ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ปีพ.ศ.๒๕๔๗

    ลำดับตอนที่ #1 : พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ปีพ.ศ.๒๕๔๗ ที่ประมวลจากหัวสมองของเราเองค่ะ

    • อัปเดตล่าสุด 8 ต.ค. 50


    เอาล่ะ มาแบบมีสาระบ้าง (แหม...ทำไปได้) นานๆทีนะคะ เอิ๊กส์ ทั้งหมดเป็นการประมวล(ขึ้นมาเอง) จากฉบับเต็มนะคะ เพื่อให้เข้าใจง่ายค่ะ

    คือว่า เห็นช่วงนี้ในบอร์ดมีปัญหาเรื่องการโดนคัดลอกบทความถี่ๆ (ความจริงแล้วต้องเป็นมีอยู่ตลอดมากกว่า...) เอาล่ะ เราเลยขอพูดเรื่องกฎหมายคุ้มครองลิขสิทธิ์ หรือที่เรียกว่า พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ ฉบับปีพ.ศ.๒๕๓๗ นั่นเองค่ะ

    ก่อนอื่น เราต้องมาทำความรู้จักกับพระราชบัญญัติฉบับนี้ก่อนแล้วกันค่ะ

    พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฉบับปีพ.ศ.๒๕๔๗ เป็นพระราชบัญญัติซึ่งมาแทนฉบับเก่าของปีพ.ศ.๒๕๒๑ ค่ะ ขอบเขตการคุ้มครองของพระราชบัญญัตินี้ คือการคุ้มครองเจ้าของผลงาน และผลงานที่สร้างสรรขึ้นมา ด้วยตัวเอง ค่ะ

    ความหมายของคำต่างๆตามพระราชบัญญัตินี้ มี

    ลิขสิทธิ์หมายความว่า สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะทำการใด ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น

    ความหมายของคำว่า ลิขสิทธิ์ แบบง่ายๆ ก็คือ ลิทธิโดยชอบธรรมของเจ้าของผลงานนั่นเองค่ะ

    วรรณกรรมหมายความว่า งานนิพนธ์ที่ทำขึ้นทุกชนิด เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา เทศนา คำปราศรัย สุนทรพจน์ และให้หมายความรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย

     ทำซ้ำหมายความรวมถึง คัดลอกไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ เลียนแบบ ทำสำเนา ทำแม่พิมพ์ บันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกเสียงและภาพ จากต้นฉบับ จากสำเนา หรือจากการโฆษณาในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน สำหรับในส่วนที่เกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้หมายความถึง คัดลอกหรือทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากสื่อบันทึกใด ไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำงานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

     

    ดัดแปลงหมายความว่า ทำซ้ำโดยเปลี่ยนรูปใหม่ ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม หรือจำลองงานต้นฉบับในส่วนอันเป็นสาระสำคัญโดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำงานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

    ในส่วนที่เกี่ยวกับวรรณกรรม ให้หมายความรวมถึง แปลวรรณกรรมเปลี่ยน รูปวรรณกรรมหรือรวบรวมวรรณกรรมโดยคัดเลือกและจัดลำดับใหม่

    ความหมายอื่นๆนอกจากนี้ ดูได้จากพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ ฉบับเต็มค่ะ

    ผลงานที่จะได้รับลิขสิทธิ์นั้น ได้แก่ ผลงานที่เป็น Original หรือก็คือ ผลงานสร้างสรรค์ในรูปแบบต่างๆ ทั้งวรรณกรรม ดนตรี การแสดง แต่ไม่นับรวมถึงขั้นตอน หลักการ วิธีการณ์และแนวความคิดค่ะ

    นอกจากนี้ ยังมีผลงานบางประเภทที่ไม่จัดรวมเป็นลิขสิทธิ์ ได้แก่ ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่างๆที่ไม่ได้เป็นแผนกกรณีคดี แผนกวิทยาศาสตร์ และแผนกศิลปะค่ะ รัฐธรรมนูญและกฎหมายต่างๆ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และจดหมายตอบโต้ของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นๆของรัฐและท้องถิ่น คำพิพากษา คำวินิจฉัย คำสั่งและรายงานของทางราชการ สุดท้าย ยังรวมไปถึงคำแปลของสิ่งต่างๆเหล่านี้ด้วยค่ะ

    โทษของการละเมิดลิขสิทธิ์ จะบัญญัติอยู๋ในหมดที่ ๘ ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ ว่าด้วยเรื่องบทกำหนดโทษ ตั้งแต่มาตราที่ ๖๙ จนถึงมาตราที่ ๗๗ ค่ะ มีตั้งแต่จำคุกไม่เกินสามเดือน ปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ไปจนถึงจำคุกหลายปีและปรับเงินในหลักแสนเลยค่ะ โทษและบทบัญญัติต่างๆดังนี้นะคะ

    มาตรา ๖๙ ผู้ใดกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตามมาตรา ๒๗ มาตรา ๒๘ มาตรา ๒๙ มาตรา ๓๐ หรือมาตรา ๕๒ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงแปดแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

    มาตรา ๗๐ ผู้ใดกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา ๓๑ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนถึงสองปี หรือปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงสี่แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

    มาตรา ๗๑ ผู้ใดไม่มาให้ถ้อยคำหรือไม่ส่งเอกสารหรือวัตถุใด ๆ ตามที่คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการสั่งตามมาตรา ๖๐ วรรคสาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

    มาตรา ๗๒ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๖๗ หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งตามมาตรา ๖๗ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

    มาตรา ๗๓ ผู้ใดกระทำความผิดต้องระวางโทษตามพระราชบัญญัตินี้ เมื่อพ้นโทษแล้วยังไม่ครบกำหนดห้าปี กระทำความผิดต่อพระราชบัญญัตินี้อีก ต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น

    มาตรา ๗๔ ในกรณีที่นิติบุคคลกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่ากรรมการหรือผู้จัดการทุกคนของนิติบุคคลนั้นเป็นผู้ร่วมกระทำผิดกับนิติบุคคลนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำของนิติบุคคลนั้นได้กระทำโดยตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วย

    มาตรา ๗๕ บรรดาสิ่งที่ได้ทำขึ้นหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตามพระราชบัญญัตินี้ และยังเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๖๙ หรือมาตรา ๗๐ ให้ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง ส่วนสิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดให้ริบเสียทั้งสิ้น

    มาตรา ๗๖ ค่าปรับที่ได้ชำระตามคำพิพากษา ให้จ่ายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงเป็นจำนวนกึ่งหนึ่ง แต่ทั้งนี้ไม่เป็นการกระทบกระเทือนถึงสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายในทางแพ่งสำหรับส่วนที่เกินจำนวนเงินค่าปรับที่เจ้าของลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงได้รับแล้วนั้น

    มาตรา ๗๗ ความผิดตามมาตรา ๖๙ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๐ วรรคหนึ่ง ให้อธิบดีมีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้

     

    เอาล่ะ อ่านแล้วโทษก็ไม่ใช่น้อยๆเน้อ ทำอะไรก็คิดนิดแล้วกันค่ะ มครคิดที่จะลอกหรือดัดแปลงผลงานของใคร อ่านให้ดีๆ คิดให้เยอะๆนะคะ ว่ามันคุ้มกันหรือเปล่ากับผลตอบแทนที่จะได้ นี่แค่กฎหมายนะคะ ยังไม่รวมถึงบรรดาสำนักพิมพ์ต่างๆที่มีบทลงโทษเป็นของตัวเองอีก (อย่างเช่นการโดนแบตลอดชีวิต ขั้นต่ำๆก็ห้าปี การส่งจดหมายเตือนถึงสำนักพิมพ์ต่างๆ และอื่นๆ) ไม่คุ้มเลยค่ะกับการดังเพียงวูบเดียวแล้วดับเลยสำหรับวงการนักเขียน เพราะฉะนั้น ย้ำอีกครั้ง คิดก่อนที่จะทำอะไรก็ตามนะคะ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×