ลำดับตอนที่ #1
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : มูลเหตูแห่งสงครามโลกครั้งที่ 1
      ในที่สุดประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรปก็ได้กระโจนเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี ค.ศ. 1914 ภายหลังจากที่ได้อยู่กันอย่างสงบมาเป็นเวลา
99 ปี นับจากปี 1815 ซึ่งเป็นปีที่ยุติสงคราแห่งการปฏิวัตของประเทศฝรั่งเศษและนโปเลียน
      นับแต่ปีค.ศ. 1815 เป็นต้นมาก็ได้มีการทำสงครามย่อย ๆกันต่อมาอีกหลายครั้งหลายหน เช่นประเทศอิตาลี ได้ทำการสู้รบเพื่ออิสรภาพของตน เยอรมนีก็ได้ทำสงครามในระยะสั้น ๆถึง 3 ครั้ง 3 คราว ในการทำสงครามกับเดนมาร์ค ออสเตรีย และฝรั่งเศษในปีค.ศ. 1870 คือก่อนที่เยอรมนีจะสามารถสร้างอาณาจักร \" ไรช์เยอรมัน \" ขึ้นมาได้สำเร็จ พวกเตอร์ก(ตุรกี) ได้ถุกขับไล่ออกไปจากยุโรปและชาติต่าง ๆใน
กลุ่มบอลข่านก้ได้ต่อสู้กัน แต่แม้กระนั้นประเทศมหาอำนาจต่าง ๆในยุโรปก็ได้พยายามที่จะไม่ให้มีการสู้รบนั้นขยายวงกว้างออกไป
        แต่อย่างไรก็ดี  ภายหลังการสู้รบระหว่างเยอรมนีและฝรั่งเศษได้ยุติแล้วโดยที่ฝรั่งเศษเป็นฝ่ายปราชัยในยุโรป ก็ได้เ้กิดมีประเทสมหาอำนาจขึ้นมาใหม่อีก 2 ประเทสคือ เยอรมันและอิตาลี ทั้งสองประเทศนี้เป็นประเทสใหญ่และมีกำลังรบแข็งแกร่ง สามารถเอาชนะฝรั่งเศษซึ่งก็เป็นประเทศมหาอำนาจประเทศหนึ่งในยุโรปได้โดยเด็ดขาด จึงทำให้เยอรมนี เริ่มเรียกร้องสิทธิในการกินดีอยู่ดีเหมือนกับมหาอำนาจอื่น ๆ
      แหละเพราะเยอรมนีเอาชนะสงครามผู้นำในการเมืองในภาคพื้นยุโรปขณะนั้น ซึ่งเดิมทีเป็นฝรั่งเศษนั้นได้เปลี่ยนมือไปอยู่กับเยอรมัน
และบิสมาร์คก็ได้กลายเป็นรัฐบุรุษชั้นผู้นำคนสำคัญของทวีปยุโรป  ความมุ่งหวังอันสำคัญยิ่งของบิสมาร์คก็คือ จะต้องพิทักษ์รักษาประเทศ
เยอรมนีให้ปลอดภัย และมีความยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยที่บิสมาร์คตระหนักดีว่าการที่เยอรมนีเอาชนะสงครามฝรั่งเศษได้
      ในปี ค.ศ. 1870 นั้นฝรั่งเศษย่อมเคืองแค้นเห็นเยอรมันเป็นศัตรูคู่อาฆาต และคงหาโอกาสแก้แค้นล้างอายให้จงได้ และการที่ฝรั่งเศษ
จะแก้แค้นเอยรมันได้นั้นเพียงลำพังฝรั่งเศษเองคงจะทำไม่ได้ เพราะระหว่างนั้นฝรั่งเศษ ยังมีกำลังคนและอาวุธไม่เพียงพอที่จะปราบเยอรมันลงได้ ฝรั่งเศษจึงต้องหามิตรเพื่อช่วยเหลือ บิสมาร์คพิเคราะห์เห็นว่ามิตรที่ฝรั่งเศษจะหันหน้าไปหาเพื่อจับมือคือ รุสเซีย อังกฤษ
และออสเตรีย รวามทั้งอิตาลี่ด้วย และถ้าฝรั่งเศษสามารถจับมือเป็นมิตรกับประเทศเหล่านี้ได้แล้ว เยอรมนีก็อยู่ในฐานะที่ไม่ค่อยจะปลอดภัยนักโดยเฉพาะภูมิศาสตร์ของเยอรมันนั้นเปิดโอกาสให้ศัตรูรุกเข้ามาได้ทุกทิศทาง ดังนั้นทางเดียวที่ทำได้คือ ต้องพยายามหาพรรคพวกเข้าไว้ก่อนฝรั่งเศษจะเกลี้ยกล่อมเอาไปเป็นกำลังมารุกรานเยอรมัน
        ด้วยเหตุผลดังกล่าว เยอรมันจึงได้พยายามหาทางผูกมิตกับประเทศมหาอำนาจดังกล่าวด้วยการทำสัญญาพันธมิตรต่อกัน เยอรมันประสบความสำเร็จในการดึงเอาออสเตรีย-ฮังการี่เข้ามาเป็นพันธมิตรของตนได้ในปี 1879 และอีก 3 ปีต่อมาคือในปี 1882 อิตาลีก็เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับเยอรมัน จึงเรียกสัญญาพันธไมตรีของเยอรมัน - อสสเตรีย-ฮังการี่ - และอิตาลี่ว่า \" สัมพันธไมตรีภาค \" (The Tripplalince)
        ในการทำสัญญาพันธมิตรดังกล่าว กล่าวได้ว่าเป็นความสามารถอันยอดเยี่ยมของบิสมาร์คที่สามารถทำให้ประเทศที่เป็นศัตรูคู่อาฆาตกันกลายมาเป็นมิตรร่วมตายสหายร่วมศึกกันได้ ทำให้เกิดความพิศวง งงงวยแก่ประเทศอื่นเป็นอันมาก
        ออสเตรีบหลังจากถุกขับไล่ไม่ให้มีอิทธิพลเหนือเยอรมันในครั้งก่อนนั้นก็พยายามรวบรวมอำนาจของตนไว้โดยการรุกรานประเทศต่างๆ
ในแหลมบอลข่าน และการกระทำดังกล่าวของออสเตรียทำให้รุสเซียพี่เบิ้มใหญ่แห่งยุโรปไม่พอใจและเมื่อออสเตรียเห็นว่าถ้าเกิดมีเรื่องกับ
รุสเซียและไม่หาพรรคพวกไว้คงจอดแน่ จึงจำเป็นต้องมองหามิตรเมื่อเยอรมันเปิดทางเข้ามาออสเตรียก็ตอบรับทันทีเพราะนอกจาชาวเยอรมันจะเป็นคนเผ่าเดียวกันตนแล้วขณะนั้นเยอรมันกำลังเรืองอำนาจอยู่
        สำหรับอิตาลี่นี้ที่เข้าร่วมในสัญญาพันธมิรก็เพราะอิตาลี่มีงานต้องทำเพราะขณะนั้นฝรั่งเศาได้ยึดเอาเมืองทูนิสไปเป็นของตนทำให้อิตาลี่โกรธเคืองเป็นอันมากจึงเข้าร่วมกับเยอรมัน
        และเมื่อฝรั่งเศษรู้ว่าเยอรมันได้ทำสัญญาพันธมิตรกับอสสเตรียและอิตาลี่นั้นฝรั่งเศษเองก้เล็เห็นว่าถ้าโดนรุกรานโดยเยอรันกับพวกพ้องต้องจบแน่ก้อเลยหันไปผูกมิตรกับรุสเซียพี่เบิ้มแห่ยุโรปเนื่องจากรุสเซียเป็นประเทศใหญ่มีพลเมืองมากและมีพรมแดนขนาบเยอรมันอยู่ด้วยจึงพยายามชักจูงรุสเซียมาเป็นพวก ในขณะที่รุสเซียเองก็ชักจะหวั่นเกรงในแสนยานุภาพของเยอรมันเช่นกันทำให้ยินยอมทำสัญญากับ
ฝรั่งเศษนั่นคือสัญญา \" สัมพันธมิตรทวิภาค \" (The Dualalliance) กันได้ในที่สุด
        ส่วนอังฤษนั้นก็ยังอยู่อย่างโดดเดี่ยวเพียงลำพังมิได้เข้าร่วมกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และเพราะอังฤษมีกองกำลังนาวีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกถ้า
อังฤาเข้ากับฝ่ายใดแล้วฝ่ายนั้นย่อมได้เปรียบฝ่ายตรงข้าม ทั้งฝรั่งเศษและเยอรมันต่างเพ่งมองหาทางที่จะดึงอังกฤษเข้ามาเป็นพวกของตน
แต่อังกฤษก็ยังสงวนท่าทีเอาไว้เพราะมองไม่เห็นความจำเป็นในการเข้าำับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
        และเมื่อบิสมาร์คสิ้นอำนาจลง และพระเจ้าไกเซอร์วิลเลี่ยมแห่งเยอรมันทรงบริหารประเทศ นโยบายต่าง ๆของเยอรมันก็เปลี่ยนแปลงไปเพราะว่าพระเจ้าไกเซอร์นั้นพระองค์ทรงต้องการให้เยอรมันเป็นมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่จริง ๆและเริ่มขยายกำลังรบทั้งทางบกและทางน้ำจนทำให้อังกฤษชักจะหวาดวิตกว่า เยอรมันจะทำตนให้เป็นคู่แข่งกับตนในทางแสนยานุภาพทางเรือ แม้ว่าทางเรือนั้นอังกฤายังเหนือกว่าแต่ใน
ทางบกและทางอากาศนั้นเยอรมันก้าวไปไกลกว่ารวามทั้งในด้านอุตสาหกรรม สินค้าของเยรมันกำลังตีตลาดของอังกฤษอยู่ และเมื่ออังกฤษ
ก่อศึกกับพวกโบเออร์ในแอฟริกานั้นเยอรมันก็หันไปแสดงความเห็นอกเห็นใจพวกโบเออร์และสวดอังกฤษยับไป
        แหละในระยะนี้เองที่อังกฤษเริ่มจะหวาดหวั้่นมากขึ้นว่าเยอรมันจะเล่นงานตน การอยู่โดดเดี่ยวจึงไม่ค่อยจะดีสักเท่าไรนักอังกฤษจึงทำการปฏิวัตทางการทูตโดยสิ้นเชิงคือแทนที่จะเป็นศัตรูคอยชิงดีชิงเด่นกับฝรั่งเศษและรุสเซีย อังกฤษกลับยิ้มแย้มเข้าหาอย่างมิตร  ดังนั้นศัตรูคู่อาฆาตเก่าแก่จึงกลายมาเป็นมิตรกันได้ในที่สุด
        และนั่นก็แสดงให้เห็นว่าเมฆหมอกแห่งสงครามได้เริ่มก่อตัวขึ้นแล้วชาติมหาอำนาจได้แบ่งออกเป็นสองฝ่ายมีกำลังทัดเทียมกันและกำลังเผชิญหน้าท้าทายกันอยู่อย่างกระเหี้ยนกระหือรือ และหากว่ามีมูลเหตุจูงใจอะไรที่มีความสำคัญพอทีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะหยิบยกขึ้นมากล่าวอ้างสงครามย่อมจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
       
99 ปี นับจากปี 1815 ซึ่งเป็นปีที่ยุติสงคราแห่งการปฏิวัตของประเทศฝรั่งเศษและนโปเลียน
      นับแต่ปีค.ศ. 1815 เป็นต้นมาก็ได้มีการทำสงครามย่อย ๆกันต่อมาอีกหลายครั้งหลายหน เช่นประเทศอิตาลี ได้ทำการสู้รบเพื่ออิสรภาพของตน เยอรมนีก็ได้ทำสงครามในระยะสั้น ๆถึง 3 ครั้ง 3 คราว ในการทำสงครามกับเดนมาร์ค ออสเตรีย และฝรั่งเศษในปีค.ศ. 1870 คือก่อนที่เยอรมนีจะสามารถสร้างอาณาจักร \" ไรช์เยอรมัน \" ขึ้นมาได้สำเร็จ พวกเตอร์ก(ตุรกี) ได้ถุกขับไล่ออกไปจากยุโรปและชาติต่าง ๆใน
กลุ่มบอลข่านก้ได้ต่อสู้กัน แต่แม้กระนั้นประเทศมหาอำนาจต่าง ๆในยุโรปก็ได้พยายามที่จะไม่ให้มีการสู้รบนั้นขยายวงกว้างออกไป
        แต่อย่างไรก็ดี  ภายหลังการสู้รบระหว่างเยอรมนีและฝรั่งเศษได้ยุติแล้วโดยที่ฝรั่งเศษเป็นฝ่ายปราชัยในยุโรป ก็ได้เ้กิดมีประเทสมหาอำนาจขึ้นมาใหม่อีก 2 ประเทสคือ เยอรมันและอิตาลี ทั้งสองประเทศนี้เป็นประเทสใหญ่และมีกำลังรบแข็งแกร่ง สามารถเอาชนะฝรั่งเศษซึ่งก็เป็นประเทศมหาอำนาจประเทศหนึ่งในยุโรปได้โดยเด็ดขาด จึงทำให้เยอรมนี เริ่มเรียกร้องสิทธิในการกินดีอยู่ดีเหมือนกับมหาอำนาจอื่น ๆ
      แหละเพราะเยอรมนีเอาชนะสงครามผู้นำในการเมืองในภาคพื้นยุโรปขณะนั้น ซึ่งเดิมทีเป็นฝรั่งเศษนั้นได้เปลี่ยนมือไปอยู่กับเยอรมัน
และบิสมาร์คก็ได้กลายเป็นรัฐบุรุษชั้นผู้นำคนสำคัญของทวีปยุโรป  ความมุ่งหวังอันสำคัญยิ่งของบิสมาร์คก็คือ จะต้องพิทักษ์รักษาประเทศ
เยอรมนีให้ปลอดภัย และมีความยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยที่บิสมาร์คตระหนักดีว่าการที่เยอรมนีเอาชนะสงครามฝรั่งเศษได้
      ในปี ค.ศ. 1870 นั้นฝรั่งเศษย่อมเคืองแค้นเห็นเยอรมันเป็นศัตรูคู่อาฆาต และคงหาโอกาสแก้แค้นล้างอายให้จงได้ และการที่ฝรั่งเศษ
จะแก้แค้นเอยรมันได้นั้นเพียงลำพังฝรั่งเศษเองคงจะทำไม่ได้ เพราะระหว่างนั้นฝรั่งเศษ ยังมีกำลังคนและอาวุธไม่เพียงพอที่จะปราบเยอรมันลงได้ ฝรั่งเศษจึงต้องหามิตรเพื่อช่วยเหลือ บิสมาร์คพิเคราะห์เห็นว่ามิตรที่ฝรั่งเศษจะหันหน้าไปหาเพื่อจับมือคือ รุสเซีย อังกฤษ
และออสเตรีย รวามทั้งอิตาลี่ด้วย และถ้าฝรั่งเศษสามารถจับมือเป็นมิตรกับประเทศเหล่านี้ได้แล้ว เยอรมนีก็อยู่ในฐานะที่ไม่ค่อยจะปลอดภัยนักโดยเฉพาะภูมิศาสตร์ของเยอรมันนั้นเปิดโอกาสให้ศัตรูรุกเข้ามาได้ทุกทิศทาง ดังนั้นทางเดียวที่ทำได้คือ ต้องพยายามหาพรรคพวกเข้าไว้ก่อนฝรั่งเศษจะเกลี้ยกล่อมเอาไปเป็นกำลังมารุกรานเยอรมัน
        ด้วยเหตุผลดังกล่าว เยอรมันจึงได้พยายามหาทางผูกมิตกับประเทศมหาอำนาจดังกล่าวด้วยการทำสัญญาพันธมิตรต่อกัน เยอรมันประสบความสำเร็จในการดึงเอาออสเตรีย-ฮังการี่เข้ามาเป็นพันธมิตรของตนได้ในปี 1879 และอีก 3 ปีต่อมาคือในปี 1882 อิตาลีก็เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับเยอรมัน จึงเรียกสัญญาพันธไมตรีของเยอรมัน - อสสเตรีย-ฮังการี่ - และอิตาลี่ว่า \" สัมพันธไมตรีภาค \" (The Tripplalince)
        ในการทำสัญญาพันธมิตรดังกล่าว กล่าวได้ว่าเป็นความสามารถอันยอดเยี่ยมของบิสมาร์คที่สามารถทำให้ประเทศที่เป็นศัตรูคู่อาฆาตกันกลายมาเป็นมิตรร่วมตายสหายร่วมศึกกันได้ ทำให้เกิดความพิศวง งงงวยแก่ประเทศอื่นเป็นอันมาก
        ออสเตรีบหลังจากถุกขับไล่ไม่ให้มีอิทธิพลเหนือเยอรมันในครั้งก่อนนั้นก็พยายามรวบรวมอำนาจของตนไว้โดยการรุกรานประเทศต่างๆ
ในแหลมบอลข่าน และการกระทำดังกล่าวของออสเตรียทำให้รุสเซียพี่เบิ้มใหญ่แห่งยุโรปไม่พอใจและเมื่อออสเตรียเห็นว่าถ้าเกิดมีเรื่องกับ
รุสเซียและไม่หาพรรคพวกไว้คงจอดแน่ จึงจำเป็นต้องมองหามิตรเมื่อเยอรมันเปิดทางเข้ามาออสเตรียก็ตอบรับทันทีเพราะนอกจาชาวเยอรมันจะเป็นคนเผ่าเดียวกันตนแล้วขณะนั้นเยอรมันกำลังเรืองอำนาจอยู่
        สำหรับอิตาลี่นี้ที่เข้าร่วมในสัญญาพันธมิรก็เพราะอิตาลี่มีงานต้องทำเพราะขณะนั้นฝรั่งเศาได้ยึดเอาเมืองทูนิสไปเป็นของตนทำให้อิตาลี่โกรธเคืองเป็นอันมากจึงเข้าร่วมกับเยอรมัน
        และเมื่อฝรั่งเศษรู้ว่าเยอรมันได้ทำสัญญาพันธมิตรกับอสสเตรียและอิตาลี่นั้นฝรั่งเศษเองก้เล็เห็นว่าถ้าโดนรุกรานโดยเยอรันกับพวกพ้องต้องจบแน่ก้อเลยหันไปผูกมิตรกับรุสเซียพี่เบิ้มแห่ยุโรปเนื่องจากรุสเซียเป็นประเทศใหญ่มีพลเมืองมากและมีพรมแดนขนาบเยอรมันอยู่ด้วยจึงพยายามชักจูงรุสเซียมาเป็นพวก ในขณะที่รุสเซียเองก็ชักจะหวั่นเกรงในแสนยานุภาพของเยอรมันเช่นกันทำให้ยินยอมทำสัญญากับ
ฝรั่งเศษนั่นคือสัญญา \" สัมพันธมิตรทวิภาค \" (The Dualalliance) กันได้ในที่สุด
        ส่วนอังฤษนั้นก็ยังอยู่อย่างโดดเดี่ยวเพียงลำพังมิได้เข้าร่วมกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และเพราะอังฤษมีกองกำลังนาวีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกถ้า
อังฤาเข้ากับฝ่ายใดแล้วฝ่ายนั้นย่อมได้เปรียบฝ่ายตรงข้าม ทั้งฝรั่งเศษและเยอรมันต่างเพ่งมองหาทางที่จะดึงอังกฤษเข้ามาเป็นพวกของตน
แต่อังกฤษก็ยังสงวนท่าทีเอาไว้เพราะมองไม่เห็นความจำเป็นในการเข้าำับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
        และเมื่อบิสมาร์คสิ้นอำนาจลง และพระเจ้าไกเซอร์วิลเลี่ยมแห่งเยอรมันทรงบริหารประเทศ นโยบายต่าง ๆของเยอรมันก็เปลี่ยนแปลงไปเพราะว่าพระเจ้าไกเซอร์นั้นพระองค์ทรงต้องการให้เยอรมันเป็นมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่จริง ๆและเริ่มขยายกำลังรบทั้งทางบกและทางน้ำจนทำให้อังกฤษชักจะหวาดวิตกว่า เยอรมันจะทำตนให้เป็นคู่แข่งกับตนในทางแสนยานุภาพทางเรือ แม้ว่าทางเรือนั้นอังกฤายังเหนือกว่าแต่ใน
ทางบกและทางอากาศนั้นเยอรมันก้าวไปไกลกว่ารวามทั้งในด้านอุตสาหกรรม สินค้าของเยรมันกำลังตีตลาดของอังกฤษอยู่ และเมื่ออังกฤษ
ก่อศึกกับพวกโบเออร์ในแอฟริกานั้นเยอรมันก็หันไปแสดงความเห็นอกเห็นใจพวกโบเออร์และสวดอังกฤษยับไป
        แหละในระยะนี้เองที่อังกฤษเริ่มจะหวาดหวั้่นมากขึ้นว่าเยอรมันจะเล่นงานตน การอยู่โดดเดี่ยวจึงไม่ค่อยจะดีสักเท่าไรนักอังกฤษจึงทำการปฏิวัตทางการทูตโดยสิ้นเชิงคือแทนที่จะเป็นศัตรูคอยชิงดีชิงเด่นกับฝรั่งเศษและรุสเซีย อังกฤษกลับยิ้มแย้มเข้าหาอย่างมิตร  ดังนั้นศัตรูคู่อาฆาตเก่าแก่จึงกลายมาเป็นมิตรกันได้ในที่สุด
        และนั่นก็แสดงให้เห็นว่าเมฆหมอกแห่งสงครามได้เริ่มก่อตัวขึ้นแล้วชาติมหาอำนาจได้แบ่งออกเป็นสองฝ่ายมีกำลังทัดเทียมกันและกำลังเผชิญหน้าท้าทายกันอยู่อย่างกระเหี้ยนกระหือรือ และหากว่ามีมูลเหตุจูงใจอะไรที่มีความสำคัญพอทีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะหยิบยกขึ้นมากล่าวอ้างสงครามย่อมจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
       
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น