29กันยายน2550
มติชนรายวัน : หนึ่งในวิกฤตการณ์ของมนุษยชาติในปัจจุบันคือวิกฤตการณ์ภาวะมลพิษซึ่งกำลัง คุกคามสุขภาพของมนุษย์หลายร้อยล้านคน และนับวันจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในหลายประเทศ
สถาบันแบล็คสมิธ (BlacKsmith Institute) องค์กรวอทช์ด๊อกด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ได้เผยแพร่ผลการสำรวจ 10 เมืองที่มีภาวะมลพิษมากที่สุดในโลกประจำปี 2007 จากการศึกษาข้อมูลภาวะมลพิษใน 400 เมืองทั่วโลก
ข้อมูลจากหลาย ๆ เมืองได้มาจากประชากรในเมืองนั้น ๆ เอ็นจีโอและรัฐบาลท้องถิ่น โดยพิจารณาจากปัจจัยความเป็นพิษ ระดับความมากน้อยของมลพิษและจำนวนประชากรที่ได้รับผลกระทบ
หลังจาก นั้นนำมาจัดลำดับเมืองที่มีภาวะมลพิษมากที่สุดในโลกจำนวน 10 เมือง รายงานนี้ระบุว่า มีประชาชนได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากมลพิษที่เกิดจากอุตสาหกรรมผลิตสารเคมี โลหะหนักและเหมืองแร่ซึ่งทำให้ประชาชนป่วยเป็นโรคเรื้องรังและตายก่อนวัยอัน สมควรราว 12 ล้านคนมาดูกันว่ามีเมืองใดบ้าง
เมือง ซัมกายิต ประเทศอาเซอร์ไบจาน เมืองศูนย์กลางอุตสาหกรรมหนักและอุตสาหกรรมเคมีการเกษตร ซึ่งรวมทั้งยางสังเคราะห์ อลูมิเนียม และยาฆ่าแมลง โรงงานอุตสาหกรรมผลิตสารเคมี น้ำมัน และโลหะหนักปล่อยมลพิษสู่อากาศปีละ 70-120,000 ตัน มีประชาชนที่ได้รับผลกระทบจำนวน 275,000 คน อัตราผู้ป่วยโรคมะเร็งของเมืองนี้สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ 22-51% การเปลี่ยนแปลงของยีนรวมทั้งเด็กพิการแต่กำเนิดถือเป็นเรื่องปกติ
เมือง หลินเฟิน ประเทศจีน เมืองหลินเฟินอยู่ในมณฑลชานสีศูนย์กลางการใช้พลังงานถ่านหินของจีน เป็น 1ใน 20 เมืองที่มีมลพิษมากที่สุดในโลกจากการศึกษาของธนาคารโลก (16 เมืองอยู่ที่จีน) และเป็นเมืองที่มีคุณภาพของอากาศเลวร้ายที่สุดในจีนจากการศึกษาขององค์การ State Environmental Protection Administration (SEPA) มลพิษที่ถูกปล่อยออกมามีหลายชนิด เช่น เขม่าคาร์บอนมอนนอกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ เป็นต้น แหล่งปล่อยที่สำคัญคือโรงงานอุตสาหกรรมและยานยนต์ มีประชาชนได้รับผลกระทบจากมลพิษมากถึง 3 ล้านคน
เมือง เทียนหยิง ประเทศจีน เมืองเทียนหยิงอยู่ในมณฑลอานฮุย ซึ่งเป็นมณฑลที่เป็นแหล่งผลิตสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน การใช้เทคโนโลยีต่ำการผลิตที่ผิดกฎหมาย และการขาดมาตรการควบคุมมลพิษเป็นสาเหตุทำให้เกิดการปล่อยสารตะกั่วและโลหะ หนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารตะกั่วมีปริมาณสูงกว่ามาตรฐานด้านสุขภาพหลายเท่า แหล่งปล่อยสารตะกั่วคือเหมืองตะกั่วขนาดใหญ่มีประชาชนได้รับผลกระทบ 140,000 คน
เมือง สุกินดา ประเทศอินเดีย เมืองสุกินดาอยู่ในรัฐโอริสสา แหล่งแร่โครไมท์ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศอินเดียมลพิษมาจากเหมืองแร่โครไมท์ จำนวน 12แท่ง ซึ่งดำเนินกิจการโดยไม่มีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เศษหินกว่า 30 ล้านตันกระจายไปทั่วบริเวณรอบ ๆ เหมืองน้ำเสียจากเหมืองซึ่งไม่ได้รับการบำบัดไหลลงแม่น้ำที่เป็นเส้นเลือด ใหญ่ของชุมชน น้ำที่ใช้ดื่มปนเปื้อนสาร Hexavalent Chromium ประมาณ 60% อากาศและดินก็ปนเปื้อนสารดังกล่าวนี้ด้วยมีประชาชนได้รับผลกระทบ 2.6 ล้านคน
เมือง วาปี ประเทศอินเดีย เมืองวาปีอยู่ในรัฐคุชราต มีอุตสาหกรรมต่างๆ มากกว่า 50 ชนิด ในจำนวนนี้มี อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ยาฆ่าแมลง สิ่งทอ ยารักษาโรค เมื่อปี 1994 องค์การ Central Pollution Control Board of India (CPCB) ประกาศว่าเมืองวาปีเป็นเขตมลพิษรุนแรงมลพิษมาจากของเสียในโรงงานอุตสาหกรรม อาทิ โลหะหนัก ยาฆ่าแมลง ไซยาไนด์ ทำให้ประชาชนป่วยเป็นโรคผิวหนังอักเสบ โรคปอด และมะเร็งช่องคอ น้ำใต้ดินที่เมืองวาปีปนเปื้อนสารปรอทและสารตะกั่วเกินกว่าที่องค์การอนามัย โลกกำหนดเกือบ 100 เท่า มีประชาชนได้รับผลกระทบ 71,000 คน
เมือง ลา โอโรยา ประเทศเปรู เมืองเหมืองแร่บริเวณเทือกเขาแอนดิสและแหล่งหลอมโลหะนับตั้งแต่ปี 1922 ประชาชนในเมืองนี้ได้รับผลกระทบจากมลพิษและของเสียจากเหมืองและโรงงาน คือ สารตะกั่ว ทองแดง สังกะสี และกำมะถัน ปัจจุบันทางการเปรูขึ้นบัญชีเป็นเมืองที่มีคุณภาพอากาศอยู่ในระดับเลวร้าย 99% เด็กที่อาศัยอยู่ในและรอบ ๆ เมืองมีสารตะกั่วในเลือดสูงเกินมาตรฐานมีประชาชนได้รับผลกระทบ 35,000 คน
เมือง เซอร์ซินสค์ ประเทศรัสเซีย นี่คือเมืองที่หนังสือกินเนสส์บุ๊กบันทึกว่าเป็นเมืองที่มีมลพิษทางเคมีมาก ที่สุดในโลก เมืองเซอร์ซินสค์เป็นศูนย์กลางการผลิตเคมีภัณฑ์และอาวุธเคมีตั้งแต่ครั้ง สงครามเย็นรวมทั้งการผลิตน้ำมันที่มีสารตะกั่วด้วยมลพิษของเมืองนี้คือแก๊ส ซาริน แก๊สวีเอ็กซ์ รวมทั้งสารตะกั่ว มีประชาชนได้รับผลกระทบ 300,000 คน
เมือง นอริลสค์ ประเทศรัสเซีย เมืองนอริลสค์อยู่ในไซบีเรีย เป็นเมืองที่มีอุตสาหกรรมหลอมโลหะที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่ละปีมลพิษจากทองแดงและนิเกิลออกไซด์ เกือบ 500 ตัน และกำมะถันอีก 2 ล้านตันถูกปล่อยสู่อากาศ เมืองนอริลสค์เป็นหนึ่งในเมืองที่มีมลพิษมากที่สุดในรัสเซีย หิมะที่นี่มีสีดำ ประชาชนได้รับผลกระทบจากมลพิษในอากาศ 134,000 คน
เมือง เชอร์โนบิล ประเทศยูเครน แม้ว่าอุบัติเหตุเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล ระเบิดเมื่อวันที่ 26 เมษายน ปี 1986 จะผ่านไปเป็นเวลา 21 ปี และมีประชาชนได้รับผลกระทบมากถึง 5.5 ล้านคนแล้วก็ตาม แต่บริเวณในรัศมี 19 ไมล์ รอบ ๆ โรงไฟฟ้าแห่งนี้ก็ยังเป็นบริเวณที่อยู่อาศัยไม่ได้ กัมมันตภาพรังสีส่วนใหญ่ยังถูกเก็บกักไว้ภายในโรงไฟฟ้า รอยรั่วของโครงสร้างโรงไฟฟ้าอาจทำให้น้ำฝนไหลเข้าไปจนทำให้เกิดของเหลวเป็น พิษและปนเปื้อนในน้ำใต้ดินได้
เมือง คับเว ประเทศแซมเบีย เมืองคับเวเคยรุ่งเรืองด้วยอุตสาหกรรมเหมืองแรสังกะสีและตะกั่วจนถึงปี 1994 อุตสาหกรรมนี้ได้ทิ้งฝุ่นตะกั่วไว้ในดินโลหะหนักไว้ในน้ำ งานวิจัยระบุว่ามีการกระจายของตะกั่ว แคดเมียม ทองแดง สังกะสีปนเปื้อนอยู่ในดินในปริมาณที่สูงกว่ามาตรฐานขององค์การอนามัยโลก ในรัศมี 20 กิโลเมตรมีประชาชนได้รับผลกระทบ 255,000 ตน
ขอบคุณ http://www.environnet.in.th/news/topic_board.asp?id=437&ntid=6
รายงาน ของสถาบันแบล๊คสมิธมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความตระหนักหรือใส่ใจต่อปัญหา มลพิษในประเทศที่กำลังพัฒนาเศรษฐกิจซึ่งที่ผ่านมาไม่ถูกนำมาเสนอให้รับรู้ อย่างกว้างขวางทั้งทางสื่อมวลชนหรือภายในชุมชนนั้นเอง
ลำดับตอนที่ #99
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #99 : 10 อันดับ เมืองที่มีมลพิษมากที่สุดในโลก
10 อันดับ เมืองที่มีมลพิษมากที่สุดในโลก
posted on 23 Oct 2009 22:51 by plang2u in city
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น