ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สามก๊กฉบับประกอบอรรถาธิบาย

    ลำดับตอนที่ #2 : วิธีการอ่านสามก๊กฉบับประกอบอรรถาธิบาย

    • อัปเดตล่าสุด 11 พ.ย. 63


    วิธีการอ่านสามก๊กฉบับประกอบอรรถาธิบาย

    สามก๊กฉบับประกอบอรรถาธิบาย แบ่งตอนใหญ่ตามการแบ่งตอนของสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ที่แบ่งเป็น ๘๙ ตอน (ต่างจากสามก๊กต้นฉบับภาษาจีนที่แบ่งเรื่องเป็น ๑๒๐ ตอน) ในหนึ่งตอนใหญ่แยกแต่ละย่อหน้าในตอนมาแยกอรรถาธิบายเป็นตอนย่อย ตอนย่อยละ ๑ ย่อหน้า แต่ละย่อหน้าประกอบด้วยเนื้อหาดังต่อไปนี้

    ๑. ส่วนเนื้อเรื่อง: เนื้อเรื่องตามสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระยาพระคลัง (หน) ฉบับที่บัณฑิตยสภาชำระและตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ มีเชิงอรรถแทรกในเนื้อเรื่อง โดยมีเชิงอรรถอยู่ ๒ แบบ 

    เชิงอรรถแบบแรกเป็นตัวเลขไทยมีเครื่องหมายวงเล็บก้ามปู [ ] คลุมและพิมพ์ด้วยตัวอักษรสีดำช่น [๑] เป็นเชิงอรรถที่มีมาตั้งแต่ต้นฉบับ เป็นเชิงอรรถที่บัณฑิตยสภาแทรกเพื่อขยายความ 

    ส่วนเชิงอรรถอีกแบบเป็นพยัญชนะภาษาไทยมีเครื่องหมายวงเล็บก้ามปู [ ] คลุมและพิมพ์ด้วยตัวอักษรสีน้ำเงิน เช่น [ก] เป็นเชิงอรรถที่ข้าพเจ้าผู้น้อยแทรกเข้าไปเพื่อทำการอธิบายส่วนที่กำกับด้วยเชิงอรรถในส่วนอรรถาธิบายต่อไป 

    นอกจากเชิงอรรถแล้วยังมีการแทรกชื่อในภาษาจีนกลางกำกับชื่อเฉพาะที่ปรากฏในย่อหน้า เช่น สามก๊ก (三國 ซันกั๋ว Sānguó) ชื่อภาษาจีนกลางเขียนด้วยตัวอักษรสีน้ำเงินในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) ภายในวงเล็บประกอบด้วย ตัวเขียนในภาษาจีนตัวเต็ม คำอ่านภาษาไทย และตัวเขียนอักษรโรมันตามระบบการถอดเสียงภาษาจีนกลางแบบพินอิน (拼音 Pīnyīn) ตามลำดับจากซ้ายไปขวา

    ๒. ส่วนต้นฉบับภาษาจีน: เนื้อเรื่องเป็นภาษาจีนตามนิยายสามก๊กต้นฉบับ เขียนด้วยอักษรจีนตัวเต็ม ยกมาจากเว็บไซต์ chinesenotes.com โดยยกเนื้อความที่นำมาเทียบได้กับย่อหน้าจากสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)

    ๓. ส่วนเชิงอรรถต้นฉบับ: เป็นส่วนคำอธิบายของราชบัณฑิตยสภาตามเชิงอรรถที่เป็นตัวเลขไทย แต่ละย่อหน้าอาจจะมีหรือไม่มีส่วนนี้ขึ้นกับว่าย่อหน้านั้นมีเชิงอรรถจากต้นฉบับหรือไม่

    ๔. ส่วนอรรถาธิบาย: เป็นส่วนคำอธิบายที่ข้าพเจ้าผู้น้อยค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ แล้วมาอธิบายขยายตวามในแต่ละส่วนในเนื้อเรื่องสามก๊กที่มีเชิงอรรถตัวพยัญชนะไทยมากำกับ 

    อรรถธาธิบายไล่เรียงตามลำดับพยัญชนะไทย แต่ละอรรถธิบายประกอบด้วย ๑. ตัวพยัญชนะเชิงอรรถที่กำกับในเนื้อเรื่อง เขียนด้วยตัวอักษรสีน้ำเงิน ๒. คำ วลี หรือประโยคที่จะทำการอธิบายขยายความ เขียนด้วยตัวอักษรสีน้ำเงินตัวหนา และ ๓. ส่วนที่อรรถาธิบายหรืออธิบายคำ วลี หรือประโยคนั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น

    [ฎ] ฮั่นโกโจ: ฮั่นโกโจ (漢高祖 ฮั่นเกาจู่ Hàn Gāozŭ; ๒๕๖ – ๑๙๕ ก่อนคริสตกาล) พระนามเดิม เล่าปัง (劉邦 หลิวปัง Liú Bāng) ชื่อรอง จี้ (季 ) เป็นฮ่องเต้พระองค์แรกของราชวงศ์ฮั่น (漢 ฮั่น Hàn) ครองราชย์ระหว่าง ๒๐๒ – ๑๙๕ ปีก่อนคริสตกาล 

    ชื่อเฉพาะจากภาษาจีนที่เขียนในส่วนอรรถาธิบาย จะใช้ชื่อที่ปรากฏในสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นหลัก กำกับด้วยชื่อภาษาจีนกลางในวงเล็บ หากไม่ปรากฏในสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) จะใช้ชื่อตามที่ปรากฏในพงศาวดารเรื่องอื่นที่แปลเป็นภาษาไทยช่วงต้นยุครัตนโกสินทร์ ได้แก่ ไคเภ็ก, ห้องสิน, เลียดก๊ก, ไซ่ฮั่น และตั้งฮั่น หรือเป็นชื่อที่ปรากฏในพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเรื่อง ตำนานหนังสือสามก๊ก  นอกเหนือจากนั้นจะเขียนด้วยชื่อในภาษาจีนกลาง หรือบางคำอาจเขียนตามความนิยมของคนไทยในปัจจุบัน เช่น จิ๋นซีฮ่องเต้ (秦始皇帝 ฉินสื่อหวงตี้ Qín Shĭ Huángdì), ขงจื๊อ (孔子 ขงจื่อ Kŏngzĭ) เป็นต้น

    บางชื่อบุคคลที่ไม่ปรากฏชื่อในสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ประกอบด้วยแซ่และชื่อตัว ซึ่งแซ่ของบุคคลนั้นมีคำเรียกในสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ในส่วนอรรถธาธิบายจะพยายามจะใช้แซ่ตามสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) และถอดเสียงชื่อตัวตามสำเนียงในสามก๊กฉบับเจ้าพระคลัง (หน) โดยใช้ชื่อตัวของบุคคลอื่นในสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) มาเทียบเคียง หากไม่สามารถทำได้จะเขียนแซ่ตามสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) และชื่อตัวเป็นภาษาจีนกลาง พร้อมกำกับในวงเล็บด้วยแซ่และชื่อในภาษาจีนกลางที่ถูกต้อง

    ๕. ส่วนอธิบายความเพิ่มเติม: เป็นส่วนที่ข้าพเจ้าผู้น้อยเขียนเพิ่มเติมนอกเหนือจากอรรธาธิบายตามเชิงอรรถ แต่ละย่อหน้าอาจจะมีหรือไม่มีส่วนนี้ขึ้นกับเนื้อหาในแต่ละย่อหน้า

    ๖. ส่วนอรรถาธิบาย (เพิ่มเติม): เป็นส่วนอรรถาธิบายสำหรับเชิงอรรถที่กำกับอยู่ในส่วนอธิบายความเพิ่มเติม ตามข้อ ๕. อาจจะมีหรือไม่มีส่วนนี้ขึ้นกับว่ามีส่วนอธิบายความเพิ่มเติมหรือไม่ หรือส่วนส่วนอธิบายความเพิ่มเติมมีเชิงอรรถที่จะอธิบายขยายความเพิ่มเติมหรือไม่

    ๗. ส่วนอภิธานศัพท์: เป็นส่วนรวบรวมคำเฉพาะจากภาษาจีนที่ปรากฏในย่อหน้าจากสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) แสดงในตารางดังต่อไปนี้

    ชื่อในฉบับ พ.ค.ชื่อภาษาจีนกลางอักษรจีนตัวเต็มอักษรจีนตัวย่อพินอินเชิงอรรถ
    สามก๊กซันกั๋ว三國三国Sānguó[บ]

    คอลัมน์ที่ ๑ ชื่อในฉบับ พ.ค. แสดงชื่อตามที่ปรากฏในย่อหน้าจากสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)

    คอลัมน์ที่ ๒ ชื่อภาษาจีนกลาง แสดงชื่อตามคำอ่านในภาษาจีนกลาง

    คอลัมน์ที่ ๓ อักษรจีนตัวเต็ม แสดงการเขียนเป็นอักษรจีนตัวเต็ม

    คอลัมน์ที่ ๔ อักษรจีนตัวย่อ แสดงการเขียนเป็นอักษรจีนตัวย่อ

    คอลัมน์ที่ ๕ พินอิน แสดงการเขียนเป็นตัวเขียนอักษรโรมันตามระบบการถอดเสียงภาษาจีนกลางแบบพินอิน 

    คอลัมน์ที่ ๖ เชิงอรรถ แสดงส่วนเชิงอรรถที่กำกับในเนื้อเรื่อง ที่สามารถไปค้นข้อมูลได้ในส่วนอรรถาธิบาย

    คำเฉพาะถูกแบ่งเป็นกลุ่มตามชนิดคำ ได้แก่ ชื่อบุคคล, ชื่อสถานที่, ชื่อตำแหน่งและบรรดาศักดิ์ และชื่ออื่น ๆ คำเฉพาะในแต่ละกลุ่มเรียงลำดับชื่อตามลำดับตัวอักษรในพจนากรุม

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×