ปี ค.ศ.1957 : สปุตนิค 1 ดาวเทียมดวงแรกของโลก ขึ้นไปโคจรอยู่ในอวกาศ การเริ่มต้นของยุคอวกาศ
วันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ.1957 ประเทศสหภาพโซเวียต (เดิม) ประสบความสำเร็จ ชนะสหรัฐอเมริกา ในการส่งดาวเทียมขึ้นไปโคจรอยู่ในอวกาศ โดยการส่งดาวเทียมชุดสปุตนิค เริ่มต้นจากสปุตนิค 1 ขึ้นสู่อวกาศ และดาวเทียมดวงแรกของโลกนี้ ก็ขึ้นไปโคจรอยู่ในอวกาศรอบโลกอยู่นาน 92 วัน จึงตกลงสู่บรรยากาศของโลก เสียดสีกับบรรยากาศของโลก ลุกไหม้ไปก่อนที่จะตกลงถึงพื้นโลก
สปุตนิค 1 มีรูปร่างง่ายๆ เป็นลูกทรงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 58 เซนติเมตร หนัก 84 กิโลกรัม โคจรรอบโลกหนึ่งรอบกินเวลา 96 วินาที อยู่ในวิถีโคจรเหนือพื้นโลกใกล้ที่สุดที่ระดับความสูง 230 กิโลเมตร ไกลที่สุดที่ระดับความสูง 950 กิโลเมตร
ความสำเร็จของสหภาพโซเวียตเหนือสหรัฐอเมริกา ในการแข่งขันด้านอวกาศกับสปุตนิค 1 ส่งผลให้สหรัฐอเมริกาต้องปรับยุทธศาสตร์อย่างหนัก สำหรับการพิชิตอวกาศ
ปี ค.ศ.1957 : สิ่งมีชีวิตสิ่งแรกของโลกคือ สุนัขไลคา (Laika) ถูกส่งขึ้นไปโคจรอยู่ในอวกาศกับดาวเทียม สปุตนิค 2
สปุตนิค 2 เป็นดาวเทียมขนาดใหญ่ มีน้ำหนักประมาณ 500 กิโลกรัม ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศ ในวันที่ 3 เดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1957 และได้นำสุนัขไลคาขึ้นไปท่องอวกาศรอบโลกด้วย
ปี ค.ศ.1957 : เฟรด ฮอยล์ (Fred Hoyle) จอฟฟรี และมาร์กาเรต เบอร์บริดจ์ (Georffrey และ Margaret Burbridge) และวิลเลียม เฟาว์เลอร์ (William Fowler) เสนอทฤษฎีอธิบายกำเนิดของธาตุหนักในดาวฤกษ์
คำอธิบายที่ชัดเจนมาจาก เฟรด ฮอยล์ ที่ อธิบายปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันภายในดาวฤกษ์ มิได้ยุติเพียงแค่อะตอมไฮโดรเจนหลอมรวมกันเป็นฮีเลียมเท่านั้น ยังเกิดในระดับต่างๆ ขึ้นมาได้อีก คือ เมื่ออุณหภูมิของดาวฤกษ์ขึ้นสูงถึงระดับหนึ่ง ฮีเลียมก็หลอมรวมกัน เกิดเป็นคาร์บอนและออกซิเจน และยังเกิดในระดับต่อๆ มา ได้อีกเป็นแมกนีเซียม กำมะถัน และธาตุอื่นๆ อีก จนกระทั่งขึ้นถึงระดับสูงสุดคือ เหล็ก
ปี ค.ศ.1958 : ดาวเทียมเอกซ์พลอเรอร์ 1 เป็นดาวเทียมของสหรัฐอเมริกาดวงแรก ขึ้นไปโคจรอยู่ในอวกาศ และค้นพบแถบกัมมันตรังสีแวน อัลเลน (Van Allen Radiation Belt)
หลังจากที่เป็นฝ่ายไล่ตามสหภาพโซเวียต ในการแข่งขันพิชิตอวกาศ สหรัฐอเมริกาก็ประสบความสำเร็จ ส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศได้เป็นครั้งแรกกับดาวเทียมเอกซ์พลอเรอร์ 1
ดาวเทียม เอกซ์พลอเรอร์ 1 มีน้ำหนัก 14 กิโลกรัม ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศ วันที่ 31 มกราคม ค.ศ.1958 และก็ได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างดีเยี่ยม ทำให้มีการค้นพบแถบกัมมันตรังสี แวน อัลเลน (Van Allen Radiation Belt) รอบโลก ซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อการส่งมนุษย์ขึ้นสู่อวกาศ และการทำงานของดาวเทียมวิทยาศาสตร์หรือดาวเทียมสำรวจต่างๆ
ที่มา:
http://www.pantip.com/cafe/wahkor/article/chaiwat/cwt_bkkbz153.html
ความคิดเห็น