มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ - มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นิยาย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ : Dek-D.com - Writer

    มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

    ขอต้อรับสู่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

    ผู้เข้าชมรวม

    6,960

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    5

    ผู้เข้าชมรวม


    6.96K

    ความคิดเห็น


    3

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  23 เม.ย. 51 / 18:12 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

             มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  
                 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ก่อตั้ง 29 มีนาคม พ.ศ. 2535 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  ตั้งอยู่เลขที่ 222 ต.ไทยบุรี อ.ท่าศาลา จ. นครศรีธรรมราช 80160

      ประวัติความเป็นมา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

                มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐและอยู่ในกำกับของรัฐบาลที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานชื่อว่า "มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์" อันเป็นสร้อยพระนามในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี เป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ (Comprehensive University) ที่จัดการเรียนการสอนครอบคลุมทั้งด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยได้พัฒนาสภาพแวดล้อมให้เป็นเมืองมหาวิทยาลัยในรูปแบบ Residential University ที่มีระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการแบบครบวงจร รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ 

                พ.ศ. 2510  ชาวนครศรีธรรมราชเริ่มรณรงค์เรียกร้องให้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัย 
                พ.ศ. 2522  ส.ส.นครศรีธรรมราชเริ่มเสนอร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช 
                พ.ศ. 2527  ประชาชนรวมตัวกันจัดตั้งคณะกรรมการรณรงค์ให้มีมหาวิทยาลัยที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

                คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยใหม่ที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช 

      มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์          13 กันยายน พ.ศ. 2531  คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดตั้งวิทยาลัยนครศรีธรรมราช สังกัดมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศต่อไป 
                4 เมษายน พ.ศ. 2533  คณะรัฐมนตรียกเลิกมติเดิมและอนุมัติให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยที่จังหวัดนครศรีธรรมราช 
                20 สิงหาคม 2534  คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่จังหวัดนครศรีธรรมราช 
                8 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2535  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช พระราชทานชื่อว่า "มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ "  
                29 มีนาคม พ.ศ. 2535  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 

                พุทธศักราช 2535 และมหาวิทยาลัยถือเอาวันนี้เป็นวันสถาปนา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 

                7 เมษายน พ.ศ. 2535  ประกาศพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พุทธศักราช 2535 ในราชกิจจานุเบกษา 
                8 เมษายน พ.ศ. 2535  พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พุทธศักราช 2535 มีผลบังคับใช้  
                8 เมษายน พ.ศ. 2536  สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารีทรงพระราชทานอนุญาตให้อัญเชิญตราพระนามของพระองค์ท่านเป็นตราประจำมหาวิทยาลัย 
                24 มิถุนายน 2536  จัดตั้งสำนักงานอธิการบดีและหน่วยประสานงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กรุงเทพมหานคร 
                10 มกราคม 2539  รัฐบาลโดยมติคณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการอุทยานการศึกษาเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี  
                21 มกราคม 2539  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช พระราชทานชื่อ "อุทยานการศึกษาเฉลิมพระเกียรติ" 
                29 มีนาคม 2539  สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารีเสด็จพระดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์อาคาร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ณ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 
                1 กรกฎาคม พ.ศ. 2540  มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เข้าดำเนินงาน ณ ที่ตั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช  
                23 พฤษภาคม 2541  เปิดดำเนินการรับนักศึกษารุ่นแรกขึ้นทะเบียน 
                28 พฤษภาคม 2541  เปิดสอนวันแรก

      สัญลักษณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

      มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์          ชื่อ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (มวล.) 
                ชื่อ (อังกฤษ) Walailak University (WU)

      คำขวัญ

                มีมโนธรรม คุณธรรม และจรรยาวิชาชีพ

      เพลงประจำสถาบัน

                เพลงรักวลัยลักษณ์

      ตราประจำมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

                เป็นตราสัญลักษณ์ที่อัญเชิญตราพระนามย่อ "จภ" ภายใต้จุลมงกุฎซึ่งเป็นตราพระนามในสมเด็จ พระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประดิษฐานที่กึ่งกลาง อักษร "จ" เป็นสีแสด และอักขระ "ภ" เป็นสีขาว มีพื้นสีม่วง รองรับและมีแพรแถบพื้นสีขาว ขอบสีทอง รองรับอยู่เบื้องล่างพร้อมอักษรสีม่วง คำว่า "มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์" ประดับอยู่ภายในแพรแถบ 

      สีประจำมหาวิทยาลัย คือ สีแสด - ม่วง

      มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์          สีแสด : เป็นสีประจำวันพฤหัสบดีซึ่งเป็นวันประสูติของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี

                สีม่วง : เป็นสีประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นสีประจำพระรัตนธัชมุนี(ม่วง รัตนธัชโช-เปรียญ) เจ้าอาวาสวัดท่าโพธ์ และผู้อำนวยการการจัดการศึกษามณฑลนครศรีธรรมราช และมณฑลปัตตานี (ในสมัยรัชการที่ 5) ที่ชาวนครศรีธรรมราชนับถือ ยกย่องว่าเป็นผู้จัดการศึกษาสมัยใหม่ของเมืองนี้

      ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย

                คือ ต้นประดู่ (Pterocarpus Indicus Wild.) ส่วนมากพบในป่าเบญจพรรณทางภาคใต้เป็น ต้นไม้ที่นิยมปลูกให้ร่มเงาในเมืองนครศรีธรรมราช เคยปลูกบริเวณศาลาหน้าจวนเจ้าเมือง ซึ่งรู้จักกันในนาม "ศาลาประดู่หก" 
      อักษรย่อมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 


      สถานที่ตั้ง และการติดต่อ

      มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
      เลขที่ 222 ต.ไทยบุรี อ.ท่าศาลา จ. นครศรีธรรมราช 80160
      โทรศัพท์ 66-7567-3000, 66-7538-4000, 66-7552-3000
      โทรสาร 66-7567-3708
      e-mail address: wu@wu.ac.th | webmaster@wu.ac.th
      http://www.wu.ac.th 

      หน่วยประสานงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กทม.
      อาคาร SM Tower ชั้น 19 เลขที่ 979/42-46 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
      โทรศัพท์ 66-2298-0244, 66-2299-0930
      โทรสาร 66-2298-0248
      Email Address:wu-bkk@wu.ac.th http://wubkk.wu.ac.th   

      ศูนย์วิทยบริการ สุราษฎร์ธานี
      อาคาร P.C. TOWER ชั้น 9 ถนนกาญจนวิถี อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000
      โทรศัพท์ 66-7722-5260
      โทรสาร 66-7722-5264
      E-mail : wu-surat@wu.ac.th http://www.wu.ac.th/surat

       

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×