ประโยชน์จากการคิดถึงความตาย - ประโยชน์จากการคิดถึงความตาย นิยาย ประโยชน์จากการคิดถึงความตาย : Dek-D.com - Writer

    ประโยชน์จากการคิดถึงความตาย

    ผู้เข้าชมรวม

    521

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    7

    ผู้เข้าชมรวม


    521

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  6 พ.ค. 52 / 00:00 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      คนที่คิดถึงความตายจะได้ประโยชน์อย่างไร ?

      บางคนบอกว่าไม่ไหว ไปคิดถึงความตายนี่มันใจอ่อนไปหมด ไม่อยากจะทำอะไร

      อะไร การคิดในรูปนั้นเขาเรียกว่า “คิดผิดทาง” ไม่ตรงจุดหมายของพระบรมศาสดาที่ได้ทรงวางไว้ พระพุทธเจ้าสอนให้เรานึกถึงความตาย เพื่อจะทำตนให้ดีก่อนตาย ให้รู้จักหน้าที่ก่อนตาย แล้วให้ปฏิบัติหน้าที่ให้เรียบร้อยอย่างชนิดที่เรียกว่าไม่มี อะไรบกพร่องเสียหาย คนเราถ้าไม่นึกถึงความตาย ก็ปล่อยตัวปล่อยใจไปตามเรื่อง สนุกไป กินไป เที่ยวไป เล่นไป ถ้าหากว่าได้คิดในเรื่องนี้เสียบ้าง ชีวิตจะมีค่าจะมีราคา เพราะฉะนั้นในแง่ธรรมะ ท่านจึงสอนให้พิจารณาว่าวงันหนึ่งเราจะต้องตาย ความตายเป็นของไม่เที่ยง คือไม่แน่ว่าเราจะอยู่ไปได้อีกนานเท่าไหร่ เพราะชีวิตมันไม่แน่อย่างนี้ เพราะฉะนั้นเราจะต้องนึกว่าเวลานี้เราควรจะอยู่อย่างไร ควรจะทำอะไรเสียก่อนที่จะถึงเวลาตาย เพราะเวลาตายจะทำอะไรก็ไม่ได้

      ญาติ โยมคงจะเคยเห็นเขาทำอะไรๆ เป็นปริศนา เป็นข้อเตือนใจแก่คนที่ยังเป็นๆ อยู่ เห็นง่ายๆ เช่นว่าเราไปอาบน้ำศพ เขาเอาศพวางบนเตียง เอาผ้าแพรคลุมเปิดหน้าให้เห็นว่าหน้าใคร มีเหรียญมีตราก็เอาไปวางไว้ด้วย เครื่องหมายยศฐาบรรดาศักดิ์ เสร็จแล้วก็ดึงมือศพมาให้หงายมือขึ้น แล้วเราก็ไปรดน้ำลงบนมือนั้น เมื่อเราไปเห็นหน้าศพหงายมือให้รด น้ำอย่างนั้น เรานึกอะไรบ้าง? ถ้าไม่นึกอะไรก็จะไม่ไดัปัญญา แต่ถ้านึกสักหน่อยว่า อ้อ! เขาหงายมือเท่ากับเขาบอกเรา บอกให้รู้ว่าเขาไปมือเปล่าไม่ได้เอาอะไรไปเลยสักชิ้นเดียว เปิดให้เห็นอย่างนี้มีแต่มือเปล่า แต่ถ้านอนกำมือยังสงสัยว่าจะเอาเหรียญบาท เหรียญสตางค์ไปบ้างหรือเปล่า? แต่นี่ไม่มี หงายมือทั้งนั้นแหละ อย่างนี้แล้วเราก็รดน้ำลงไปในมือผู้ตาย รดน้ำลงไป น้ำมันยังอยู่ในมือบ้างไหม? ไม่มีเหมือนกัน น้ำไหลลงไปในพานในขันที่เขาจัดรองไว้ แล้วเอาไปไหน เอาไปคืนให้แผ่นดิน เพราะแผ่นดินเป็นเจ้าของน้ำเป็นผู้ให้น้ำแก่เรา เราก็เอาคืนให้ไปตามเดิม ตัวเราเองเอาอะไรไปไม่ได้ นี่! ก็เป็นธรรมะเตือนใจอยู่


      เด็กๆ ลูกๆ หลานๆ เรานี่ เราต้องเตือนเขาบ่อยๆ เรียกมาบอกว่า ลูกเอ๋ย! เจ้าต้องรีบเรียนนะ เวลานี้คุณพ่อคุณแม่ยังมีชีวิตอยู่ การอุปถัมภ์ค้ำชูในเรื่องการเป็น การอยู่ การศึกษาน่ะ เป็นหน้าที่ของพ่อแม่จะจัดให้ แต่ว่าพ่อแม่นี่ไม่แน่นา อาจจะตายลงไปเมื่อใดก็ได้ บางคนไม่กล้าพูดอย่างนี้ เขาหาว่าแช่งตัวเอง แช่งไม่แช่งมันก็ตายทั้งนั้นแหละ เราไม่แช่งมันก็ตายแช่งมันก็ตาย ตามเรื่องตามราว ไม่ได้ขึ้นอยู่กับคำพูดชนิดอย่างนั้น แต่เราควรบอกให้เด็กรู้ว่า วันหนึ่งพ่อแม่จะต้องจากไปในขณะที่พ่อแม่ยังอยู่นี่ ต้องรีบเรียน รีบเขียน รีบอ่าน รีบให้มันสอบผ่านไปไวๆ อย่าให้สอบตกซ้ำชั้น ย่าให้เสียวลาในการเล่าเรียน จะได้มีวิชาความรู้ เติบโตขึ้นจะได้ช่วยตัวเองได้ โลกสมัยต่อไปมันก็จะลำบากกว่าเดี๋ยวนี้ เพราะคนมากขึ้น การเป็นอยู่ลำบาก อะไรๆ มันก็ต้องแข่งขันกันทั้งนั้น ถ้าเจ้าไม่ตื่นตัวไม่คิดก้าวหน้า เจ้าจะลำบาก บอกเด็กให้มันเข้าใจเสียบ้าง

      เวลา มาในป่าช้าอย่างนี้ สมมติว่าเราเอาคุณปู่ คุณย่า มาบรรจุไว้ที่หลังวัด ว่างๆ ก็พาลูกพาหลานมาเยี่ยมบ้าง ไม่ใช่เอาดอกไม้มาพวงหนึ่ง ธูป เทียน มาจุดเสร็จแล้วก็เดินผ่านไป มันไม่ได้เรื่องอะไรไม่ได้ปัญญา ไม่ได้ความคิดความอ่าน แต่เราควรจะบอกเด็กให้รู้ว่าคนที่นอนอยู่ในนี้เป็นใคร ท่านมีชีวิตอยู่ในโลกนี้อย่างไร เราเกี่ยวข้องกับท่านอย่างไร สมมติว่าท่านสร้างบ้านให้เราอยู่ ท่านมีที่ดินให้เราทำกิน มีเงินฝากไว้ในธนาคารให้เราได้ใช้ ชื่อเสียงเกียรติคุณของตระกูล เกิดจากการสร้างสมของท่านผู้นี้ เราก็ควรบอกเด็กให้รู้ให้เข้าใจ เด็กก็จะเกิดความสำนึกว่า ผู้ที่นอนอยู่ในที่นี้ เป็นเจ้าหนี้ของเรา เป็นเจ้าบุญนายคุณของเรา แล้วเราก็กล่าวสอนกล่าวเตือนเด็กๆเหล่านั้นให้ขยันเรียนต้องรักความดี อย่าเที่ยวไปเป็นเด็กจิ๊กโก๋ใน บางกอก ต้องตั้งใจศึกษารีบรักษาตน รักษาตัวให้รีร้อย เด็กก็จะเกิดความสำนึกว่า เขานี่เกิดมาจากเลือดของคนดี ไม่ใช่เกิดมาจากคนชั่วคนร้าย จะมีความรักบรรพบุรุษ เคารพบรรพบุรุษขึ้นมาที่เขาทำฮวงซุ้ยเก็บศพน่ะ เก็บไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์เตือนใจลูกหลาน สร้างไว้เพื่อเป็นพยานแห่งความดีความงาม ให้คนได้เห็นเป็นข้อเตือนจิตสะกิดใจ แล้วจะได้ทำความดีเยี่ยงท่านผู้นั้นบ้าง
      ที่มา : *_* NONGSAWNUY *_*
      เจ้าของบทความ : มูลนิธิปฐมธรรม

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×