ลำดับตอนที่ #1
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : \"^_^ย้อนรอยพระเสตังคมณี^_^\"
                                                                                    ตำนาน
                                                                    พระเสตังคมณี(พระแก้วขาว)
                                                        *-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*
          พระแก้วขาว หรือพระเสตังคมณี เป็นพระพุทธรูปที่นับถือกันว่ามีความศักดิ์สิทธ์ สามารถคุ้มครองป้องกันอันตรายและอำนวยความสุขสวัสดิ์มงคลแก่ผู้ที่เคารพสักการะได้และปรากฏว่า ในอดีตกาลเป็นพระพุทธรูปสำหรับบูชา ประจำพระองค์ของพระนางจามเทวีปฐมกษัตริย์ผู้ครองนครหริภุญชัย และพระเจ้าเม็งรายมหาราช(หรือพระเจ้ามังราย) ปฐมวงศ์เมงราย ผู้สถาปนอาณาจักรลานนาไทย และกษัตริย์ผู้ครองหริภุญชัย และนครเชียงใหม่ ในยุคต่อๆ มา ก็นับถือเป็นพระพุทธรูปบูชาประจำพระองค์ทั้งสิ้น
        พระพุทธรูปองค์นี้ ในตำนานได้กล่าวถึงการสร้างใว้ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานล่วงแล้ว ๗๐๐ ปี ในวันเพ็ญเดือน ๗
พระสุเทวฤาษีได้เอาดอกจำปา ๕ ดอก ขึ้นไปบูชาพระจุฬามณียังดาวดึงษ์สวรรค์ ได้พบปะสนทนาด้วยพระอินทร์ๆ ก็บอกกล่าวแก่สุเทวฤาษีว่า ปีนี้ในเดือนวิสาขะเพ็ญ ที่ลวะรัฏฐะจะสร้างพระพุทธรูปปฏิมากรด้วยแก้วขาว ครั้งสุเทวฤาษีกลับจากดาวดึงษ์เทวโลกแล้ว จึงไปสู่เมืองละโว้ ขณะนั้น พระยารามราชเจ้าเมืองละโว้กับพระกัสสปเถระเจ้าปรารถการที่จะสร้างพระแก้ว ซึ่งพระอรหันต์ไปได้แก้วขาวบริสุทธิ์บุษยรัตน์มาจากจันทเทวบุตร แล้วขอพระวิศนุกรรมมาเนรมิต สำเร็จรูปเป็นองค์พระพุทธปฎิมากรสุเทวฤาษีและฤาษีอื่นๆ ก็ได้มาประชุมช่วยในการสร้างพระด้วย ครั้งสำเร็จแล้วก็บรรจุพระบรมธาตุ ๔ องค์ ไว้ในพระโมลี(กระหม่อม) ๑ พระนลาต(หน้าผาก)1 พระอุระ(หน้าอก)1 พระโอษฐ์(ปาก) ๑ รวม ๔ แห่ง
          เมื่อสร้างเสร็จแล้ว พระแก้วขาวก็ได้ประดิษฐานอยู่ที่เมืองละโว้สืบมาเป็นเวลานาน มาถึงสมัยเมื่อพระฤาษีสร้างนครหริภุญชัยขึ้นแล้ว ใช้ให้ควิยะอำมาตย์ ไปเชิญพระนางจามเทวี ซึ่งเป็นราชธิดาของพระเจ้ากรุงละโว้ มาครองเมืองหริภุญชัย พระนางจึงขออนุญาตจากพระราชบิดา นิมนต์พระภิกษุสงฆ์สามเณร และพระเสตังคมณี(พระแก้วขาว) มาเป็นพระพุทธรูปประจำพระองค์ พระแก้วขาวจึงได้ประดิษฐาน ณ นครลำพูน แต่นั้นมาเป็นเวลานานหลายร้อยปี บรรดากษัตริย์ครองเมืองหริภัญชัย(ลำพูน) ทั้งวงศ์เดียวกับพระนางจามเทวีและต่างวงศ์ ต่างก็ได้เคารพบูชาเป็นประจำองศ์มาทุกวงศ์ และได้สร้างหอพระปริดิษฐ์ไว้ในพระราชวัง
          พระเสตังคมณีประดิษฐานอยู่ ณ เมืองลำพูนตลอดมาจนกระทั่งถึง รัชสมัยของพระยายีบาเป็นกษัตริย์ครองเมือง ในครั้งนั้นพระเจ้าเมงรายซึ่งเป็นเจ้าครองนครเงินยวง(เชียงแสน) ได้ยกกองทัพไปปราบบ้านเล็กเมืองน้อยต่างๆ ที่ยังแข็งเมืองอยู่ให้เข้ารวมอยู่ไปอำนาจของพระองค์จนหมดสิ้นแล้ว แต่นครหริภุญชัยนครั้งนั้นมีกำลังเข็มแข็งมาก พระองค์จึงคิดอุบายให้ขุนอายฟ้าเห็นราชวัลลภคนสนิท ไปทำการจารกรรมนานถึง ๗ ปี ขุนอ้าว จึงส่งข่าวไปให้พระเจ้าเมงรายให้ยกกองทัพมาตีภุญชัย พ.ศ. ๑๘๒๔ ชาวเมืองที่ไม่ยอมทิ้งเมืองทำการต่อสู้เมงรายต้องใช้ธนูเพลิงยิงเข้าไป ทำให้เกิดเพลิงไหม้ทั้งเมือง ในที่สุดก็พ่ายแพ้แก่กองทัพแก่กองทัพพระเจ้าเมงราย
          เมื่อยกเข้าเมืองได้แล้ว พระเจ้าเมงรายจึงเสด็จออกตรวจดูความเสียหาย สี่งที่ทำให้พระองค์ทรงประหลาดพระทัยที่สุดคือ หอพระซึ่งอยู่ในบริเวณพระราชวังของพระยายีบาหาได้ถูกเพลิงไหม้ไม่ แต่บริเวณรอบๆ นั้นถูกเพลิงเผาผลาญพินาศฟมด พระองค์จึงเข้าไปทอดพระเนตรดู เห็นพระแก้วขาวสถิตอยู่ ณ ที่นั้น ก็เกิดมีพระราชศรัทธาปสาทะเป็นอันมากจึงอัญเชิญองค์พระแก้วขาวมาประดิษฐาน ณ ที่ประทับของพระองค์ ทรงเคารพสักการะบูชาเป็นพระพุทธรูปประจำพระองค์แต่นั้นมา
        ต่อเมื่อพระองค์มาสร้างนครเชียงใหม่เป็นราชธานี เมื่อปีพ.ศ. 1839 ได้อัญเชิญพระแก้วขาว(เสตังคมณี) มาประดิษฐานในพระราชวัง จนตลอดรัชกาลของพระองค์ แม้ในเวลาเสด็จออกศึก ก็ทรงนิมนต์พระแก้วขาวไปด้วยทุกครั้ง พระองค์มิได้ประมาทในพระแก้วขาวเลย เมื่อพระองค์สวรรคตแล้ว พระแก้วขาวก็คงประดิษฐานอยู่ในเมืองเชียงใหม่ตลอดมา จนกระทั่งถึงรัชกาลของพระเจ้าติโลกราช รัชกาลที่ 11 แห่งราชวงศ์เมงราย พระองค์ทรงเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง พระองค์ได้ทรงทำนุบำรุงการพระพุทธศาสนาในเจริญรุ่งเรืองยิ่งกว่ายุคใดๆ ทั้งสิ้น พระองค์โปรดให้หมื่นด้ามพร้าคต ซึ่งเป็นนายช่างสถาปนิคเอกออกแบบไปถ่ายแบบอย่างโลหะปราสาท และรัตนเจดีย์ ในเมืองลังการมาแล้ว โปรดให้หมื่นด้ามพร้าคตเป็นผู้อำนวยการสร้างถาวร วัตถุในวัดวาต่างๆ และสร้างหอพระแก้วมรกตและพระแก้วขาวไว้ ในพระอารามราชกุฏาคารเจดีย์ (คือเจดีย์หลวง) ในปี พ.ศ. 2022 ในยุคนี้พระพุทธรูปสำคัญหลายองค์ ได้มาประดิษฐานในนครเชียงใหม่ เช่น พระแก้วมรกต พระพุทธสิหิงค์ พระเสตังคมณี (พระแก้วขาว) พระศิลา (พระหินอ่อน) เป็นต้น พระสององค์นี้เวลานี้ประดิษฐานอยู่ที่วัดเชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่
          พระแก้วขาวได้ประดิษฐานอยู่ที่วัดเจดีย์หลวง ในรัชสมัยของพระเจ้าติโลกราช มาตราบถึงรัชสมัยของพระยอดเชียงรายราชนัดดา ทรงสืบสันติวงศ์ต่อมา ในสมัยนี้มีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพระแก้วขาวคือ ในครั้งนั้นมีราชบุตร พระยาเมืองใต้ชื่อ สุริยวังสะ บวขเป็นภิกษุขึ้นมาจำพรรษาอยู่วัดเวฬุวัน (กู่เต้า) ในระหว่างปี พ.ศ. 2030-2049 ได้มารักใคร่ชอบพอกับนางท้าวเอื้อยหอขวางราชธิดา ของพระเจ้าติโลกราชเป็นอย่างยิ่ง สุริยะวังภิกขุมีความประสงค์อยากได้พระแก้วขาว ซึ่งประดิษฐานที่วัดเจดีย์หลวงจึงรบเร้าขอให้นางท้าวเอื้อยหอขวางจัดการให้ นางท้าวเอื้อยหอขวาง จึงทำกลอุบายว่าป่วยไข้ ครั้นนานหลายวันเข้า พันจุฬาผู้รักษาหอพระ จึงมาขอเอาพระแก้วคืน นางท้าวเอื้อยก็ให้ทองคำพันหนึ่งเป็นสินบนปิดปากพันจุฬา แล้วนางท้าวเอื้อยจึงเอาพระแก้วขาวใส่ไว้ในขอูป แล้วใส่ในถุงคลุมมิดชิดดีแล้ว ใช้ให้อ้ายกอน ทาสชายนำไปถวายแก่สุริยวังสะภิกขุ สริยวังขะภิกขุจึงเอาไม้เดื่อปล่องมาแกะเป็นองค์ แล้วเอาพระแก้วขาวแล้วใส่ไว้ในองค์พระ ไม้เดื่อที่กลวงภายในแล้วก็พาหนีไปเมืองใต้เสียและ
            ครั้งอยู่ต่อมา ในปี พ.ศ. 2035 พระยอดเชียงรายให้ทรงสร้างพระอารามขึ้นในทิศตะวันตกเฉียงใต้เมือง ให้ชื่อว่าวัดตะโปทาราม (คือวัดรำพึง) ด้วยมีพระประสงค์จะเอาพระแก้วขาวไปประดิษฐานไว้ที่นั่น เมื่อได้ทราบว่าพระแก้วหายไปจึงสืบสวนได้ความ จากอ้ายกอนทาสของนางท้าวเอื้อยหอขวางว่า นางได้ใช้ตนนำไปถวายแก่สุริยวังสะภิกขุ และได้เอาหนีออกจากเมืองไปแล้ว พระยอดเชียงรายก็ใช้ให้ราชทูตเชิญเครื่องราชบรรณาการและราชสาส์น ไปถวายพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาเพื่อขอพระแก้วคืน พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาตอบพระราชสาสน์มาว่า สืบหาก็ไม่ได้ความ และหาไหนก็ไม่พบ พระยอดเชียงรายขัดพระทัย จึงยกทัพไปยังกรุงศรีอยุธยา อยู่ได้เดือนหนึ่งจึงได้พระแก้วขาวคืนแล้ว จึงเลิกทัพกลับมา พระแก้วขาวจึงได้ประดิษฐาน ณ เชียงใหม่ตามเดิม
        ในปัจจุบัน พระแก้วขาว (เสตังคมณี) ประดิษฐานอยู่ ณ วัดเชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นมิ่งขวัญของชาวเชียงใหม่เป็นปูชนียวัตถุชิ้นสำคัญยิ่ง และเป็นสิ่งที่พวกเราไม่ควรประมาท ควรเคารพสักการะกราบไหว้บูชา เพื่อเป็นเนื้อนาบุญของเราทั้งหลาย และเราควรภาคภูมิใจ และทนุถนอมให้ดำรงอยู่ต่อไปชั่วกาลนานเทอญฯ
_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_
รูป  พระเสตังคมณี(พระแก้วขาว)
http://www.yupparaj.ac.th/web1998/st06/part5.html
                                                                    พระเสตังคมณี(พระแก้วขาว)
                                                        *-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*
          พระแก้วขาว หรือพระเสตังคมณี เป็นพระพุทธรูปที่นับถือกันว่ามีความศักดิ์สิทธ์ สามารถคุ้มครองป้องกันอันตรายและอำนวยความสุขสวัสดิ์มงคลแก่ผู้ที่เคารพสักการะได้และปรากฏว่า ในอดีตกาลเป็นพระพุทธรูปสำหรับบูชา ประจำพระองค์ของพระนางจามเทวีปฐมกษัตริย์ผู้ครองนครหริภุญชัย และพระเจ้าเม็งรายมหาราช(หรือพระเจ้ามังราย) ปฐมวงศ์เมงราย ผู้สถาปนอาณาจักรลานนาไทย และกษัตริย์ผู้ครองหริภุญชัย และนครเชียงใหม่ ในยุคต่อๆ มา ก็นับถือเป็นพระพุทธรูปบูชาประจำพระองค์ทั้งสิ้น
        พระพุทธรูปองค์นี้ ในตำนานได้กล่าวถึงการสร้างใว้ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานล่วงแล้ว ๗๐๐ ปี ในวันเพ็ญเดือน ๗
พระสุเทวฤาษีได้เอาดอกจำปา ๕ ดอก ขึ้นไปบูชาพระจุฬามณียังดาวดึงษ์สวรรค์ ได้พบปะสนทนาด้วยพระอินทร์ๆ ก็บอกกล่าวแก่สุเทวฤาษีว่า ปีนี้ในเดือนวิสาขะเพ็ญ ที่ลวะรัฏฐะจะสร้างพระพุทธรูปปฏิมากรด้วยแก้วขาว ครั้งสุเทวฤาษีกลับจากดาวดึงษ์เทวโลกแล้ว จึงไปสู่เมืองละโว้ ขณะนั้น พระยารามราชเจ้าเมืองละโว้กับพระกัสสปเถระเจ้าปรารถการที่จะสร้างพระแก้ว ซึ่งพระอรหันต์ไปได้แก้วขาวบริสุทธิ์บุษยรัตน์มาจากจันทเทวบุตร แล้วขอพระวิศนุกรรมมาเนรมิต สำเร็จรูปเป็นองค์พระพุทธปฎิมากรสุเทวฤาษีและฤาษีอื่นๆ ก็ได้มาประชุมช่วยในการสร้างพระด้วย ครั้งสำเร็จแล้วก็บรรจุพระบรมธาตุ ๔ องค์ ไว้ในพระโมลี(กระหม่อม) ๑ พระนลาต(หน้าผาก)1 พระอุระ(หน้าอก)1 พระโอษฐ์(ปาก) ๑ รวม ๔ แห่ง
          เมื่อสร้างเสร็จแล้ว พระแก้วขาวก็ได้ประดิษฐานอยู่ที่เมืองละโว้สืบมาเป็นเวลานาน มาถึงสมัยเมื่อพระฤาษีสร้างนครหริภุญชัยขึ้นแล้ว ใช้ให้ควิยะอำมาตย์ ไปเชิญพระนางจามเทวี ซึ่งเป็นราชธิดาของพระเจ้ากรุงละโว้ มาครองเมืองหริภุญชัย พระนางจึงขออนุญาตจากพระราชบิดา นิมนต์พระภิกษุสงฆ์สามเณร และพระเสตังคมณี(พระแก้วขาว) มาเป็นพระพุทธรูปประจำพระองค์ พระแก้วขาวจึงได้ประดิษฐาน ณ นครลำพูน แต่นั้นมาเป็นเวลานานหลายร้อยปี บรรดากษัตริย์ครองเมืองหริภัญชัย(ลำพูน) ทั้งวงศ์เดียวกับพระนางจามเทวีและต่างวงศ์ ต่างก็ได้เคารพบูชาเป็นประจำองศ์มาทุกวงศ์ และได้สร้างหอพระปริดิษฐ์ไว้ในพระราชวัง
          พระเสตังคมณีประดิษฐานอยู่ ณ เมืองลำพูนตลอดมาจนกระทั่งถึง รัชสมัยของพระยายีบาเป็นกษัตริย์ครองเมือง ในครั้งนั้นพระเจ้าเมงรายซึ่งเป็นเจ้าครองนครเงินยวง(เชียงแสน) ได้ยกกองทัพไปปราบบ้านเล็กเมืองน้อยต่างๆ ที่ยังแข็งเมืองอยู่ให้เข้ารวมอยู่ไปอำนาจของพระองค์จนหมดสิ้นแล้ว แต่นครหริภุญชัยนครั้งนั้นมีกำลังเข็มแข็งมาก พระองค์จึงคิดอุบายให้ขุนอายฟ้าเห็นราชวัลลภคนสนิท ไปทำการจารกรรมนานถึง ๗ ปี ขุนอ้าว จึงส่งข่าวไปให้พระเจ้าเมงรายให้ยกกองทัพมาตีภุญชัย พ.ศ. ๑๘๒๔ ชาวเมืองที่ไม่ยอมทิ้งเมืองทำการต่อสู้เมงรายต้องใช้ธนูเพลิงยิงเข้าไป ทำให้เกิดเพลิงไหม้ทั้งเมือง ในที่สุดก็พ่ายแพ้แก่กองทัพแก่กองทัพพระเจ้าเมงราย
          เมื่อยกเข้าเมืองได้แล้ว พระเจ้าเมงรายจึงเสด็จออกตรวจดูความเสียหาย สี่งที่ทำให้พระองค์ทรงประหลาดพระทัยที่สุดคือ หอพระซึ่งอยู่ในบริเวณพระราชวังของพระยายีบาหาได้ถูกเพลิงไหม้ไม่ แต่บริเวณรอบๆ นั้นถูกเพลิงเผาผลาญพินาศฟมด พระองค์จึงเข้าไปทอดพระเนตรดู เห็นพระแก้วขาวสถิตอยู่ ณ ที่นั้น ก็เกิดมีพระราชศรัทธาปสาทะเป็นอันมากจึงอัญเชิญองค์พระแก้วขาวมาประดิษฐาน ณ ที่ประทับของพระองค์ ทรงเคารพสักการะบูชาเป็นพระพุทธรูปประจำพระองค์แต่นั้นมา
        ต่อเมื่อพระองค์มาสร้างนครเชียงใหม่เป็นราชธานี เมื่อปีพ.ศ. 1839 ได้อัญเชิญพระแก้วขาว(เสตังคมณี) มาประดิษฐานในพระราชวัง จนตลอดรัชกาลของพระองค์ แม้ในเวลาเสด็จออกศึก ก็ทรงนิมนต์พระแก้วขาวไปด้วยทุกครั้ง พระองค์มิได้ประมาทในพระแก้วขาวเลย เมื่อพระองค์สวรรคตแล้ว พระแก้วขาวก็คงประดิษฐานอยู่ในเมืองเชียงใหม่ตลอดมา จนกระทั่งถึงรัชกาลของพระเจ้าติโลกราช รัชกาลที่ 11 แห่งราชวงศ์เมงราย พระองค์ทรงเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง พระองค์ได้ทรงทำนุบำรุงการพระพุทธศาสนาในเจริญรุ่งเรืองยิ่งกว่ายุคใดๆ ทั้งสิ้น พระองค์โปรดให้หมื่นด้ามพร้าคต ซึ่งเป็นนายช่างสถาปนิคเอกออกแบบไปถ่ายแบบอย่างโลหะปราสาท และรัตนเจดีย์ ในเมืองลังการมาแล้ว โปรดให้หมื่นด้ามพร้าคตเป็นผู้อำนวยการสร้างถาวร วัตถุในวัดวาต่างๆ และสร้างหอพระแก้วมรกตและพระแก้วขาวไว้ ในพระอารามราชกุฏาคารเจดีย์ (คือเจดีย์หลวง) ในปี พ.ศ. 2022 ในยุคนี้พระพุทธรูปสำคัญหลายองค์ ได้มาประดิษฐานในนครเชียงใหม่ เช่น พระแก้วมรกต พระพุทธสิหิงค์ พระเสตังคมณี (พระแก้วขาว) พระศิลา (พระหินอ่อน) เป็นต้น พระสององค์นี้เวลานี้ประดิษฐานอยู่ที่วัดเชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่
          พระแก้วขาวได้ประดิษฐานอยู่ที่วัดเจดีย์หลวง ในรัชสมัยของพระเจ้าติโลกราช มาตราบถึงรัชสมัยของพระยอดเชียงรายราชนัดดา ทรงสืบสันติวงศ์ต่อมา ในสมัยนี้มีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพระแก้วขาวคือ ในครั้งนั้นมีราชบุตร พระยาเมืองใต้ชื่อ สุริยวังสะ บวขเป็นภิกษุขึ้นมาจำพรรษาอยู่วัดเวฬุวัน (กู่เต้า) ในระหว่างปี พ.ศ. 2030-2049 ได้มารักใคร่ชอบพอกับนางท้าวเอื้อยหอขวางราชธิดา ของพระเจ้าติโลกราชเป็นอย่างยิ่ง สุริยะวังภิกขุมีความประสงค์อยากได้พระแก้วขาว ซึ่งประดิษฐานที่วัดเจดีย์หลวงจึงรบเร้าขอให้นางท้าวเอื้อยหอขวางจัดการให้ นางท้าวเอื้อยหอขวาง จึงทำกลอุบายว่าป่วยไข้ ครั้นนานหลายวันเข้า พันจุฬาผู้รักษาหอพระ จึงมาขอเอาพระแก้วคืน นางท้าวเอื้อยก็ให้ทองคำพันหนึ่งเป็นสินบนปิดปากพันจุฬา แล้วนางท้าวเอื้อยจึงเอาพระแก้วขาวใส่ไว้ในขอูป แล้วใส่ในถุงคลุมมิดชิดดีแล้ว ใช้ให้อ้ายกอน ทาสชายนำไปถวายแก่สุริยวังสะภิกขุ สริยวังขะภิกขุจึงเอาไม้เดื่อปล่องมาแกะเป็นองค์ แล้วเอาพระแก้วขาวแล้วใส่ไว้ในองค์พระ ไม้เดื่อที่กลวงภายในแล้วก็พาหนีไปเมืองใต้เสียและ
            ครั้งอยู่ต่อมา ในปี พ.ศ. 2035 พระยอดเชียงรายให้ทรงสร้างพระอารามขึ้นในทิศตะวันตกเฉียงใต้เมือง ให้ชื่อว่าวัดตะโปทาราม (คือวัดรำพึง) ด้วยมีพระประสงค์จะเอาพระแก้วขาวไปประดิษฐานไว้ที่นั่น เมื่อได้ทราบว่าพระแก้วหายไปจึงสืบสวนได้ความ จากอ้ายกอนทาสของนางท้าวเอื้อยหอขวางว่า นางได้ใช้ตนนำไปถวายแก่สุริยวังสะภิกขุ และได้เอาหนีออกจากเมืองไปแล้ว พระยอดเชียงรายก็ใช้ให้ราชทูตเชิญเครื่องราชบรรณาการและราชสาส์น ไปถวายพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาเพื่อขอพระแก้วคืน พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาตอบพระราชสาสน์มาว่า สืบหาก็ไม่ได้ความ และหาไหนก็ไม่พบ พระยอดเชียงรายขัดพระทัย จึงยกทัพไปยังกรุงศรีอยุธยา อยู่ได้เดือนหนึ่งจึงได้พระแก้วขาวคืนแล้ว จึงเลิกทัพกลับมา พระแก้วขาวจึงได้ประดิษฐาน ณ เชียงใหม่ตามเดิม
        ในปัจจุบัน พระแก้วขาว (เสตังคมณี) ประดิษฐานอยู่ ณ วัดเชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นมิ่งขวัญของชาวเชียงใหม่เป็นปูชนียวัตถุชิ้นสำคัญยิ่ง และเป็นสิ่งที่พวกเราไม่ควรประมาท ควรเคารพสักการะกราบไหว้บูชา เพื่อเป็นเนื้อนาบุญของเราทั้งหลาย และเราควรภาคภูมิใจ และทนุถนอมให้ดำรงอยู่ต่อไปชั่วกาลนานเทอญฯ
_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_*_
รูป  พระเสตังคมณี(พระแก้วขาว)
http://www.yupparaj.ac.th/web1998/st06/part5.html
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น