องสุดท้าย ซึ่งเป็นห้องเรียบ ๆ ขนาดประมาณ 5เมตร
    x 10เมตร เพดานสูง  6 เมตร เพดานทำด้วยแผ่นหินขนาดมหึมา 9 แผ่น และเพื่อลดน้ำหนักของเพดานเสียบ้าง  เขาจึงแบ่ง
    ช่องว่างให้มีช่องว่าง 5  ช่องแล้วครอบด้วยหลังคายอดแหลม ทางทิศเหนือและใต้มีช่องลมเล็ก ๆ ที่ทะลุขึ้นไปสู่ภายนอกพีระมิด
    อยู่ 2 ช่อง สันนิษฐานว่าคงสร้างขึ้นตามความเชื่อทางพิธีกรรม  คือ อาจใช้เป็นทางเข้าและออกของวิญญาณหรือ "คา" ของ
    ฟาโรห์
                                    ในห้องเก็บพระศพนี้มีหีบพระศพทำด้วยหิน มีขนาดใหญ่เกินกว่าที่จะนำเข้ามาตามทางได้จึงน่าจะนำเข้า
    มาวางไว้ในขณะก่อสร้างเช่นเดียวกับก้อนหินในอุโมงค์หลวง
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×